การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการส่องไฟและผลการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดระหว่างแนวทางปฏิบัติทางคลินิกของสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2022 กับปี ค.ศ. 2004
คำสำคัญ:
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, การส่องไฟ, แนวทางปฏิบัติทางคลินิกของสมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกาปี 2022บทคัดย่อ
ความเป็นมา: สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกาได้ออกแนวทางการดูแลรักษาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองฉบับใหม่ (AAP 2022) ซึ่งปรับเกณฑ์ในการรักษาโดยเพิ่มระดับบิลิรูบินสูงขึ้น เนื่องจากระดับเดิมไม่พบภาวะพิษต่อระบบประสาท และเพื่อลดการส่องไฟ เพื่อให้ทารกกลับบ้านและอยู่กับครอบครัวได้เร็วขึ้น
วัตถุประสงค์:.เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกของ AAP 2022 ต่ออัตราการส่องไฟ ระยะเวลาการส่องไฟ จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ระดับบิลิรูบินและอายุทารกเมื่อเริ่มให้การรักษา อัตราการกลับมารักษาซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โดยเทียบกับ AAP 2004
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง รูปแบบ interrupted time study ศึกษาในทารกแรกเกิดอายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์ขึ้นไปในโรงพยาบาลสุโขทัย โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็น 2 กลุ่มโดยทารกที่เกิดในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2566 ใช้แนวทางของ AAP 2004 เป็นกลุ่มควบคุม และทารกที่เกิดในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2567 ใช้แนวทางของ AAP 2022 เป็นกลุ่มทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test และ exact probability test
ผลการศึกษา: จำนวนทารก 290 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 145 ราย พบว่าอัตราการส่องไฟไม่ต่างกัน (ร้อยละ 20.7 และร้อยละ 23.5, p= 0.336) ระยะเวลาการส่องไฟ 30 ชั่วโมง (p= 0.927) และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล 4 วัน (p=0.324) เท่ากัน แต่ในกลุ่มทดลองทารกมีอายุที่เริ่มรักษามากกว่า (110.0 ± 46.66 ชั่วโมงและ 80.9 ± 29.12 ชั่วโมง, p=0.003) มีค่าระดับบิลิรูบินสูงกว่า (18.5 ± 2.98 mg/dL และ 16.9 ± 1.82 mg/dL, p=0.011) และมีอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำเพื่อรักษาภาวะตัวเหลืองมากกว่าในกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 53.3 และร้อยละ 26.5, p=0.026)
สรุป: แนวทางการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองของ AAP 2022 ไม่ได้ช่วยลดอัตราการส่องไฟระยะเวลาการส่องไฟหรือจำนวนวันนอนโรงพยาบาล โดยทารกจะมีอายุและค่าระดับบิลิรูบินสูงกว่าและอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำมากกว่าทารกที่ใช้แนวทางของ AAP 2004 ดังนั้นจึงต้องเน้นการนัดติดตามทารกหลังจากกลับบ้าน เพราะอาจจะมีระดับบิลิรูบินที่สูงขึ้นจนถึงเกณฑ์ที่ต้องกลับมารักษาได้
Downloads
References
Kemper AR, Newman TB, Slaughter JL, Maisels MJ, Watchko JF, Downs SM, et al. Clinical practice guideline revision: Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics. 2022;150(3):e2022058859.
American Academy of Pediatrics subcommittee on hyperbilirubinemia. Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. .Pediatrics. 2004;114(1):297-316.
อนุชา ธาตรีมนตรีชัย. แนวทางการดูแลภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดอายุครรภ์อย่างน้อย 35 สัปดาห์ การป้องกัน การประเมินและการติดตามภาวะตัวเหลือง.ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ. Practice updates in neonatology. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ ซัพพลาย (ประเทศไทย) จำกัด, 2566:193-204.
อัญชลี ลิ้มรังสิกุล. แนวทางการดูแลภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดอายุครรภ์อย่างน้อย 35 สัปดาห์ การรักษาภาวะตัวเหลืองและการติดตามเมื่อทารกกลับบ้าน.ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ. Practice updates in neonatology. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ ซัพพลาย (ประเทศไทย) จำกัด, 2566:205-24.
วีณา จีระแพทย์. บทบาทพยาบาลในการบ่งชี้ ติดตาม และเพิ่มประสิทธิภาพการส่องไฟเพื่อจัดการภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในทารกแรกเกิด. ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ. Practice updates in neonatology. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ ซัพพลาย (ประเทศไทย) จำกัด, 2566:225-44.
วรรณพร วาณิชยเศรษฐกุล. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565;41:633-44.
จิรกิติ วงศ์เนตร. การศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2564;41:85-93.
จิรกิติ วงศ์เนตร. การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดภายหลังการใช้ Phukieo Breast Milk protocol ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2562;39:5-13.
กรรณิการ์ บูรณวนิช, และนันท์ธรา จักรธรานนท์. อุบัติการณ์และปัจจัยของการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำด้วยภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2565;66:237-44.
นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 2556;20:19-30.
Sarathy L, Chou JH, Romano Clarke G, Darci KA, Lerou PH. Bilirubin measurement and phototherapy use after the AAP 2022 newborn hyperbilirubinemia guideline. Pediatrics. 2024;153(4):e2023063323.
Cahill C, Jegatheesan P, Song D, Cortes M, Adams MM, Narasimhan SR, et.al. Implementing higher phototherapy thresholds for jaundice in healthy infants 35 plus weeks. Hospital pediatrics. 2023;13(9):857–64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.