ประสิทธิผลของการใช้ High-Flow Nasal Cannula ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากในโรงพยาบาลชุมชนระดับทุติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ สุจริต กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย

คำสำคัญ:

High flow nasal cannula, HFNC, HHHFNC, ออกซิเจนอัตราไหลสูง, ผู้ป่วยเด็ก, ภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะหายใจลำบากเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว  ปัจจุบันมีการพัฒนาการช่วยหายใจแบบไม่ลุกล้ำที่เรียกว่า High-flow nasal cannula (HFNC) ดังนั้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยจึงเริ่มมีการนำ HFNC มาใช้ในตึกกุมารเวชกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ 2561

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ HFNC ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราหายใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ก่อนและหลังรับการรักษาด้วย HFNC

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 1 เดือนถึง 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยมีภาวะหายใจลำบากตามเกณฑ์ที่จะได้รับการรักษาด้วย HFNC จากนั้นสุ่มตัวอย่าง 90 คนจากประชากรที่รักษาด้วย HFNC สำเร็จทั้งหมด 248 เหตุการณ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย เปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราหายใจและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ก่อนและหลังรับการรักษาด้วย HFNC ด้วยสถิติ Friedman Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา: อัตราความสำเร็จของการรักษาด้วย HFNC ในปี พ.ศ. 2566 คิดเป็นร้อยละ 93.6 (248 ใน 265 เหตุการณ์) จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 90 คน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 1-5 ปี (ร้อยละ 57.7) สาเหตุภาวะหายใจลำบากที่พบมากที่สุด คือ pneumonia (ร้อยละ 47.8) รองลงมาคือ bronchitis, acute asthmatic attack , croup, และ bronchiolitis ค่ามัธยฐานระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล คือ 5 วัน ระยะเวลาที่ใช้ HFNC คือ 4 วัน ซึ่งส่วนมากได้รับการรักษา ด้วย HFNC ตั้งแต่แรกรับการรักษาที่ตึกผู้ป่วย ร้อยละ 81.1 โดยพบว่ามีอัตราหายใจลดลง (p £ 0.0001) และค่าอิ่มตัวของออกซิเจนเพิ่มขึ้น (p £ 0.01) ตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่มีการใช้ HFNC ซึ่งพบภาวะแทรกซ้อนในการใช้ HFNC เพียงร้อยละ 6.6 ได้แก่ ท้องอืดหรือปวดท้องมากที่สุด ร้อยละ 3.3 โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

สรุป: การรักษาด้วย HFNC ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากมีประสิทธิผลที่ดี มีภาวะแทรกซ้อนน้อย สามารถลดอาการทางคลินิกได้ตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังจากได้รับการรักษา ทั้งลดอัตราหายใจ และเพิ่มค่าอิ่มตัวของออกซิเจน การพิจารณารักษาภาวะหายใจลำบากด้วย HFNC ตั้งแต่แรกรับ อาจช่วยลดโอกาสในการใส่ท่อช่วยหายใจ ดังนั้น HFNC จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาภาวะหายใจลำบากของเด็กในโรงพยาบาลชุมชนระดับทุติยภูมิ

Downloads

Download data is not yet available.

References

อัตราป่วยตายโรคปอดบวมในเด็กไทย อายุ 1 เดือน ถึง 5 ปีบริบูรณ์ [Internet]. 2024 [cited 11 Feb 2024]..Available.from:.https://hdcservice..go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=3dc2d92087cdc5b585eb8c0904691399&id=7e5ba3f0ff6590f168f967a3f355914a.

พนิดา จันทรัตน์, ละออง นิชรานนท์, สุพรศรี เสพมงคลเลิศ, วลัยลักษณ์ จิตพิบูลย์, และรัศมี สังข์ทอง. สถานการณ์การเจ็บป่วยและค่ารักษาพยาบาล โรคปอดบวม ในเด็กอายุ 1 เดือนถึง 5 ปี ที่นอนโรงพยาบาล. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2020;4:65-74.

สญมพร ชอบธรรม, พรมนัส พันธุ์สุจริตไทย. ผลกระทบทางคลินิกของการใช้ออกซิเจนเสริมชนิดอัตราการไหลสูงต่อการรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2562;58:88-94.

ยุวดี คงนก. เปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างและมีภาวะหายใจลำบาก ด้วยการให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนมาตรฐาน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5:1-10.

Kwon JW. High-flow nasal cannula oxygen therapy in children: A clinical review. Clin Exp Pediatr. 2020;63:3-7.

Mikalsen IB, Davis P, Oymar K. High flow nasal cannula in children: A literature review. Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 2016;24:93.

Chisti MJ, Salam MA, Smith JH, Ahmed T, Pietroni MA, Shahunja KM, et al. Bubble continuous positive airway pressure for children with severe pneumonia and hypoxaemia in Bangladesh: An open, randomised controlled trial. Lancet. 2015;386(9998):1057-65.

Ten Brink F, Duke T, Evans J. High-flow nasal prong oxygen therapy or nasopharyngeal continuous positive airway pressure for children with moderate-to-severe respiratory distress? Pediatr Crit Care Med. 2013;14(7):e326-31.

Can FK, Anil AB, Anil M, Zengin N, Bal A, Bicilioglu Y, et al. Impact of High-flow Nasal Cannula Therapy in Quality Improvement and Clinical Outcomes in a Non-invasive Ventilation Device-free Pediatric Intensive Care Unit. Indian Pediatr. 2017;54:835-40.

