ความชุกของโรคความผิดปกติทางพัฒนาการทางสมอง และพฤติกรรมในผู้ป่วยเด็กโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

ผู้แต่ง

  • ปราญชลี ศรีบุตตะ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002
  • ปวิตรา คุ้มปิยะผล นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ สาขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002
  • ชาญยุทธ์ ศุภคุณภิญโญ อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002
  • กุณฑล วิชาจารย์ อนุสาขาเวชพันธุศาสตร์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002 และ ศูนย์ความเป็นเลิศการแพทย์แม่นยำ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002

คำสำคัญ:

Duchenne Muscular Dystrophy(DMD), Intellectual disabilities (ID), Intellectual quotient (IQ), Autistic spectrum disorder (ASD), Attentiondeficit hyperactivitydisorder (ADHD)

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน สามารถพบ neurodevelopmental disordersร่วมด้วย เช่น ภาวะสติปัญญาบกพร่อง กลุ่มอาการออทิสซึมและโรคสมาธิสั้น เป็นต้น ซึ่งโรคร่วมเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของ neurodevelopmental disorders และความสัมพันธ์ระหว่างชนิด ของกลายพันธุ์กับระดับเชาวน์ปัญญาและชนิดของ neurodevelopmental disorders ในผู้ป่วยเด็ก โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วย DMD อายุน้อยกว่า 18 ปีที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยตรวจประเมินพัฒนาการ ตรวจคัดกรองปัญหาพฤติกรรม ตรวจคัดกรอง กลุ่มอาการออทิสซึม โรคสมาธิสั้น และทดสอบ IQ ทุกรายโดยนักจิตวิทยาคลินิก การวินิจฉัยทำโดยกุมารแพทย์เฉพาะทางพัฒนาการและพฤติกรรมโดยอาศัยเกณฑ์ DSM-5 และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ระหว่างชนิดของกลายพันธุ์กับระดับเชาวน์ปัญญาและชนิดของ neurodevelopmental disorders

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 รายมีอายุมัธยฐาน 9.5 ปี ภาวะสติปัญญาบกพร่อง 12 ราย (60%) กลุ่มอาการออทิสซึมและโรคสมาธิสั้นอย่างละ 1 ราย โดยทั้ง 2 รายมีภาวะสติปัญญาบกพร่องร่วมด้วย แบ่งตามระดับ IQ พบว่ากลุ่ม mild ID (IQ 50-69) 7 ราย (35%), moderate ID (IQ 36-49) 5 ราย (25%), borderline IQ (IQ 70-79) 4 ราย (20%), low normal IQ (IQ 80-89) 3 ราย (15%), IQ ปกติ (IQ>90) 1 ราย โดยค่ามัธยฐานของ IQ อยู่ที่ 68.0 (62.0, 81.0) ประวัติ language delay 9 ราย (45%) gross motor delay 4 ราย (20%) และ global delay development 3 ราย (15%) ตรวจการกลายพันธุ์ด้วยเทคนิค MLPA 17 ราย มีชนิด deletion/duplication 11 ราย (64.7%) การกลายพันธุ์ชนิด deletion/duplication ไม่มีความสัมพันธ์ กับระดับ IQ และชนิดของ neurodevelopmental disorders อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ

สรุป: ผู้ป่วย DMD พบความชุกของภาวะสติปัญญาบกพร่องได้มาก กลุ่มอาการออทิสซึมและ โรคสมาธิสั้นพบน้อย เกือบร้อยละ 50 มีประวัติ language delay การพิจารณาส่งตรวจ serum CK ใน ผู้ป่วยที่มาด้วยพัฒนาการทางภาษาล่าช้าอาจช่วยให้มีการ early diagnosis โรค DMD ชนิดของกลายพันธุ์ ของยีนยังไม่พบว่าสัมพันธ์กับ neurodevelopmental disorders ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการบอกพยากรณ์โรคและแนวทางรักษาที่เหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Crisafulli S, Sultana J, Fontana A, Salvo F, Messina S, Trifirò G. Global epidemiology of Duchenne muscular dystrophy, an updated systematic review and meta-analysis. Orphanet J Rare Dis. 2020; 15: 141.

Thangarajh M, Hendriksen J, McDermott MP, Martens W, Hart KA, Griggs RC. Relationships between DMD mutations and neurodevelopment in dystrophinopathy. Neurology. 2019; 93(17): 1597-1604.

Hendriksen JGM, Vles JSH. Neuropsychiatric disorders in males with Duchenne muscular dystrophy: frequency rate of attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD), autism spectrum disorder, and obsessive compulsive disorder. J Child Neurol. 2008; 23: 477-481.

Banihani R, Smile S, Yoon G, et al. Cognitive and neurobehavioral profile in boys with Duchenne muscular dystrophy. J Child Neurol. 2015; 30: 1472-1482.

Wingeier K, Giger E, Strozzi S, et al. Neuropsychological impairments and the impact of dystrophin mutations on general cognitive functioning of patients with Duchenne muscular dystrophy. J Clin Neurosci. 2011; 18: 90-95.

Prosser EJ, Murphy EG, Thompson MW. Intelligence and the gene for Duchenne muscular dystrophy. Arch Dis Child. 1969;44: 221-230.

Smith RA, Sibert JR, Harper PS. Early development of boys with Duchenne muscular dystrophy. Dev Med Child Neurol. 1990; 32: 519-527.

Parsons EP, Clarke AJ, Bradley DM. Developmental progress in Duchenne muscular dystrophy: lessons for earlier detection. Eur J Paediatr Neurol. 2004; 8: 145-153.

Cyrulnik SE, Fee RJ, De Vivo DC, Goldstein E, Hinton VJ. Delayed developmental language milestones in children with Duchenne’s muscular dystrophy. J Pediatr. 2007; 150: 474-478.

Connolly AM, Florence JM, Cradock MM, et al. Motor and cognitive assessment of infants and young boys with Duchenne Muscular Dystrophy: results from the Muscular Dystrophy Association DMD Clinical Research Network. Neuromuscul Disord. 2013; 23: 529-539.

Darmahkasih AJ, Rybalsky I, Tian C, et al. Neurodevelopmental, behavioral, and emotional symptoms common in Duchenne muscular dystrophy. Muscle Nerve. 2020; 61: 466-474.

Bladen CL, Salgado D, Monges S, et al. The TREAT-NMD DMD global database: analysis of more than 7,000 Duchenne muscular dystrophy mutations. Hum Mutat 2015;36:395–402.

Orsini M, Carolina A, de Ferreira AF, et al. Cognitive impairment in neuromuscular diseases: a systematic review. Neurol Int 2018;10:7473.

Doorenweerd N. Combining genetics, neuropsychology and neuroimaging to improve understanding of brain involvement in Duchenne muscular dystrophy - a narrative review. Neuromuscul Disord 2020;30:437– 442.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13