รายงานผู้ป่วยเด็กโรค Severe Combined Immune Deficiency หลังรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกแล้วติดโรคติดเชื้อ COVID-19 ในปี ค.ศ. 2022

ผู้แต่ง

  • ปิยะพงษ์ เลาห์ภากรณ์ สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แพรวกัลยา สุกใส สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภมาศ หรินทจินดา สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เกวลี ธรรมจำรัสศรี สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐชนัญ กลางกัลยา สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วัชรุตม์ กันจงกิตติพร สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิภารัตน์ มนุญากร สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

COVID-19, inborn errors of immunity, severe combined immunodeficiency

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ผู้ป่วยเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดมีโอกาสที่จะติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่รุนแรงกว่าในกลุ่มประชากรเด็กปกติ ในรายงานผู้ป่วยตัวอย่างนี้จะมุ่งเน้นถึงอาการ การรักษาและผลการรักษาในผู้ป่วยเด็ก severe combined immune deficiency (SCID) หลังได้รับการรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก (hematopoietic stem cell transplantation; HSCT) และมีการติดโรคติดเชื้อ COVID-19

รายงานผู้ป่วย: ผู้ป่วย 3 รายเป็นผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค SCID โดย ผู้ป่วย 2 รายได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกชนิด haploidentical HSCT ที่อายุ 6 เดือน และ 2.8 เดือนตามลำดับ และ ผู้ป่วย 1 ราย ได้รับปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกชนิด match related HSCT ที่อายุ 9 เดือน ผลการการรักษาได้ผลดีทั้ง 3 ราย การทำงานของ T cell อยู่ในเกณฑ์ปกติ และสามารถหยุดยายากดภูมิคุ้มกันได้ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วย 1 ราย ต้องได้รับการทดแทนอิมมูโนโกลบูลินทางชั้นใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง ช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ในปี ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกเป็นระยะเวลา 10 ปี 6 ปี และ 8 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยติดโรคติดเชื้อ COVID-19 โดยมีการตรวจยืนยันด้วย real-time polymerase chain reaction (RT-PCR) ผู้ป่วยทั้งสามรายมีอาการไม่รุนแรง มีอาการ ไข้ต่ำ ๆ ไอ น้ำมูก ผู้ป่วย 2 ใน 3 รายได้รับยาต้านไวรัส favipiravir และทั้งหมดไม่ต้องได้รับออกซิเจน และมีการฟื้นตัวได้ดี ไม่มีผลแทรกซ้อนในเวลาที่รายงานผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ไม่มีอาการของภาวะ long COVID-19

สรุป: ในผู้ป่วยโรค SCID หลังได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกและมีการติดโรคCOVID-19 มีอาการที่ไม่รุนแรง ไม่มีผู้ป่วยที่เสียชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

Sharma A, Bhatt NS, St Martin A, Abid MB, Bloomquist J, Chemaly RF, et al. Clinical characteristics and outcomes of COVID-19 in haematopoietic stem-cell transplantation recipients: An observational cohort study. Lancet Haematol. 2021;8(3):e185-e93.

Ljungman P, de la Camara R, Mikulska M, Tridello G, Aguado B, Zahrani MA, et al. COVID-19 and stem cell transplantation; results from an EBMT and GETH multicenter prospective survey. Leukemia. 2021;35:2885-94.

Alhumaid S, Al Mutared KM, Al Alawi Z, Sabr Z, Alkhars O, Alabdulqader M, et al. Severity of SARS-CoV-2 infection in children with inborn errors of immunity (primary immunodeficiencies): A systematic review. Allergy Asthma Clin Immunol. 2023;19:69.

Giardino G, Milito C, Lougaris V, Punziano A, Carrabba M, Cinetto F, et al. The Impact of SARS-CoV-2 infection in patients with inborn errors of immunity: The Experience of the Italian Primary Immunodeficiencies Network (IPINet). J Clin Immunol. 2022;42:935-46.

Delmonte OM, Castagnoli R, Notarangelo LD. COVID-19 and inborn errors of immunity. Physiology (Bethesda). 2022;37(6):0.

Karakoc Aydiner E, Bilgic Eltan S, Babayeva R, Aydiner O, Kepenekli E, Kolukisa B, et al. Adverse COVID-19 outcomes in immune deficiencies: Inequality exists between subclasses. Allergy. 2022;77:282-95.

Babaei M, Kanannejad Z, Sepahi N, Alyasin S. The effect of COVID-19 pandemic on patients with primary immunodeficiency: A cohort study. Iran J Med Sci. 2022;47:162-6.

Bucciol G, Tangye SG, Meyts I. Coronavirus disease 2019 in patients with inborn errors of immunity: Lessons learned. Curr Opin Pediatr. 2021;33:648-56.

Coll E, Fernández-Ruiz M, Sánchez-Álvarez JE, Martínez-Fernández JR, Crespo M, Gayoso J, et al. COVID-19 in transplant recipients: The Spanish experience. Am J Transplant. 2021;21:1825-37.

Varma A, Kosuri S, Ustun C, Ibrahim U, Moreira J, Bishop MR, et al. COVID-19 infection in hematopoietic cell transplantation: Age, time from transplant and steroids matter. Leukemia. 2020;34:2809-12.

Busca A, Salmanton-García J, Marchesi F, Farina F, Seval GC, Van Doesum J, et al. Outcome of COVID-19 in allogeneic stem cell transplant recipients: Results from the EPICOVIDEHA registry. Front Immunol. 2023;14:1125030.

Matkowska-Kocjan A, Owoc-Lempach J, Ludwikowska K, Szenborn F, Moskwa N, Kurek K, et al. COVID-19 mRNA vaccine tolerance and immunogenicity in hematopoietic stem cell transplantation recipients aged 5-11 years old-non-randomized clinical trial. Vaccines (Basel). 2023;11:195.

Watanabe M, Yakushijin K, Funakoshi Y, Ohji G, Ichikawa H, Sakai H, et al. A third dose COVID-19 vaccination in allogeneic hematopoietic stem cell transplantation patients. Vaccines (Basel). 2022;10:1830.

Dell'Orso G, Bagnasco F, Giardino S, Pierri F, Ferrando G, Di Martino D, et al. Hematopoietic stem cell transplantation for inborn errors of immunity: 30-year single-center experience. Front Immunol. 2023;14:1103080.

Slatter M, Lum SH. Personalized hematopoietic stem cell transplantation for inborn errors of immunity. Front Immunol. 2023;14:1162605.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27