การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาสเตียรอยด์ในมารดาที่คลอดทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย ต่อการเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิว ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ชลลดา วิริยะกุล
  • พรพิมล โรจนครินทร์

คำสำคัญ:

Late preterm, Respiratory distress syndrome

บทคัดย่อ

บทนำ: ทารกแรกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายเป็นทารกที่ยังมีความไม่สมบูรณ์ทางสรีรวิทยาเหมือนกับทารกเกิดก่อนกำหนดทั่วไป โดยพบว่าทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายเกิดภาวะเจ็บป่วยด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านระบบทางเดินหายใจ การให้ยาสเตียรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีการใช้อย่างแพร่หลายในแนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ เนื่องจากมีการศึกษาที่พบ ว่ายาสเตียรอยด์ช่วยลดการเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิว อย่างไรก็ตามยังไม่มีแนวทางชัดเจนในการให้ยาสเตียรอยด์ในมารดาที่คลอดก่อนกำาหนดระยะท้าย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาสเตียรอยด์ในมารดาที่คลอดทารก เกิดก่อนกำหนดระยะท้ายต่อการเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิว และศึกษาภาวะแทรกซ้อนด้านระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ของทารกที่เกิดก่อนกำหนดระยะท้ายในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังแบบ Observational analytical study โดยเก็บข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยทารกที่เกิดก่อนกำหนดระยะท้ายในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทารกที่มารดาได้รับยาสเตียรอยด์ก่อนคลอด และกลุ่มทารกที่มารดาไม่ได้รับยาสเตียอรอยด์ก่อนคลอด

ผลการศึกษา: ทารกที่เกิดอายุครรภ์ระหว่าง 34 ถึง 366/7 สัปดาห์ ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ที่เข้าร่วมีการศึกษาทั้งหมด 194 ราย โดยเป็นกลุ่มที่มารดาได้ร้บยาสเตียรอยด์ก่อนคลอด 97 ราย และกลุ่มที่มารดาไม่ได้รับยาสเตียรอยด์ 97 ราย พบทารกกลุ่มหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิว 27 ราย (ร้อยละ 13.9) โดยพบว่ามารดากลุ่มที่ได้ร้บยาสเตียรอยด์เกิดทารกกลุ่มหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวน้อยกว่ากลุ่มมารดาที่ไม่ได้รับยาสเตียรอยด์ (ร้อยละ 8.2 และร้อยละ 19.6) (p0.023) ส่วนภาวะแทรกซ้อนด้านระบบทางเดินหายใจอ่อนๆ พบภาวะ Transient tachypnea of the newborn มากที่สุด 79 ราย (ร้อยละ 40.7) รองลงมา คือ Delay adaptation 27 ราย (ร้อยละ 13.9) และ Congenital pneumonia 14 ราย (ร้อยละ 7.2) ทารกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิดไดรับการใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ 18 ราย (ร้อยละ 66.7) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด Respiratory distress syndrome มี 3 ปัจจัย ได้แก่ การได้รับยาสเตียรอยด์ในมารดาก่อนคลอด น้ำหนักแรกเกิด และ APGAR score ที่ 5 นาที ≤ 7

สรุปผลการวิจัย: การได้ร้บยาสเตียรอยด์ในมารดาที่คลอดทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายสัมพันธ์กับการลดการเกิดทารกกลุ่มหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวและลดการเกิดภาวะหายใจลำบาก จากสาเหตุอื่นๆ ทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย ภาวะแทรกซ้อนด้านระบบทางเดินหายใจที่พบมากที่สุด คือ ภาวะ Transient tachypnea of newborn

Downloads

Download data is not yet available.

References

Christine A, Gleason, Sandra E Juul. Avery’s disease of the newborn. Tenth edition. Philadelphia: Elsevier;2018.

Martin JA, Hamilton BE, Osterman M, et al. Births:Final data for 2015.Natl Vital Stat Rep 2017;66:1.

Engle WA, Tomashek KM,Wallman C, Committee on Fetus and newborn. Latepreterm infants: a population at risk. Pediatrics 2007;120:1390-401.

Gabbe SG.Niebyl JR, Simson JL, eds. Obstetrics Normal and Problem Pregnancies. Philadephia,Pa: Churechill Livingstone;2007.

Murthy K, Grobman WA, Lee TA, et al. Obstetrics’ rising liability insurance premiums and inductions at late preterm gestations. Med Care 2009;47:425-30.

Kalyoncu O, Aygun C, Centinocu E, et al. Neonatal morbidity and mortarity of latepreterm babies. J Matern Fetal Neonatal Med 2010;23:607-12.

Melamed N, Klinger G, Tenenbaum-Gavish K, et al. Short-term neonatal outcomes in low risk, spontaneous, singleton, late preterm deliveries. Obstet Glynecol 2009; 114:253-60.

Gabriele Saccone, Vincenzo Berhella. Antenatal corticosteroids for maturity of term or near term fetuses: systemic review and meta-analysis of randomizes controlled trials. BMJ 2016;355:1-9.

คณะอนุกรรมการอนามัยแม่ละเด็ก, คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ. การดูแลรักษา ภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 2558: 36-37.

C. Gyamfi-Bannerman, E.A. Thom, S.C. Blackwell, A.T.N. Tita, U.M. Reddy, G.R. Saade. Antenatal betamethasone for women at risk for late preterm delivery. N Engl Med 2016;374:1311-20.

Lutfun Nahar Begum, Farzana Ahmed, Kulsum Haq, Lima Lisa Mallick. Clinical outcome of the late preterm infants. BSMMU J. 2017;10:132-4.

Nipawan Attawattanakul, Pimpika Tansupswatdikul. Effects of Antenatal Dexamethasone on Respiratory Distress in Late preterm Infant. Thai J Obstet Gynaecol 2015;25-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13