การศึกษาภาวะสูญเสียการได้ยิน ของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับยาขับธาตุเหล็ก ในโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
โรคธาลัสซีเมีย, ยาขับเหล็ก, การสูญเสียการได้ยินบทคัดย่อ
บทนำ: โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ มักเกิดภาวะเหล็กเกินซึ่งต้องรักษาด้วยยาขับเหล็ก มีรายงานการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินจากการรักษา ภาวะเหล็กเกินด้วยยาขับเหล็ก แต่ยังไม่ทราบความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินมาก่อน
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบความชุกและหาปัจจัยเสี่ยงของภาวะสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ที่ได้รับยาขับเหล็กในโรงพยาบาลอุดรธานี
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับยาขับเหล็ก ในโรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 15 กรกฎาคม 2565 และมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง เก็บข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลโรคธาลัสซีเมีย ผลการรักษาและผลตรวจการได้ยินโดยวิธี audiogram auditory steady-state reponse (ASSR) และ distortion product otoacoustic emission (DPOAE) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ STATA (version 15)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 100 ราย เพศชาย 50 ราย (ร้อยละ 50) อายุเฉลี่ย 9.51 ปี ผลตรวจการได้ยินผิดปกติ 28 ราย (ร้อยละ 28) ผู้ป่วยกลุ่มที่ผลตรวจการได้ยินผิดปกติเป็นธาลัสซีเมียชนิดเบต้าธาลัสซีเมีย ฮีโมโกลบินอี ร้อยละ 10 มีระดับสาร Ferritin ก่อนการรักษาเฉลี่ย 1757.72 ng/ml มีระยะเวลาที่ระดับ Ferritin ในเลือดสูงเกิน 1000 ng/ml เฉลี่ย 55.25 เดือน ผู้ป่วยกลุ่มที่ผลการได้ยินผิดปกติ ได้รับการรักษา ด้วยยา deferoxamine (DFO) ขนาดยาเฉลี่ย 25.84มก/กก/วัน เป็นระยะเวลาเฉลี่ย 25.14 เดือน deferiprone (DFP) เฉลี่ย 82.68 มก/กก/วัน เป็นระยะเวลาเฉลี่ย 31.44 เดือน deferasirox (DFX) 23.29 มก/กก/วัน ระยะเวลาเฉลี่ย 16 เดือนซึ่งไม่แตกต่างกับกลุ่มที่การได้ยินปกติ (p-value>0.05) พบจำานวนที่สูญเสียการได้ยิน 35 ข้าง สูญเสียการได้ยินที่ความถี่ 8000 Hz ร้อยละ 42.85 ของจำนวนผู้สูญเสียการได้ยินทั้งหมด และพบว่าเพศ อายุ น้ำหนัก ชนิดของธาลัสซีเมีย ระดับ ferritin ก่อนได้รับยาขับเหล็ก ระดับ ferritin ก่อนได้รับการตรวจการได้ยิน ระยะเวลาที่ระดับ ferritin มากกว่า 1000 ng/ml ชนิดยาขับเหล็ก (สูตรยาที่ ผู้ป่วยได้รับ) ต่างก็ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน (p-value > 0.05)
สรุป: ความชุกของการสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ได้รับยาขับเหล็กเท่ากับร้อยละ 28 ส่วนใหญ่ สูญเสียการได้ยินที่ความถี่ 8000 Hz (สูญเสียการได้ยินในความถี่สูง) ยังไม่พบปัจจัยเสี่ยงชัดเจนที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินจากการศึกษาวิจัยนี้ (p-value > 0.05)
Downloads
References
Barratt PS, Toogood IR. Hearing loss attributed to desferrioxamine in patients with beta-thalassaemia major. Med J Aust. 1987; 147:177-9.
Shamsian BS, Aminasnafi A, Moghadassian H, et al. Sensory neural hearing loss in beta-thalassemia major patients treated with deferoxamine. Pediatr Hematol Oncol. 2008;25:502-8.
Khan MA, Khan MA, Seedat AM, et al. Sensorineural Hearing Loss and Its Relationship with Duration of Chelation Among Major β-Thalassemia Patients. Cureus. 2019 ;11:e5465.
Tanphaichitr A, Kusuwan T, Limviriyakul S, et al. Incidence of ototoxicity in pediatric patients with transfusion-dependent thalassemia who are less well-chelated by mono- and combined therapy of iron chelating agents. Hemoglobin. 2014;38:345- 50.
Osma U, Kurtoglu E, Eyigor H, Yilmaz MD, Aygener N. Sensorineural hearing loss in β-thalassemia patients treated with iron chelation. Ear Nose Throat J. 2015;94:481-5.
Tartaglione I, Carfora R, Brotto D, et al. Hearing Loss in Beta-Thalassemia: Systematic Review. J Clin Med. 2021;11:102.
Porter JB, Jaswon MS, Huehns ER, East CA, Hazell JWP. Desferrioxamine Ototoxicity: Evaluation of Risk Factors in Thalassaemic Patients and Guidelines for Safe Dosage. Br. J. Haematol. 1989;73:403-409.
Kontzoglou G, Koussi A, Tsatra J, et al. Sensorineural Hearing Loss in Children with Thalassemia Major in Northern Greece. Int. J. Pediatr. Otorhinolaryngol. 1996;35: 223-230.
Wonke B, Hoffbrand AV, Aldouri M, et al. Reversal of Desferrioxamine Induced Auditory Neurotoxicity during Treatment with Ca-DTPA. Arch. Dis. Child. 1989;64: 77-82.
Chiodo AA, Alberti PW, Sher GD, Francombe WH, Tyler B. Desferrioxamine Ototoxicity in an Adult Transfusion-Dependent Population. J. Otolaryngol. 1997;26:116-122. [PubMed]
Gallant TM, Boyden H, Gallant LA, Carley H, Freedman MH. Serial Studies of Auditory Neurotoxicity in Patients Receiving Deferoxamine Therapy. Am. J. Med. 1987;83:83,1085-90.
Bhardwaj V, Verma R, Chopra H, Sobti P. Chelation-induced ototoxicity in thalassemic patients: Role of distortionproduct otoacoustic emissions and various management parameters. Indian J. Otol. 2016;22:193-198.
Humes LE. The World Health Organization’s hearing-impairment grading system: an evaluation for unaided communication in age-related hearing loss. Int J Audiol. 2019;58:12-20.
World Health Organization. 1991. “Report of the Informal Working Group on Prevention of Deafness and Hearing Impairment: Programme Planning. WHO/PDH/91.1.” Geneva, Switzerland: WHO.
World Health Organization. 2001. International Classification of Functioning, Disability and Health. Geneva, Switzerland: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.