การศึกษาภาวะซีดในทารกแรกเกิดที่ได้รับยาต้านเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเสี่ยงทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง

ผู้แต่ง

  • ฉันท์สินี สุนาวินวรรัตน์ กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  • ประอร สุประดิษฐ ณ อยุธยา กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

คำสำคัญ:

แนวทางการให้ยาต้านเอชไอวีของทารกที่คลอดจากมารดาติดเชื้อเอชไอวี, กลุ่มเสี่ยงทั่วไปกลุ่มเสี่ยงสูง, ภาวะซีด, AZT, 3TC, NVP

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก แบ่งทารกแรกเกิดเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสี่ยงทั่วไปที่ให้ทารกกินยาต้านเอชไอวี zidovudine (AZT) นาน 4 สัปดาห์และกลุ่มเสี่ยงสูงกินยา 3 ชนิด ได้แก่ AZT lamivudine (3TC) และ nevirapine (NVP) โดยภาวะแทรกซ้อนจาก AZT และ 3TC ที่พบได้บ่อย คือ ภาวซีด

วัตถุุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะซีด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อภาวะซีดในทารกแรกเกิดที่ได้รับยาต้านเอชไอวี เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเสี่ยงทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง และอัตราการติดเชื้อเอชไอวี

วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังในทารกแรกเกิดที่ได้รับยาต้านเอชไอวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ที่เกิดที่โรงพยาบาลราชวิถีและมารักษาต่อที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งแต่ พ.ศ.2560-2562 ดูผล complete blood count ที่อายุ 1 เดือน และผล anti-HIV ที่อายุ 18 เดือน

ผลการศึกษา: มีทารกแรกเกิดเป็นกลุ่มเสี่ยงทั่วไป 62 คน (ร้อยละ 68) และกลุ่มความเสี่ยงสูง 29 คน (ร้อยละ 32) ที่เข้าข่ายและได้รวมอยู่ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบอัตราการเกิดภาวะซีดที่อายุ 1 เดือน ในกลุ่มเสี่ยงทั่วไปร้อยละ 69 กลุ่มความเสี่ยงสูงร้อยละ 69 (OR 0.982, 95% CI 0.378-2.550) (p-value 0.97) ส่วนใหญ่เป็นภาวะซีดเล็กน้อย โดยพบร้อยละ 60 ในกลุ่มเสี่ยงทั่วไปและร้อยละ 50 ในกลุ่มเสี่ยงสูง (p-value 0.838) พบอัตราส่วนของภาวะซีดสูงกว่าในทารกคลอดก่อนกำหนด (ร้อยละ 90.9) เทียบกับทารกคลอดครบกำหนด (ร้อยละ 66.3) (OR 5, 95% CI: 4.479-5.619) (p-value 0.016) น้ำหนักเกิด < 2,500 กรัม (ร้อยละ 88.9) เทียบกับน้ำหนักแรกเกิด ≥ 2,500 กรัม (ร้อยละ 67.1) (OR 3.9, 95% CI: 3.141-5.497) (p-value 0.011) และเส้นรอบศีรษะที่อายุ 1 เดือน < P 50 (ร้อยละ 86.4) เทียบกับ เส้นรอบศีรษะที่อายุ 1 เดือน ≥ P 50 (ร้อยละ 63.8) (OR 3.6, 95% CI: 3.033-4.593) (p-value 0.046)อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเสี่ยงทั่วไปร้อยละ 0 และกลุ่มเสี่ยงสูงร้อยละ 3.4 (OR 1, 95% CI 0.967-1.109 (p-value 0.141)

สรุป: อัตราการเกิดภาวะซีดที่อายุ 1 เดือน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มเสี่ยงทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อภาวะซีด คือ ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักแรกเกิด < 2,500 กรัม และเส้นรอบศีรษะที่อายุ 1 เดือน < P 50 อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเสี่ยงสูงคิดเป็น ร้อยละ 3.4 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มเสี่ยงทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง

Downloads

Download data is not yet available.

References

สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์, ธันยวีร์ ภูธนกิจ. โฉมหน้าใหม่ของโรคติดเชื้อในเด็กระบาดวิทยา การวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกัน.สาชาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แอคทีฟ พริ้นท์, 2563.P135-66.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำากัด, 2560.

แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษร กราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2565.

Nakamura K, Tateyama M, Tasato D, et al. Pure red cell aplasia induced by lamivudine withouttheinfluenceofzidovudineinapatient infected with human immunodeficiency virus. Intern Med. 2014;53(15):1705–8.

วิปร วิประกษิต. แนวทางในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางในเด็ก (Approach to Childhood Anemia). วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต [Internet]. 2557;24(4):395–405.

U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health, National Institute of Allergy and Infectious Diseases, Division of AIDS. Division of AIDS (DAIDS) Table for Grading the Severity of Adult and Pediatric Adverse Events, Corrected Version 2.1. [July 2017]. Available from: https://rsc.niaid.nih.gov/sites/default/files/daidsgradingcorrectedv21.pdf.

Waterlow JC. Classification and definition of protein-calorie malnutrition. BMJ1972; 566-9.

Anugulruengkitt S, Suntarattiwong P, Ounchanum P, et al. Safety of 6-week Neonatal Triple-combination Antiretroviral Postexposure Prophylaxis in High-risk HIV-exposed Infants. Pediatr Infect Dis J. 2019;38:1045–50.

Smith C, Forster JE, Levin MJ, et al. Serious adverse events are uncommon with combination neonatal antiretroviral prophylaxis: A retrospective case review. PLoS ONE. 2015;10e0127062.

Itsaradisaikul S. Anemia in infants Born to HIV infected Mothers in Uttaradit Hospital. Health science clinical research. 2022; 37:10-21.

Bunupuradah T, Kariminia A, Chan KC, et al. Incidence and predictors of severe anemia in Asian HIV-infected children using firstline antiretroviral therapy. Int J Infect Dis. 2013;17:806–10.

Joao EC, Pilotto JH, Gray G, et al. NIH Public Access. 2013.

United Nations Programme on HIV/AIDS. UNAIDS data 2020.Geneva, Switzerland. UNAIDS.2020;436.

Singh A, Hemal A, Agarwal S, Dubey NK, Buxi G. A prospective study of haematological changes after switching from stavudine to zidovudine-based antiretroviral treatment in HIV-infected children. Int J STD AIDS. 2016;27:1145–52.

Rougemont M, Nchotu Ngang P, Stoll B, et al. Safety of zidovudine dose reduction in treatment-naïve HIV infected patients. A randomized controlled study (MiniZID). HIV Med. 2016;17:206–15.

Renner LA, Dicko F, Kouéta F, et al.Anaemia and zidovudine- containing antiretroviral therapy in paediatric antiretroviral programmes in the IeDEA Paediatric West African Database to evaluate AIDS. J Int AIDS Soc. 2013;16:1–8.

Dash KR, Meher LK, Hui PK, Behera SK, Nayak SN. High Incidence of Zidovudine Induced Anaemia in HIV Infected Patients in Southern Odisha. Indian J Hematol Blood Transfus. 2015;31:247–50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13