ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของมารดา ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • วุฒิภัทร ภูษณสุวรรณศรี กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • เอกสิทธา จูฑามาตย์ กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • จักจิตกอร์ สัจจเดว์ กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลภู่มิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

คำสำคัญ:

ภาวะวิตกกังวลของมารดา, ภาวะซึมเศร้าของมารดา, การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบอย่างมากกับประชากรทั่วโลก โดยนอกจากผลกระทบด้านสุขภาพร่างกายแล้ว ผลกระทบต่อสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในกลุ่มมารดาที่ต้องเผชิญกับความกดดันและภาระที่มากขึ้นในการดูแลบุตรหลานในช่วงสถานการณ์การระบาด จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัญหาด้านสุขภาพจิตของมารดาในช่วงการระบาดมีเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอาจส่งผลกระทบถึงการเลี้ยงบุตรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

วัตถุุประสงค์: ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของมารดาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางทำการศึกษา ณ กองตรวจโรคผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน พ.ศ. 2565 ผู้เข้าร่วมการศึกษาคือมารดาที่พาบุตรมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดช โดยผู้ร่วมวิจัย จะทำการตอบแบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานและแบบคัดกรองภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า

ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าของมารดาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าเท่ากับ 13.3% และ 10.2% ตามลำดับ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลในมารดา คือ มารดาที่มีบุตรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า คือ การที่บุตรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน

สรุป: ความชุกของภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าของมารดาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 มีค่าที่มากอย่างมีนัยสำคัญ การตรวจคัดกรองเพื่อตรวจพบ และให้การจัดการอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำในกลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงเพื่อการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta Biomed 2020; 91: 157-60.

Cluver L, Lachman JM, Sherr L, et al. Parenting in a time of COVID-19. Lancet 2020; 395(10231): e64.

Pierce M, Abel KM, Muwonge J Jr, et al. Prevalence of parental mental illness and association with socioeconomic adversity among children in Sweden between 2006 and 2016: a population-based cohort study. Lancet Public Health 2020; 5: e583-91.

Cameron EE, Joyce KM, Delaquis CP, Reynolds K, Protudjer JLP, Roos LE. Maternal psychological distress & mental health service use during the COVID-19 pandemic. J Affect Disord 2020; 276: 765–74.

American Psychiatric Association, 2013. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 5th ed. Author, Washington, DC.

Wolford SN, Cooper AN, McWey LM. Maternal depression, maltreatment history, and child outcomes: The role of harsh parenting. Am J Orthopsychiatry. 2019; 89: 181-91.

Martins C, Gaffan EA. Effects of early maternal depression on patterns of infantmother attachment: a meta-analytic investigation. J Child Psychol Psychiatry. 2000; 41: 737-46.

Racine N, Hetherington E, McArthur BA, McDonald S, Edwards S, Tough S, Madigan S. Maternal depressive and anxiety symptoms before and during the COVID-19 pandemic in Canada: a longitudinal analysis. Lancet Psychiatry. 2021; 8: 405-15.

Snaith RP, ZigmondAS. The hospital anxiety and depression scale. Br Med J (Clin Res Ed). 1986; 292(6516): 344.

Nilchaikovit T, Lotrakul M, Phisansuthideth U. Development of Thai version of Hospital Anxiety and Depression Scale in cancer patients. J Psychiatr Assoc Thai 1996; 41: 18-30.

Kittirattanapaiboon P, Tantirangsee N, Chutha W, Tanaree A, Kwansanit P, Assanangkorncha S. Prevalence of mental disorders and mental health problems: results from Thai mental health survey 2013. J Ment Health Thai 2016; 24: 52-8.

Dennis CL, Falah-Hassani K, Shiri R. Prevalence of antenatal and postnatal anxiety: systematic review and metaanalysis. Br J Psychiatry. 2017; 210: 315-23.

Letourneau NL, Tramonte L, Willms JD. Maternal depression, family functioning and children’s longitudinal development. J Pediatr Nurs. 2013; 28: 223-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13