ผลของการให้ความรู้และแนวปฏิบัติด้านโภชนาการในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนในโรงพยาบาลลำปาง
คำสำคัญ:
ภาวะน้ำหนักเกิน, ภาวะอ้วน, ภาวะแทรกซ้อนทางเมตาบอลิก, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติบทคัดย่อ
ความเป็นมา: สถานการณ์เด็กที่มีภาวะอ้วนทั่วโลก จากข้อมูล WHO1 พ.ศ. 2565 เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี พบภาวะอ้วน 37 ล้านคน ประมาณครึ่งหนึ่งพบว่าอยู่ในทวีปเอเชีย ในเด็กอายุ 5-19 ปี พบภาวะอ้วน 390 ล้านคน ในประเทศไทยพบเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนมากขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลลำปางจึงมีการให้ความรู้และแนวปฏิบัติด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วยรายบุคคล เพื่อติดตามและรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน
วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนข้อมูล น้ำหนัก BMI, BMI-SDS ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน อายุ 5-15 ปี หลังจากได้รับความรู้และแนวปฏิบัติด้านโภชนาการ ที่ระยะเวลา 1 ปี หาอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนทางเมตาบอลิกของผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน และหาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีมวลกายกับภาวะแทรกซ้อนทางเมตาบอลิก
วิธีการศึกษา: การศึกษา retrospective study รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลลำปางในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับความรู้และแนวปฏิบัติด้านโภชนาการรายบุคคลโดยนักโภชนาการ จำนวน 3-4 ครั้งต่อปี
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนที่มาตรวจติดตามอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 90 ราย อายุเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานที่เริ่มวินิจฉัย คือ 9.5±2.6 ปี ค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก ± ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้ำหนัก คือ 56.2±21.2 กิโลกรัม และ 4.1±1.9 ตามลำดับ และ ค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย และ BMI-SDS คือ 27.7±5.7 กิโลกรัม/ตารางเมตร และ 3.6±1.3 ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนทางเมตาบอลิกเมื่อเริ่มต้นวินิจฉัย ได้แก่ ภาวะก่อนเบาหวานร้อยละ 8.9 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติร้อยละ 56.2 ระดับเอนไซม์ตับผิดปกติร้อยละ 42.6 และพบโรคตับคั่งไขมันจากการตรวจอัลตร้าซาวน์ร้อยละ 21.4 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้ความรู้และแนวปฏิบัติด้านโภชนาการที่ระยะเวลา 1 ปี พบว่า ค่าเฉลี่ยของ BMI-SDS ลดลงจาก 3.6±1.3 เป็น 3.2±1.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลดลงจากเริ่มต้นวินิจฉัยเทียบกับที่ระยะเวลาตรวจติดตาม 1 ปี จาก 86 ราย (ร้อยละ 95.6) เป็น 75 ราย (ร้อยละ 83.4) นอกจากนี้ยังพบว่า BMI-SDS ที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติที่เวลา 1 ปี (OR 2.71, 95%CI 1.12-6.59. p=0.027)
สรุป: เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนในโรงพยาบาลลำปาง หลังจากได้รับความรู้และแนวปฏิบัติด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี พบว่า BMI-SDS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมาตรวจติดตามปีที่ 2 และ 3 ในเด็กที่มี BMI-SDS ลดลงที่ระยะเวลา 1 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดและระดับไขมันมีแนวโน้มต่ำกว่ากลุ่มที่มี BMI-SDS เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรเน้นย้ำทบทวนความรู้ด้านโภชนาการให้กับผู้ป่วยในทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจติดตาม
Downloads
References
World Health Organization. Obesity and Overweight. 2022 [cited June 2024]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.
Collaboration NRF. Worldwide trends in body-mass index, underweight, overweight, and obesity from 1975 to 2016: A pooled analysis of 2416 population-based measurement studies in 128·9 million children, adolescents, and adults. Lancet. 2017;390:2627-42.
กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์สำนักโภชนาการ. ภาวะโภชนาการในกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย, 2565:10-1.
กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์สำนักโภชนาการ. ภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น: สำนักโภชนการ กรมอนามัย, 2565:22-9.
Llewellyn A, Simmonds M, Owen CG, Woolacott N. Childhood obesity as a predictor of morbidity in adulthood: A systematic review and meta-analysis. Obes Rev. 2016;17:56-67.
Reilly JJ, Kelly J. Long-term impact of overweight and obesity in childhood and adolescence on morbidity and premature mortality in adulthood: Systematic review. Int J Obes (Lond). 2011;35:891-8.
Mannan M, Mamun A, Doi S, Clavarino A. Prospective associations between depression and obesity for adolescent males and females- A systematic review and meta-analysis of longitudinal studies. PLoS One. 2016;11:e0157240.
ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ.2557. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/pediatrics/pdf/service/ Guideline/nutrition/obesity2557.pdf
Bondyra-Wiśniewska B, Myszkowska-Ryciak J, Harton A. Impact of lifestyle intervention programs for children and adolescents with overweight or obesity on body weight and selected cardiometabolic factors-A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health. 2021;18.
Obert P, Gueugnon C, Nottin S, Vinet A, Gayrard S, Rupp T, et al. Impact of diet and exercise training-induced weight loss on myocardial mechanics in severely obese adolescents. Obesity (Silver Spring). 2013;21:2091-8.
Verduci E, Lassandro C, Giacchero R, Miniello VL, Banderali G, Radaelli G. Change in metabolic profile after 1-year nutritional-behavioral intervention in obese children. Nutrients. 2015;7:10089-99.
Tang Q, Ruan H, Tao Y, Zheng X, Shen X, Cai W. Effects of a summer program for weight management in obese children and adolescents in Shanghai. Asia Pac J Clin Nutr. 2014;23:459-64.
Seo YG, Lim H, Kim Y, Ju YS, Lee HJ, Jang HB, et al. The Effect of a multidisciplinary lifestyle intervention on obesity status, body composition, physical fitness, and cardiometabolic risk markers in children and adolescents with obesity. Nutrients. 2019;11.
กรมอนามัยสำนักโภชนการ. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย.2563: 48.
Ho M, Garnett SP, Baur L, Burrows T, Stewart L, Neve M, et al. Effectiveness of lifestyle interventions in child obesity: Systematic review with meta-analysis. Pediatrics. 2012;130:e1647-71.
El-Medany AYM, Birch L, Hunt LP, Matson RIB, Chong AHW, Beynon R, et al. What change in body nass index is required to improve cardiovascular outcomes in childhood and adolescent obesity through lifestyle interventions: A meta-regression. Child Obes. 2020;16:449-78.
Wang JJ, Lau WC, Wang HJ, Ma J. Evaluation of a comprehensive intervention with a behavioural modification strategy for childhood obesity prevention: A nonrandomized cluster controlled trial. BMC Public Health. 2015;15:1206.
Van de Pas KGH, Lubrecht JW, Hesselink ML, Winkens B, van Dielen FMH, Vreugdenhil ACE. The effect of a multidisciplinary lifestyle intervention on health parameters in children versus adolescents with severe obesity. Nutrients. 2022;14(9):1795.
Li B, Gao S, Bao W, Li M. Effectiveness of lifestyle interventions for treatment of overweight/obesity among children in China: A systematic review and meta-analysis. Front Endocrinol (Lausanne). 2022;13:972954.
Deeb A, Attia S, Mahmoud S, Elhaj G, Elfatih A. Dyslipidemia and fatty liver disease in overweight and obese children. J Obes. 2018;2018:8626818.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.