การศึกษาระบบให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พิชญานันท์ คู่วัจนกุล กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • นงค์นุช หวายแก้ว กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ศุภวัลย์ คำชาย กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยธาลัสซีเมียเด็ก, ธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด, โรงพยาบาลชุมชน, ระบบให้บริการผู้ป่วยธาลัสซีเมียเด็ก

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ส่งผลให้มีภาวะโลหิตจางแต่กำเนิด กลุ่มธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงจำเป็นต้องให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ การรักษาในปัจจุบันประกอบด้วยการให้เลือดและยาขับเหล็กที่เหมาะสม จังหวัดอุดรธานีมีผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดจำนวน 287 คน พบว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยมีภูมิลำเนาที่ต้องได้รับบริการในโรงพยาบาลชุมชน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุดรธานี

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ (key success factors) ที่ส่งผลต่อระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุดรธานี

วิธีการศึกษา: งานวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบคำถามปลายปิด (close ended question) และคำถามปลายเปิด (open ended question) ร่วมกับการอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) กับทีมสหสาขาวิชาชีพ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ. 2567

ผลการศึกษา: งานวิจัยครั้งนี้พบว่าในจังหวัดอุดรธานีมีโรงพยาบาลชุมชนที่ร่วมโครงการ 18 แห่ง 1) มีการจัดตั้งคลินิกโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดที่โรงพยาบาลชุมชน โดยมีแพทย์และพยาบาลประจำคลินิก คิดเป็นร้อยละ 100  2) มีการประสานงานกันในทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรมคิดเป็นร้อยละ 66.7 3) มีการให้เลือดที่โรงพยาบาลชุมชนแล้วเสร็จภายในวันเดียว คิดเป็นร้อยละ 100  4) มีการจัดหาเลือดที่ได้มาตรฐานชนิด LPRC  คิดเป็นร้อยละ 83.3 และจัดหาเลือดตามกำหนดนัดหมายคิดเป็นร้อยละ 77.8 โดยงานวิจัยได้ศึกษาปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนประกอบด้วย 1) ทีมโรงพยาบาลจังหวัดเป็นต้นแบบที่ดี 2) การประสานงานกันระหว่างทีมโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน 3) การทำงานที่มีประสิทธิภาพของแต่ละโรงพยาบาลชุมชน 4) การติดตามผลงานของโรงพยาบาลชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และ 5) การสร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน

สรุป: จากการศึกษาระบบให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุดรธานี พบว่าระบบให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุดรธานีมีการพัฒนาร่วมกันกับระบบต้นแบบที่ให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลอุดรธานี โดยมีการปรับตามบริบทของโรงพยาบาลชุมชนแต่ละแห่งเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และสามารถถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ ที่ส่งผลต่อระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็กชนิดพึ่งพาเลือดในโรงพยาบาลชุมชนได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา, กิตติ ต่อจรัส, ศศิธร เพชรจันทร, พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ. การให้เลือดในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย. จุลสารชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565];55:1-7. เข้าถึงได้จาก: http://www.thalassemia.or.th/magazine/21-3/tf-magazine-23-05.pdf

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์..สถานการณ์ผู้ป่วยธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย.[อินเทอร์เน็ต]..[เข้าถึง

เมื่อ 2 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพสาขา Thalassemia เขตสุขภาพที่ 8; 2565.

ภูผา วงศ์รัศมีเดือน. คุณภาพชีวิตของเด็กธาลัสซีเมียชนิดเบต้าและผู้ดูแลที่มารับบริการที่โรงพยาบาลน้ำโสม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2563;28:326-35.

พจนพร งามประภาสม. การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ต้องรับเลือดเป็นประจำที่โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2562;20:12-26.

อรุณี เจตศรีสุภาพ. ปัญหาการดูแลผู้ป่วยเด็ก โรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย: กรณีศึกษา ประสบการณ์ของมารดาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยทางการพยาบาล. 2556;10:133-43.

มาลัย ว่องชาญชัยเลิศ, สารภี ด้วงชู, สุดารัตน์ คชวรรณ. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่ต้องรับเลือดประจำที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2557;32:353-63.

Shah F, Telfer P, Velangi M, Pancham S, Wynn R, Pollard S, et al. Routine management, healthcare resource use and patient and carer-reported outcomes of patients with transfusion-dependent β-thalassaemia in the United Kingdom: eJHaem. 2021;2:738-49.

Adam S. Quality of life outcomes in thalassaemia patients in Saudi Arabia: A cross-sectional study. EMHJ. 2019;25:887-95.

Kemmis K, McTaggart R. Participatory action research. Handbook of qualitative research [Internet]. SAGE Publications Ltd., London. [cited 2018 Feb 12]. Available from: https://www.scirp.org/reference/referencespapers?referenceid=2651786.

อภิชญา อารีเอื้อ, สงครามชัย ลีทองดี, สุนทร ยนต์ตระกูล. รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการดูแลในสถานบริการสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง: กรณีคลินิกเด็กธาลัสซีเมียโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25:42-50.

กนกวรรณ ภัทรมัย. การสนับสนุนทางสังคมและภาระในผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

Prasomsuk S, Jetsrisuparp A, Ratanasiri T, Ratanasiri A. Lived experiences of mothers caring for children with thalassemia major in Thailand. JSPN. 2007;12:13-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27