ผลการรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1000 กรัม ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์: การศึกษาย้อนหลัง 10 ปี
บทคัดย่อ
ความสำคัญและที่มา: ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1000 กรัม เป็นกลุ่มทารกที่มีอัตราการเสียชีวิต และการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดสูง ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ตลอดจนเทคโนโลยีการรักษาที่มีความก้าวหน้า และมีคุณภาพดีขึ้น ส่งผลให้ทารกกลุ่มนี้มีอัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น
วัตถุุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตในทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด น้อยกว่า 1000 กรัม ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา: โดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลังเป็นระยะเวลา 10 ปี ระหว่าง 1 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ถึง 30มิถุนายน พ.ศ.2564 ในทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1000 กรัม ซึ่งรับไว้ที่หน่วยดูแลทารกแรกเกิดระยะวิกฤตข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของมารดาและการคลอด ข้อมูลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนของทารกตลอดระยะเวลาที่รักษา จนกระทั่งทารกได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต
ผลการศึกษา: มีทารกเกิดมีชีพ 203 รายที่น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1000 กรัม เข้าเกณฑ์การศึกษา พบว่า ทารก 122 ราย (60.1%) มีชีวิตรอดเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง 55.7% ของทารกที่รอดชีวิตส่วนในกลุ่มที่เสียชีวิตมีสาเหตุการตายที่พบบ่อย คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะปอดขาดสารลดแรงตึงผิว ไม่พบทารกรอดชีวิตในกลุ่มที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 600 กรัม โดยน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยของทารกในกลุ่มที่เสียชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รอดเท่ากับ 814 (IQR, 695-872.5) กรัม และ 880 (IQR, 807-946) กรัม ตามลำดับ (p<0.001) โดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตในทารก คือ น้ำหนักแรกเกิดที่ลดลงทุก 100 กรัม (adjusted odds ratio [aOR]=1.61 95% CI 1.21-2.15; p=0.001) คะแนน Apgar ที่ 5 นาที <7 (aOR=1.96, 95% CI 1.03-3.73; p=0.042) และภาวะเลือดออกในโพรงสมอง (aOR=3.14, 95% CI 1.32-7.44; p=0.009)
สรุป: น้ำหนักแรกเกิดของทารกที่ลดลงทุก 100 กรัม โดยเฉพาะกลุ่มที่ต่ำกว่า 600 กรัม มีความเสี่ยงสูง ของการเสียชีวิต ภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด รวมทั้งภาวะเลือดออกในโพรงสมอง พบเป็นปัจจัยเสี่ยงในทารกกลุ่มที่เสียชีวิต ผลการศึกษาครั้งนี้อาจนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจและเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
Downloads
References
World Health Organization. Newborn Mortality Fact Sheets. 2022.
Kiatchoosakun P, Jirapradittha J, Paopongsawan P, et al. Mortality and Comorbidities in Extremely Low Birth Weight Thai Infants: A Nationwide Data Analysis. Children. 2022;9:1825.
ธนสินี เนียมทันต์, แสงแข ชำานาญวนกิจ. ผลการรักษาทารกน้ำหนักน้อยมาก: ประสบการณ์ 10 ปี ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2558;68:27-34.
Sritipsukho S, Suarod T, Sritipsukho P. Survival and Outcome of Very Low Birth Weight Infants Born in a University Hospital with Level II NICU. J Med Assoc Thai. 2007;90:1323-9.
Chanvitan P, Ruangnapa K, Janjindamai W, Disaneevate S. Outcomes of Very Low Birth Weight Infants in Songklanagarind Hospital. J Med Assoc Thai. 2010;93:191-8.
สุธิดา แผ่วัฒนากุล. ผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาลอุทัยธานี. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2559;13:24-35.
โสภิดา ตันธวัฒน์. ผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม ในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2060;25;241-8.
กนิษฐา กลิ่นราตรี, ฌานิกา โกษารัตน์, วัชรี ตันติประภา. อัตราเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2553 และ 2558. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2560;1:51-8.
อานนท์ ภูชาดึก, อำนวยพร อภิรักษากร, สุอร ชัยนันท์สมิตย์. การรอดชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก ระหว่างทารกก่อนกำหนดที่เกิดในและนอกโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2561;2:188-96.
Sahoo T, Anand P, Verma A. Outcome of Extremely Low Birth Weight (ELBW) Infants from a Birth Cohort (2013-2018) in a Tertiary Care Unit in North India. J Perinatol. 2020;40:743-9.
Tagare A, Chaudhari S, Kadam S. Mortality and Morbidity in Extremely Low Birth Weight (ELBW) Infants in a Neonatal Intensive Care Unit. Indian J Pediatr. 2013;80:16-20.
Mukhopadhyay K, Louis D, Mahajan R, Kumar P. Predictors of Mortality and Major Morbidities in Extremely Low Birth Weight Neonates. Indian Pediatr. 2013;50:1119-23.
Thakur N, Sauli A, Kumar A, Kumar V. Predictors of Mortality of Extremely Low Birthweight Babies in a Tertiary Care Centre of a Developing Country. Postgrad Med J. 2013;89:679-84.
Hon KL, Liu S, Chow JCY , et al. Mortality and Morbidity of Extremely Low Birth Weight Infants in Hong Kong. 2010-2017: A Single-Centre Review. Hong Kong Med J. 2018;24:460-5.
Anderson JG, Baer RJ, Partridge CJ, et al. Survival and Major Morbidity of Extremely Preterm Infants: A Population-Based Study. Pediatrics. 2016;138:e20154434.
Ogawa M, Matsuda Y and Kanda E. Survival Rate of Extremely Low Birth Weight Infants and Its Risk Factors: Case-Control Study in Japan. ISRN Obstet Gynecol. 2013;2013:873563.
Jerneck KT and Herbst A. Low 5-Minute Apgar Score: A Population-Based Register Study of 1 Million Term Births. Obstet Gynecol. 2001;98:65-70.
Subrata S, Indira B, Ronald D, Robert ES, Steven MD. Severe Intraventricular Hemorrhage in Preterm Infants: Comparison of Risk Factors and Short-Term Neonatal Morbidities between Grade 3 and Grade 4 Intraventricular Hemorrhage.Am J Perinatol. 2009;26:419-24.
Isayama T, Iwami H, McDonald S, Beyene J. Association of Noninvasive Ventilation Strategies with Mortality and Bronchopulmonary Dysplasia among Preterm Infants: A Systematic Review and Meta-Analysis. JAMA. 2016;316:611-24.
Guaman MC, Hagan J, Sabic D, Tillman DM, and Fernandes CJ. Volume-Guarantee vs. Pressure-Limited Ventilation in Evolving Bronchopulmonary Dysplasia. Front Pediatr. 2022;10:952376.
Dumpaa V, Bhandari V. Surfactant, Steroids and Non-Invasive Ventilation in the Prevention of BPD. Semin Perinatol. 2018;42:444-52.
de las Rivas Ramírez N, Luque AG, Rius Díaz F, Pérez Frías FJ, Tamayo TS. Risk Factors Associated with Retinopathy of Prematurity Development and Progression. Sci Rep. 2022;12:21977.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.