ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กนกพรรณ รงค์นพรัตน์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคลมชักดื้อยา, ปัจจัยเสี่ยงการชักดื้อยา, การควบคุมการชัก

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคลมชักในเด็กเป็นโรคที่พบบ่อย ค่าใช้จ่ายโรคลมชักโดยเฉลี่ยรายปีต่อคนอยู่ระหว่าง 204-11,432 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้ป่วยโรคลมชัก 1 ใน 3 ดื้อต่อยากันชัก การหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยากันชักจึงมีความจำเป็น

วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อยา (drug resistant epilepsy: DRE)
  2. เพื่อศึกษาค่ายารักษาโรคลมชักและค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในปีที่ทำการศึกษาของผู้ป่วยโรคลมชักกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อยาและกลุ่มที่ตอบสนองต่อยากันชัก

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงสังเกตุย้อนหลังจากเวชระเบียน เพื่อค้นหาผู้ป่วยเด็กทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักในโรงพยาบาลอุดรธานีระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2561 และมาติดตามการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี เก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ STATA version 15

ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยเด็กโรคลมชักทั้งหมด 277 ราย เป็น DRE ร้อยละ 30.7 univariate analysis พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด DRE อย่างมีนัยสำคัญ (p value < 0.05)ได้แก่ อายุที่เริ่มแสดงอาการชักก่อนหนึ่งปี OR 0.51 (95% CI 0.30–0.86) มีโรคเกิดร่วมทางระบบประสาทและพัฒนาการ OR 5.54 (95% CI 3.10–93.90) สาเหตุการชักจาก structural cause OR 4.73 (95% CI 2.56–8.73) ภาพถ่ายสมองผิดปกติ  OR 2.55 (95% CI 1.16–5.59) คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ OR 3.69 (95% CI 1.47-9.28) ผู้ป่วยยังไม่หยุดชักภายในระยะเวลา 2 ปีแรกหลังเริ่มรักษา OR 76.95 (95% CI 26.59–222.68) multivariate analysis พบปัจจัย ผู้ป่วยยังไม่หยุดชักภายในระยะเวลา 2 ปีแรกหลังเริ่มรักษา OR 95.11 (95% CI 8.42-1073.67) กลุ่ม DRE ค่ายารายวันเฉลี่ย 94.6 + 105.8 บาท/วัน (95% CI 71.79 – 117.42) ส่วนกลุ่ม drug responsive epilepsy 21.9 + 37.9 บาท/วัน (95% CI 15.08 – 28.78) (p value <0.05) ค่ายากันชักรายวันรวม 10,672.75 บาท/วัน เกิดจากกลุ่ม DRE ร้อยละ 75.3 ค่าตรวจระดับยากันชักรวม 40,890 บาท (จากกลุ่ม DRE ร้อยละ 88.3) ค่าตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองรวม 36,000 บาท (จากกลุ่ม DRE ร้อยละ 55.6) ค่าตรวจ CT brain รวมทั้งหมดจากกลุ่ม DRE (ร้อยละ 100) ค่าตรวจ MRI brain รวม 124,000 บาท (จากกลุ่ม DRE ร้อยละ 75)

สรุป: ผู้ป่วยที่ยังไม่หยุดชักภายในระยะเวลา 2 ปีแรกหลังเริ่มรักษาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DRE 95.11 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่ายาและค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการมากกว่าครึ่งหนึ่งเกิดจากกลุ่ม DRE ซึ่งมีผู้ป่วยร้อยละ 30.7 ของผู้ป่วยทั้งหมด

Downloads

Download data is not yet available.

References

Begley C, Wagner RG, Abraham A, Beghi E, Newton C, Kwon C, et al. The global cost of epilepsy: A systematic review and extrapolation. Epilepsia. 2022;63:892–903.

Shorvon SD, Reynolds EH. Reduction in polypharmacy for epilepsy. BMJ. 1979;2:1023–5.

Shorvon SD, Reynolds EH. Unnecessary polypharmacy for epilepsy. BMJ. 1977;1:1635–7.

Nevitt SJ, Sudell M, Cividini S, Marson AG, Tudur Smith C. Antiepileptic drug monotherapy for epilepsy: a network meta-analysis of individual participant data. Cochrane epilepsy group, editor. Cochrane.database.syst.rev.[cited.12.May.2024];.2022..Available.from:.http://doi.wiley.com/10.1002/14651858.CD011412.pub4

Guery D, Rheims S. Clinical management of drug resistant epilepsy: A review on current strategies. neuropsychiatr dis treat. 2021;17:2229–42.

Kwan P, Arzimanoglou A, Berg AT, Brodie MJ, Allen Hauser W, Mathern G, et al. Definition of drug resistant epilepsy: Consensus proposal by the ad hoc task force of the ILAE commission on therapeutic strategies. Epilepsia. 2010;51:1069–77.

Sultana B, Panzini MA, Veilleux Carpentier A, Comtois J, Rioux B, Gore G, et al. Incidence and prevalence of drug-resistant epilepsy: A systematic review and meta-analysis. Neurology. 2021;96:805–17.

Xue-Ping W, Hai-Jiao W, Li-Na Z, Xu D, Ling L. Risk factors for drug-resistant epilepsy: A systematic review and meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2019;98(30):e16402.

วัฒนวิจิตรกุล ธ, สมสิทธิ์ จ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปลอดการชักในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา. JNHR I [cited.12.Feb.2024];.2018..Available.from:.https://he01.tcithaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/119545

Department of Child Health, Medical Faculty, Airlangga University, Surabaya, Indonesia, Nugroho RA, Gunawan PI, Department of Child Health, Medical Faculty, Airlangga University, Surabaya, Indonesia, Utomo B, Department of Public Health, Medical Faculty, Airlangga University, Surabaya, Indonesia. Risk factors for drug-resistant epilepsy (DRE) in children and a model to predict development of DRE. Romanian J Neurol. 2023;22:5–10.

Yildiz EP, Gunes D, Bektas G, Aksu Uzunhan T, Tatli B, Caliskan M, et al. Predictive factors of drug-resistant epilepsy in children presenting under 2 years of age: Experience of a tertiary center in Turkey. Acta neurol belg. 2018;118:71–5.

Karaoğlu P, Yi̇Ş U, Polat Aİ, Ayanoğlu M, Hiz S. Clinical predictors of drug-resistant epilepsy in children. Turk J Med Sci. 2021;51:1249–52.

Mangunatmadja I, Indra RM, Widodo DP, Rafli A. Risk factors for drug resistance in epileptic children with age of onset above five years: A case-control study. Emanuele E, editor. Behav Neurol. 2021;2021:1–7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.