ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมาก

ผู้แต่ง

  • นวมน สุนทรวราภาส กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
  • ภควดี วุฒิพิทยามงคล กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
  • รัฐพล อินไผ่ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกิน, ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมาก, ภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนด, โรคทางกายของมารดา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: หลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการทำให้เกิดผลข้างเคียงจากเลือดไปปอดมาก การรักษาที่ล้มเหลว ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนระยะยาว การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ  การทราบปัจจัยที่สัมพันธ์หลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการและภาวะแทรกซ้อนทำให้ทราบแนวทางการบำบัดรักษาและป้องกันโรค

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมาก

วิธีการศึกษา: Retrospective study ศึกษาในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมากโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการและต้องได้รับการรักษา เปรียบเทียบกับไม่มีอาการจากโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2566 วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการ Multivariate logistic regression analysis

ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงอาการของโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกิน ได้แก่ ขนาดของหลอดเลือดแดงหัวใจ (aOR 67.41, 95%CI 6.47,701.92) และการมีภาวะหายใจลำบากที่ต้องใช้สารลดแรงตึงผิว (aOR 43.04, 95%CI 2.66, 697.26)  โรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินที่มีอาการทำให้ต้องใช้เครื่องช่วยมากขึ้น (OR 26.74, 95%CI 0.35, 69.07) ใช้ยากระตุ้นหัวใจมากขึ้น (OR 13.23, 95%CI 2.98, 58.71) เกิดโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดมากขึ้น (OR 7.40, 95%CI 3.36, 16.30) และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันมากขึ้น (OR 10.23, 95%CI 1.26, 82.71)

สรุป: อุบัติการณ์การรักษาโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินในทารกเกิดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลลำปางมีค่อนข้างมาก การป้องกันภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมากอาจสามารถป้องกันอาการในโรคหลอดเลือดแดงหัวใจเกินได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Hamrick SEG, Sallmon H, Rose AT, Porras D, Shelton EL, Reese J, et al. Patent ductus arteriosus of the preterm infant. Pediatrics. 2020;146(5):e20201209.

Supapannachart S, Limrungsikul A, Khowsathit P. Oral ibuprofen and indomethacin for treatment of patent ductus arteriosus in premature infants: A randomized trial at Ramathibodi Hospital. J Med Assoc Thai. 2002;85:S1252-8.

วาสนา ปรางค์วัฒนากุล. ผลลัพธ์และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเส้นเลือดเกิน (PDA clipping) และการให้ยา Ibuprofen หรือ Indomethacin ในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. 2563;37:16-25.

ธัญลักษมณ์ แง้เจริญกุล. ผลลัพธ์และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการให้ยา Ibuprofenในการรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะ PDA ในโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2566;10:1-12.

Semberova J, Sirc J, Miletin J, Kucera J, Berka I, Sebkova S, et al. Spontaneous closure of patent ductus arteriosus in infants ≤1500 g. Pediatrics. 2017;140:e20164258.

El-Khuffash A, Levy PT, Gorenflo M, Frantz ID. The definition of a hemodynamically significant ductus arteriosus. Pediatr Res. 2019;85:740–1.

Gillam-Krakauer M, Reese J. Diagnosis and management of patent ductus arteriosus. NeoReviews. 2018;19:e394–402.

Parkerson S, Philip R, Talati A, Sathanandam S. Management of patent ductus arteriosus in premature infants in 2020. Front Pediatr. 2020;8:590578.

El Hajjar M, Vaksmann G, Rakza T, Kongolo G, Storme L. Severity of the ductal shunt: A comparison of different markers. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed. 2005;90:F419-422.

อุเทน บุญมี, ปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล. สูตร T-formula สำหรับประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดเกินในเด็กแรกเกิด. Mahidol R2R e-Journal. 2562;6(1): http://doi.org/10.14456/jmu.2019.3

Kumar A, Lakkundi A, McNamara PJ, Sehgal A. Surfactant and patent ductus arteriosus. Indian J Pediatr. 2010;77:51–5.

Gillam-Krakauer M, Cotton RB, Reese J. Patent ductus arteriosus. In: Feld LG, Mahan JD, Lorenz JM, Seigel WM, eds. Succinct pediatrics: Evaluation and management for newborn, genetic, neurologic, and developmental-behavioral disorders. Elk Grove Village, IL: American Academy of Pediatrics; 2017. P. 137–50.

Vucovich MM, Cotton RB, Shelton EL, Goettel JA, Ehinger NJ, Poole SD, et al. Aminoglycoside-mediated relaxation of the ductus arteriosus in sepsis-associated PDA. American Journal of Physiology-Heart and Circulatory Physiology. 2014;307:H732–40.

Nealon E, Rivera BK, Cua CL, Ball MK, Stiver C, Boe BA, et al. Follow-up after percutaneous patent ductus arteriosus occlusion in lower weight infants. J Pediatr. 2019;212:144-150.e3.

Clyman RI, Hills NK, Cambonie G, Debillon T, Ligi I, Gascoin G, et al. Patent ductus arteriosus, tracheal ventilation, and the risk of bronchopulmonary dysplasia. Pediatr Res. 2022;91:652–8.

Majed B, Bateman DA, Uy N, Lin F. Patent ductus arteriosus is associated with acute kidney injury in the preterm infant. Pediatr Nephrol. 2019;34:1129–39.

Kikuchi N, Goto T, Katsumata N, Murakami Y, Shinohara T, Maebayashi Y, et al. Correlation between the closure time of patent ductus arteriosus in preterm infants and long-term neurodevelopmental outcome. JCDD. 2024;11:26.

Vuttipittayamongkol P. Risk factors of suspected development delay of low birth weight infants in Lampang Hospital. Paper presented at: Hornets; 2023 Jul 26; Prayao university.

Qian A, Jiang S, Gu X, Li S, Lei X, Shi W, et al. Treatment of patent ductus arteriosus and short-term outcomes among extremely preterm infants: a multicentre cohort study. eClinicalMedicine. 2024;67:102356.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30