การศึกษาตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือโดยการใช้อัลตราซาวน์เปรียบเทียบกับการใช้เอกซเรย์
คำสำคัญ:
สายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือ, ทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
ความเป็นมา: สายสวนหลอดเลือดคำทางสะดือ (Umbilical venous catheter) เป็นวิธีการใส่สายทางหลอดเลือดดำใหญ่ในทารกแรกเกิดป่วยหนักที่ใช้กันโดยทั่วไป โดยใช้เอกซเรย์เป็นเครื่องมือในการยืนยันตำแหน่งที่ถูกต้องของสาย อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีภาวะแทรกช้อนที่รุนแรงเกิดขึ้นแม้ว่าดำแหน่งในเอกซรย์จะเหมาะสมแล้ว ปัจจุบันจึงมีการนำอัลตราชาวน์เข้ามาใช้ในการยืนยันตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือมากขึ้น เนื่องจากมีการศึกษาแสดงถึงความแม่นยำที่มากกว่า
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินตำแหน่งในภาพเอกซรย์ของสายสวนหลอดเลือดคำทางสะดือโดยการใช้อัลตราชาวน์
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบการศึกษาข้อนหลัง ผู้เข้าร่วมการศึกษาคือทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเคชที่ต้องได้รับการใส่สายสวยหลอดเลือดดำทางสะดือในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง กันยายน พ.ศ. 2564 โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนจะได้รับการประเมินตำแหน่งของสายสวนโดยการใช้เอกชเรย์และอัลตราชาวน์ ซึ่งตำแหน่งที่เหมาะสมคือบริเวณของรอยต่อระหว่างหลอดเลือดคำ Inferior vena cava (IVC) และหัวใจห้องบนขวา (right atrium) (IVC-RA junction)
ผลการศึกษา: พบตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือในภาพเอกชเรย์ที่อยู่บริเวณตำแหน่งที่เหมาะสมบริเวณ IVC-RA juncion จากการประเมินโดยใช้อัลตราชาวน์ทั้งหมดเท่ากับ 22 จาก 74 ของการใส่สายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือ (29.7%) โดยที่ระดับกระดูกสันหลัง T8 เป็นตำแหน่งที่ถูกต้องมากที่สุด(13.5%) และพบว่าตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องนั้นส่วนใหญ่อยู่ใน Right atrium (51.3%)
นอกจากนี้ในการศึกษาระหว่างกลุ่มทารกแรกเกิดน้ำหนัก 1500 และ >1500 กรัม จากการประเมินตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำทางสะคือในภาพเอกซเรย์ด้วยอัลตราซาวน์พบว่าเปอร์เซ็นของตำแหน่งสายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่ได้มีความแตกต่างกันทางสถิติ (70.5%และ 70%)
สรุป: การศึกษานี้สนับสนุนว่าการใช้เอกซเรย์เพียงอย่างเดียวในการประเมินตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือนั้นไม่เพียงพอ ทั้งในทารกแรกเกิดที่น้ำหนัก 1500 และ >1500 กรัม นอกจากนี้การใช้อัลตราซาวน์ร่วมประมินตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือยังช่วยให้แพทย์สามารถประเมินตำแหน่งของสายสวนได้ละเอียดถูกต้องมากขึ้นเนื่องจากเป็นการประเมินภาพดูตำแหน่งจากอวัยวะข้างเคียงได้โดยตรง
Downloads
References
Richard JM, Fanaroff A, Walsh MC, Neonatal-Perinatal Medicine : Diseases of the Fetus and Infant. Philadelphia, PA :Elsevier/Saunders, 2015.
Sharma D, Farahbakhsh N, Tabatabaii SA. Role of ultrasound for central catheter tip localization in neonates: a review of the current evidence. J Matern Fetal Neonatal Med 2019; 32: 2429-37.
Selvam S, Humphrey T, Woodley H, English S, Kraft JK. Sonographic features of umbilical catheter-related complications. Pediatr Radiol 2018; 48: 1964-70.
George L, Waldman JD, Cohen ML, et.al. Umbilical vascular catheters: localization by two-dimensional echocardio/aortography.Pediatr Cardiol. 1982;2:237-43.
Franta J, Harabor A, Soraisham AS. Ultrasound assessment of umbilical venous catheter migration in preterm infants: a prospective study. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2017;102: F251-5.
El-Maadawy SM, EL-Atawi KM, Elhalik MS. Role of bedside ultrasound in determining the position of umbilical venous catheters. J
chin Neonatol 2015; 4: 173.
Cao J, Zhang Y, Yin Y, Liu Y. Accuracy of chest radiography compared to ultrasound for positioning the umbilical venous catheter in neonates: A meta-analysis and systematic review. J Vasc Access 2021: 11297298211046755.
Taeusch H, BALLARD R, Avery M, Gleason C, Avery’s diseases of the newborn. Philadelphia, Pa, W.B. Saunders, 2021.
Ades A, Sable C, Cummings S, Cross R, Markle B, Martin G. Echocardiographic evaluation of umbilical venous catheter placement. J Perinatol 2003; 23(1): 24-8.
Michel F, Brevaut-Malaty V, Pasquali R, et al. Comparison of ultrasound and X-ray in determining the position of umbilical venous catheters. Resuscitation 2012; 83: 705-9.
Derinkuyu BE, Boyunaga OL, Damar C, et al. Hepatic Complications of Umbilical Venous Catheters in the Neonatal Period: The
Ultrasound Spectrum. J Ultrasound Med. 2018; 37: 1335-44.
Rubortone SA, Costa S, Perri A, D’Andrea V, Vento G, Barone G. Real-time ultrasound for tip location of umbilical venous catheter
in neonates: a pre/post intervention study.Ital J Pediatr 2021; 47: 68.
Brady JM. Kamath-Rayne B, Neonatal resuscitation and delivery room emergencies, Kliegman R, Nelson Textbook of Pediatrics. Philadelphia, PA: Elsevier, 2021.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.