Milési C, Pierre AF, Deho A, Pouyau R, Liet JM, Guillot C, et al. A multicenter randomized controlled trial of a 3-L/kg/min versus 2-L/kg/min high-flow nasal cannula flow rate in young infants with severe viral bronchiolitis (TRAMONTANE 2). Intensive Care Med. 2018;44:1870-8.

Sitthikarnkha P, Samransamruajkit R, Prapphal N, Deerojanawong J, Sritippayawan S. High-flow nasal cannula versus conventional oxygen therapy in children with respiratory distress. Indian J Crit Care Med. 2018;22:321-5.

Zhao H, Wang H, Sun F, Lyu S, An Y. High-flow nasal cannula oxygen therapy is superior to conventional oxygen therapy but not to noninvasive mechanical ventilation on intubation rate: a systematic review and meta-analysis. Crit Care. 2017;21:184.

นุชรดา สามพายวรกิจ. ประสิทธิผลของการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย. 2566;1:1-22.

Syananondh Kusuma DA. Comparison of Heated Humidified High Flow Nasal Cannula (HHHFNC) andNasal Continuous Positive Airway Pressure (NCPAP) for PostextubationRespiratory Care in Preterm Infants. BUDDHACHINARAJ MEDICAL JOURNAL. 2016;33:156-67.

เฉลิมพล ธิปเทศ. การศึกษาประสิทธิผลของการใช้ High Flow Nasal Cannula ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด ที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. 2023;2(พิเศษ):56-64.

Coletti KD, Bagdure DN, Walker LK, Remy KE, Custer JW. High-Flow Nasal Cannula utilization in pediatric critical care. Respir Care. 2017;62 :1023-9.

Asseri AA, AlQahtani YA, Alhanshani AA, Ali GH, Alhelali I. Indications and safety of high flow nasal cannula in pediatric intensive care unit: Retrospective single center experience in Saudi Arabia. Pediatric Health Med Ther. 2021;12:431-7.

วราวุฒิ เกรียงบูรพา. การใช้ high-flow nasal cannula เปรียบเทียบกับการใช้ conventional oxygen therapy ในการรักษาเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564:1-21.

ศุภัคษร พิมพ์จันทร์. ผลการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากด้วยการใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูงในโรงพยาบาลหนองบัวแดง. ชัยภูมิเวชสาร. 2565;42:47-54.

Ngamjarus C, Pattanittum P. n4Studies Plus: application for sample size calculation in health science research. Version 1.3. 2023.

World Health Organization. The Management of acute respiratory infections in children: Practical guidelines for outpatient care. Geneva: World Health Organization; 1995.

กอบกาญจน์ เพียรเกิด. ระยะเวลาและผลการรักษาด้วยเครื่องให้ออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูงในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. เพชรบูรณ์เวชสาร. 2565;2:60-71.

อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2565;58:175-81.

รัตติกาล มณีนุตร์,ศรีสุดา อัศวพลังกูล. ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการใช้เครื่องออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง ผ่านเครื่องทำความชื้นให้กับผู้ป่วยเด็กทาง nasal cannula ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแม่สอด [Internet]. 2563 [cited 3 เมษายน 2567]. Available from: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2565/research/MA2565-003-01-0000000396-0000000857.pdf.

Ergul AB, Calıskan E, Samsa H, Gokcek I, Kaya A, Zararsiz GE, et al. Using a high-flow nasal cannula provides superior results to OxyMask delivery in moderate to severe bronchiolitis: A randomized controlled study. Eur J Pediatr. 2018;177:1299-307.

Franklin D, Babl FE, Schlapbach LJ, Oakley E, Craig S, Neutze J, et al. A Randomized Trial of High-Flow Oxygen Therapy in Infants with Bronchiolitis. N Engl J Med. 2018;378:1121-31.

Lodeserto FJ, Lettich TM, Rezaie SR. High-flow Nasal Cannula: Mechanisms of action and adult and pediatric indications. Cureus. 2018;10(11):e3639.

Schibler A, Pham TM, Dunster KR, Foster K, Barlow A, Gibbons K, et al. Reduced intubation rates for infants after introduction of high-flow nasal prong oxygen delivery. Intensive Care Med. 2011;37:847-52.

Wing R, James C, Maranda LS, Armsby CC. Use of high-flow nasal cannula support in the emergency department reduces the need for intubation in pediatric acute respiratory insufficiency. Pediatr Emerg Care. 2012;28:1117-23.

Chupinijrobkob P. Effectiveness of implementing Evidence-Based Nursing Practice for pediatric patients receiving heated humidified high-flow nasal cannula (HHHFNC). Thammasat University Hospital Journal Online. 2023;8:28-45.

Slain KN, Shein SL, Rotta AT. The use of high-flow nasal cannula in the pediatric emergency department. J Pediatr (Rio J). 2017;93 Suppl 1:36-45.

ภัณฑิลา สิทธิ์การค้า.การศึกษาเปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลําบากด้วยการให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนตามการรักษาปกติ [Internet]. 2563 [cited 15 April 2024]. Availablefrom:https://www.thaipedlung.org/download/Chula_Panthila_Edited.pdf.

สิริรัตน์ คำแมน, มงคล สุริเมือง,ศรีสุดา อัศวพลังกูล. ผลของการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ Non-invasive ventilator ชนิด high flow nasal cannula ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลแม่สอด [Internet]. 2562.[cited11April.2024].Available.from:.https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2563/r2r/MA2563-001-02-0000000192-0000000078.docx.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30