ผลการจัดตั้งคลินิกให้เลือดเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในวันหยุดสุดสัปดาห์
คำสำคัญ:
โลหิตจางธาลัสซีเมีย, วันหยุดสุดสัปดาห์, การให้เลือด, การขาดเรียนบทคัดย่อ
วัตถุุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ผลการจัดตั้งคลินิกให้เลือดเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในวันหยุดสุดสัปดาห์ ในโรงพยาบาลแม่สอดจังหวัดตาก
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสังเกตใช้รูปแบบ interrupted time series 2 ระยะ ได้แก่ ระยะอ้างอิง (1 มกราคม 2562-31 กรกฎาคม 2563) และระยะดำเนินการจัดตั้งคลินิกให้เลือดเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในวันหยุดสุดสัปดาห์ (1 สิงหาคม 2563-31 กรกฎาคม 2564) จำนวนผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีีเมีย ในช่วงเวลาศึกษามีจำนวน 33 ราย (692 ครั้ง) การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ของผู้ป่วยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างข้อมูลทางคลินิกระหว่างกลุ่มใช้ McNemar’s chi-squared testสำหรับข้อมูลแบบ proportion ส่วนข้อมูลค่าต่อเนื่องใช้ paired t-test หรือ Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test ตามลักษณะการกระจายตัวของข้อมูล และวิเคราะห์ถดถอยพหุตัวแปร ข้อมูลผลลัพธ์ที่วัดซ้ำด้วย multilevel mixed-effects linear regression เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงระดับ ฮีโมโกลบินก่อนการให้เลือดน้ำหนักส่วนสูง ในวันที่มาตรวจตามนัดและวันขาดเรียน
ผลการศึกษา: ดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโต ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ส่วนสูงเทียบกับมัธยฐานของส่วนสูงตามอายุ มีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.4% ต่อคน-ปี (ช่วงความเชื่อมั่น 95%=0.9%-1.9%) ที่ระดับนัยสำคัญ p <0.001 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเทียบกับมัธยฐานของน้ำหนักตามอายุมีค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.0% ต่อคน-ปี (ช่วงความ เชื่อมั่น 95%=0.8%-3.1%) ที่ระดับนัยสำคัญ p =0.001 จำนวนวันขาดโรงเรียนเฉลี่ยต่อคน-ปี ลดลง 13.7 วัน (ช่วงความเชื่อมั่น 95%=-14.2 ถึง -13.3) ที่ระดับนัยสำคัญ p <0.001 และสัดส่วนของผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการบริหารยาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.4 เป็นร้อยละ 90.9 แต่ไม่มีนัยสำคัญ (p=0.257) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับสูงต่อคลินิกให้เลือดเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในวันหยุดสุดสัปดาห์
ข้้อสรุป: การจัดคลินิกให้เลือดเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในวันหยุดสุดสัปดาห์สามารถลดจำนวนวันขาดโรงเรียน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาโดยการเติมเลือดอย่างสม่ำเสมอและส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของผู้ป่วย
Downloads
References
Taher AT, Weatherall DJ, Cappellini MD. Thalassaemia. Lancet. 2018 13;391 (10116):155-67.
Turnpenny PD, Ellard S. Hemoglobin and the hemoglobinopathies. In: Turnpenny PD, Ellard S, editors. Emery’s Elements of medical genetics. 15 ed. China: Elsevier; 2017. p. 154-63.
กิตติ ต่อจรัส, รัชฎะ ลำกูล.แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะโลหิตจาง. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2559.
Nabi AT, Muttu J, Chhaparwal A, MukhopadhyayA, Pattnaik SJ, Choudhary P. Implications of β-thalassemia on oral health status in patients: A cross-sectional study. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2022;11(3).
Kwiatkowski JL. Thalassemia syndromes. In: Kliegman RM, St.Geme-III JW, Blum NJ, Tasker RC, Shah SS, Wilson KM, editors. Nelson textbook of pediatrics. 21st ed. Philadelphia: Elsevier; 2020. p. 2554-8.
อรุณี เจตศรีสุภาพ, อรุโนทัย มีแก้วกุญชร. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมีย.ใน:จิตสุดา บัวขาว, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป Guidelines for the care of thalassemia patients in general practice. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560. หน้า. 25-39.
Hughes D, Cowell W, Koncz T, Cramer J, International Society for P, Outcomes Research Economics of Medication Compliance Working G. Methods for integrating medication compliance and persistence in pharmacoeconomic evaluations. Value Health. 2007; 10:498-509.
Torcharus K, Pankaew T. Health-related quality of life in Thai thalassemic children treated with iron chelation. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2011;42: 951-9.
Yalcn SS, Durmusoglu-Sendogdu M, Gumruk F, Unal S, Karg E, Tugrul B. Evaluation of the children with betathalassemia in terms of their self-concept, behavioral, and parental attitudes. J Pediatr Hematol Oncol. 2007;29:523-8.
Dejchaiwatana S, Cetthakrikul N, Suphanchaimat R. Changes of nutrition and growth status in thalassemic children following regular blood transfusionat Banphai Hospital, KhonKaen. Thai Journal of Pediatrics. 2562;1:4-10.
Robert T. Means J, Glader B. et al., editors. Wintrobe’s Clinical hematology. 13th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2013. p. 587-616.
Brugnara C, Oski FA, Nathan DG. et al. Nathan and Oski’s hematology and oncology of infancy and childhood. 8th ed. Philadelphia: Saunders; 2015. p. 293-307.
Fung EB. The importance of nutrition for health in patients with transfusion-dependent thalassemia. Annals of the New York Academy of Sciences. 2016;1368:40-8.
Brown R, Pehrson S. Group processes: dynamics within and between groups. 3rd ed. New Jersey: John Wiley & Sons Inc.; 2020. 329 p
Eziefula C, Shah FT, Anie KA. Promoting adherence to iron chelation treatment in Beta-thalassemia patients. Patient Prefer Adherence. 2022;16:1423-37.
Viprakasit V, Lee-Lee C, Chong QT, Lin KH, Khuhapinant A. Iron chelation therapy in the management of thalassemia: the Asian perspectives. Int J Hematol. 2009;90:435-45.
Faramarzi A, Karimi M, Heydari ST, Shishegar M, Kaviani M. Frequency of sensory neural hearing loss in major Betathalassemias in southern iran. Iran J Pediatr. 2010;20:308-12.
Liaska A, Petrou P, Georgakopoulos CD, et al. β-Thalassemia and ocular implications: a systematic review. BMC Ophthalmol. 2016 8;16:102.
Piriyakhuntorn P, Tantiworawit A, Kasitanon N, Louthrenoo W. Prevalence and characteristics of inflammatory rheumatic diseases in patients with thalassemia. Ann Hematol. 2022;101:1667-75.
Fadel HT, Zolaly MA, Alharbi MO, et al. Oral health profiles and related quality of life in thalassemia children in relation to iron overload: a cross-sectional study. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2020;17:9444.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.