การตรวจคัดกรองเบื้องต้นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงในประเทศไทย โดยวิธีกระดาษกรองและวิธี Multiplex Ligation-dependent Probe Amplification (MLPA)

ผู้แต่ง

  • นีรา สารภี ภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิรมล เสรีเผ่าวงษ์ ศูนย์วิจัยเป็นเลิศโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐระพี เกียรติวุฒินนท์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • หนึ่งจิต โรจนวัฒน์ศิริเวช สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  • ภัคอร ตัณฑการ กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ กรมการแพทย์ โรงพยาบาลเลิดสิน
  • มีดี มีผลประไพ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  • วิชญาภรณ์ เอมราช แซ่โง้ว กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • กิ่งทอง อนุรัตน์ ภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันการแพทย์ จักรีนฤบดินทร์
  • ฐิตพร ธรรมเจริญวิภาส สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อรณี แสนมณีชัย ภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์วิจัยเป็นเลิศโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA, การตรวจวินิจฉัยโรคขั้นต้น, dried blood spot, Multiplex Ligation Dependent Probe Amplification (MLPA)

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Spinal Muscular Dystrophy: SMA) เป็นโรคหายากที่พบในเด็ก ส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัจจุบันมีการรักษาด้วยยีนบำบัด (gene therapy) อย่างไรก็ดี ยังพบความล่าช้าในการวินิจฉัยและเริ่มการรักษา เนื่องจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย ระยะเวลาการตรวจที่ยาวนาน และการเข้าถึงที่ยาก ส่งผลให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นโรค SMA โดยวิธี dried blood spot ซึ่งเป็นวิธี PCR-based method และวิธี Multiplex Ligation Dependent Probe Amplification (MLPA)  ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค SMA

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลในผู้ป่วยเด็กแรกเกิด (อายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไป) ถึงอายุ 21 ปี ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค SMA ในโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลเครือข่ายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ส่งตัวอย่างเลือดมาตรวจยังโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้วิธี dried blood spot และยืนยันผลการตรวจด้วยวิธี MLPA

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย (เพศชาย 21 ราย และเพศหญิง 29 ราย) พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค SMA ด้วยวิธี dried blood spot จำนวน 8 ราย ในจำนวนนี้ทั้ง 8 รายได้รับการยืนยันการวินิจฉัยด้วย MLPA และผลปรากฏว่าแสดงผลบวกเช่นเดียวกัน ค่ากลางของเวลานับจากวิเคราะห์ผลถึงรายงานผลการวินิจฉัยโรคโดยวิธี dried blood spot คือ 2 วัน (พิสัย 1–30 วัน) ขณะที่วิธี MLPA อยู่ที่ 14 วัน (พิสัย 1–20 วัน) (p value 0.001) การตรวจด้วย dried blood spot พบชนิดของ SMA ได้แก่ ชนิดที่ 1 จำนวน 3 ราย ชนิดที่ 2 จำนวน 4 ราย และชนิดที่ 3 จำนวน 1 ราย

สรุป: การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยวิธี dried blood spot ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าวิธี MLPA จึงอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยและเร่งรัดการเข้าถึงการรักษา

Downloads

Download data is not yet available.

References

Swoboda KJ, Prior TW, Scott CB, McNaught TP, Wride MC, Reyna SP, et al. Natural history of denervation in SMA: Relation to age, SMN2 copy number, and function. Ann Neurol. 2005;57:704-12.

Ramdas S, Servais L. New treatments in spinal muscular atrophy: An overview of currently available data. Expert Opin Pharmacother. 2020;21:307-15.

Govoni A, Gagliardi D, Comi GP, Corti S. Time is motor neuron: Therapeutic window and its correlation with pathogenetic mechanisms in spinal muscular atrophy. Mol Neurobiol. 2018;55:6307-18.

Baranello G, Darras BT, Day JW, Deconinck N, Klein A, Masson R, et al. Risdiplam in type 1 spinal muscular atrophy. N Engl J Med. 2021;384:915-23.

Mercuri E, Baranello G, Boespflug-Tanguy O, De Waele L, Goemans N, Kirschner J, et al. Risdiplam in types 2 and 3 spinal muscular atrophy: A randomised, placebo-controlled, dose-finding trial followed by 24 months of treatment. Eur J Neurol. 2023;30:1945-56.

National Statistical Office Thailand [Internet].2022 [cited 2022 Mar 3]. Available from: http://nso.go.th.

Chien YH, Chiang SC, Weng WC, Lee NC, Lin CJ, Hsieh WS, et al. Presymptomatic diagnosis of spinal muscular atrophy through newborn screening. J Pediatr. 2017;190:124-9.e1.

Boemer F, Caberg JH, Dideberg V, Dardenne D, Bours V, Hiligsmann M, et al. Newborn screening for SMA in Southern Belgium. Neuromuscul Disord. 2019;29:343-9.

Lin Y, Lin CH, Yin X, Zhu L, Yang J, Shen Y, et al. Newborn Screening for spinal muscular atrophy in China using DNA mass spectrometry. Front Genet. 2019;10:1255.

Shinohara M, Niba ETE, Wijaya YOS, Takayama I, Mitsuishi C, Kumasaka S, et al. A novel system for spinal muscular atrophy screening in newborns: Japanese pilot study. Int J Neonatal Screen. 2019;5:41.

Vill K, Kölbel H, Schwartz O, Blaschek A, Olgemöller B, Harms E, et al. One year of newborn screening for SMA - results of a german pilot project. J Neuromuscul Dis. 2019;6:503-15.

Czibere L, Burggraf S, Fleige T, Glück B, Keitel LM, Landt O, et al. High-throughput genetic newborn screening for spinal muscular atrophy by rapid nucleic acid extraction from dried blood spots and 384-well qPCR. Eur J Hum Genet. 2020;28:23-30.

Mailman MD, Heinz JW, Papp AC, Snyder PJ, Sedra MS, Wirth B, et al. Molecular analysis of spinal muscular atrophy and modification of the phenotype by SMN2. Genet Med. 2002;4:20-6.

Sakpichaisakul K, Katanyuwong K, Intusoma U, Paprad T, Suwanpakdee P, Khongkhatithum C, et al. Spinal muscular atrophy in an upper-middle-income nation before the advent of reimbursed disease-modifying therapies. BMJ Paediatrics Open. 2024;8:e002775.

de Souza Godinho FM, Bock H, Gheno TC, Saraiva-Pereira ML. Molecular analysis of spinal muscular atrophy: A genotyping protocol based on TaqMan(®) real-time PCR. Genet Mol Biol. 2012;35:955-9.

Prior TW, Snyder PJ, Rink BD, Pearl DK, Pyatt RE, Mihal DC, et al. Newborn and carrier screening for spinal muscular atrophy. Am J Med Genet A. 2010;152:1608-16.

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

สารภี น. ., เสรีเผ่าวงษ์ น. ., เกียรติวุฒินนท์ ณ. ., โรจนวัฒน์ศิริเวช ห., ตัณฑการ ภ. ., มีผลประไพ ม. ., เอมราช แซ่โง้ว ว. ., อนุรัตน์ ก. ., ธรรมเจริญวิภาส ฐ. ., & แสนมณีชัย อ. . (2025). การตรวจคัดกรองเบื้องต้นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงในประเทศไทย โดยวิธีกระดาษกรองและวิธี Multiplex Ligation-dependent Probe Amplification (MLPA). วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(2), 114–129. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2712