การแตกทะลุของท่อน้ำดีโป่งพองในผู้ป่วยเด็กที่มาด้วยท้องมานชนิดน้ำดี: รายงานเคสผู้ป่วย 1 ราย

ผู้แต่ง

  • อัจจิมา ทัศจันทร์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ภิเษก ยิ้มแย้ม กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ฉัตรชัย ซื่อศิริสวัสดิ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคท่อน้ำดีโป่งพอง, น้ำดีในช่องท้อง, อาการท้องมาน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคท่อน้ำดีป่องพองเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของท่อทางเดินน้ำดีที่พบได้น้อยและอาจจะพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งได้ อาการแสดงหลักคือ ปวดท้อง คลำได้ก้อนในท้อง และสภาวะน้ำดีคั่ง โดยอาการอาจจะต่างกันไปตามขนาดของท่อน้ำดีและอายุที่แสดงอาการ

วัตถุประสงค์: รายงานผู้ป่วยเด็ก 1 รายที่มาด้วยอาการท้องโตแน่นท้องและพบน้ำดีในช่องท้องซึ่งเป็นอาการ
ที่พบได้น้อยตรวจพบการอักเสบจากการการตรวจทางพยาธิวิทยาสนับสนุนว่าสาเหตุการแตกทะลุของภาวะท่อน้ำดีร่วมโป่งพองเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ

รายงานผู้ป่วย: รายงานผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 2 ปี ที่มีอาการแน่นท้องท้องโตขึ้นและมีไข้ผลเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์
อัลตราซาวน์ในช่องท้องและการเจาะตรวจน้ำในช่องท้องเพื่อการวินิจฉัยพบเป็นน้ำดีและน้ำในช่องท้องติดเชื้อ การผ่าตัดช่องท้องพบว่ามีการแตกทะลุของท่อน้ำดีโป่งพองร่วมกับการเน่าตาย แพทย์ได้ผ่าตัดทำ cystectomy with Rouen-Y hepaticojejunmostomy หลังผ่าตัดได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษา พบว่าหายเป็นปกติ

สรุป: ผู้ป่วยเด็กหญิง 2 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคท่อน้ำดีโป่งพอง โดยมีอาการนำมาด้วยท้องมาน และตรวจพบน้ำดีในช่องท้องโดยไม่เคยมีอาการตัวเหลืองมาก่อน ซึ่งเป็นอาการและอาการแสดงที่พบได้น้อย

Downloads

Download data is not yet available.

References

Holcomb GW, Murphy JP. Holocomb and Ashcraft’s pediatric Surgery. In: Liem NT, Benedict LA, Holocomb GW. Choledochal cyst and Gallbladder disease. 7th ed. London: ELSEVIER, 2020:695-708.

Tsai CC, Huang PK, Liu HK, Su YT, Yang MC, Yeh ML. Pediatric types I and VI choledochal cysts complicated with acute pancreatitis and spontaneous perforation: A case report and literature review. Medicine (Baltimore). 2017;96(42):e8306.

Treem WR, Hyams JS, McGowan GS, Sziklas J. Spontaneous rupture of a choledochal cyst: clues to diagnosis and etiology. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 1991;13(3):301–6.

Song HK, Kim MH, Myung SJ, Lee SK, Kim HJ, Yoo KS, et al. Choledochal cyst associated the with anomalous union of pancreaticobiliary duct (AUPBD) has a more grave clinical course than choledochal cyst alone. Korean J Intern Med. 1999;14(2):1–8.

Chayutra Intrakamhaeng. Choledochal cyst.; [Cited 8 December 2022] Available from: http://www.pedsurgery.md.chula.ac.th/Choledochal cyst.

Harper L, Lavrand F, Pietrera P, Loot M, Vergnes P. Spontaneous rupture of a choledochal cyst in a 11-month-old girl. Arch Pediatr. 2006;13(2):156–8.

Han SJ, Hwang EH, Chung KS, Kim MJ, Kim H. Acquired choledochal cyst from anomalous pancreatobiliary duct union. J Pediatr Surg. 1997;32(12):1735–8.

Gupta A, Chakaravarthi K, Kaman L. Spontaneous rupture of a choledochal cyst during post partum: A rare presentation. Gastroenterology Res. 2017 Apr;10(2):128–31.

Chongsrisawat V, Roekwibunsi S, Mahayosnond A, Kingpetch K, Poovorawan Y. Spontaneous choledochal cyst rupture in a child. Pediatr Surg Int. 2004;20(10):811–2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28