รูปแบบการนอนและปัญหาที่พบร่วมขณะนอนหลับในเด็กปฐมวัยที่มาปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

ผู้แต่ง

  • สิจา ลีลาทนาพร สถาบันสุขเด็กแห่งชาติมหาราชินี

คำสำคัญ:

รูปแบบการนอน, ปัญหาที่พบร่วมขณะนอน, เด็กปฐมวัย, ปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ระยะเวลาการนอนตามมาตรฐานที่แนะนำ (American Academy of Sleep Medicine) ระบุว่าเด็กก่อนวัยเรียนควรมีเวลานอนเฉลี่ย 10-13 ชั่วโมงต่อวัน จากการศึกษาในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย พบว่าเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม มีแนวโน้มจะมีระยะเวลานอนไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และพบปัญหาที่พบร่วมขณะหลับได้บ่อย จึงเป็นที่มาของการศึกษาในเด็กปฐมวัยที่มาด้วยปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

วัตถุประสงค์: ศึกษารูปแบบการนอนและปัญหาที่พบร่วมขณะนอนในเด็ก 2-6 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรมจำนวน 334 คนที่มารับบริการที่คลินิกพัฒนาการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 ธันวาคม 2563

ผลการศึกษา:  เด็กที่มาด้วยปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมจำนวน 334 ราย เข้านอนเวลา 20.00 น., 21.00 น., 22.00 น. ร้อยละ 51.5, 32.0 และ 7.8 ตามลำดับ ตื่นนอน ช่วง 06.00 น., 05.00 น. และ 07.00 น. ร้อยละ48.5, 10.4 และ 5.2 ตามลำดับ โดยจำนวนชั่วโมงที่นอน 6-8, 8-10, และ10-12 ชั่วโมงต่อคืน ร้อยละ 33.8, 56.6 และ ร้อยละ 9 ตามลำดับ มีปัญหาร่วมขณะนอน ร้อยละ 80.2 และไม่มีปัญหาร้อยละ 19.8 ปัญหาที่พบขณะนอนมีนอนดิ้นมากหรือตกเตียงบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน นอนกรน สะดุ้งตื่น ผวา กรีดร้อง นอนหลับยากต้องใช้เงื่อนไขพิเศษ ฝันร้าย ร้อยละ 40.1, 36.8, 33.8, 25.4, 22.5, 15.6 ตามลำดับ โดยพบว่ามีปัญหา 1, 2, 3, 4  ปัญหา ร้อยละ 26.6 ,21.9, 16.2, 8.7 และ มากกว่า 4 ปัญหา ร้อยละ 26.6 ตามลำดับ มีกิจกรรมดูโทรทัศน์หรือคลิปวิดีโอก่อนนอนร้อยละ 76 เล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตร้อยละ 61.7  เล่านิทานโดยไม่ได้ใช้สมุดภาพร้อยละ 85.6 กิจกรรมดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับปัญหาที่พบร่วมขณะนอน กลุ่มที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า พบปัญหาตื่นนอนกลางดึกอย่างมีนัยสำคัญ (p value 0.041) และเด็กที่มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวล่าช้ามีปัญหาการนอนหลับยาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value 0.046)

สรุป: ผู้ป่วยเด็ก 2-6 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการมีระยะเวลาในการนอนน้อยกว่าคำแนะนำ และพบปัญหาที่ร่วมขณะนอนอย่างน้อย 1 ปัญหา โดยเด็กมีพัฒนาการภาษาช้าพบตื่นกลางดึก เด็กที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวพบนอนหลับยาก ควรมีการสอบถามและให้คำแนะนำในเรื่องสุขอนามัยที่ดีในการนอนและติดตามปัญหาการนอน ร่วมกับการดูแลปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Paruthi S, Brooks LJ, D'Ambrosio C, Hall WA, Kotagal S, Lloyd RM, et al. Recommended amount of sleep for pediatric populations: A consensus statement of the American Academy of Sleep Medicine. J Clin Sleep Med. 2016;12:785–6.

Owens JA. Sleep medicine. In: Kriegman RM, Staton BF, St Gemi III JE, Schor NF, editor. Nelson textbook of pediatrics. 20th ed. 2016; p.117–23, 172–84.

Mindell JA, Li AM, Sadeh A, Kwon R, Goh DYT. Bedtime routines for young children: A dose-dependent association with sleep outcomes. SLEEP. 2015;38:717-22

Murthy CLS, Bharti B, Malhi P, Khadwal A. Sleep habits and sleep problems in healthy preschoolers. Indian J Pediatr. 2015;82:606–11

ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย. การนอนและปัญหาการนอน (sleep and sleep problem).ใน:สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์, พัฎ โรน์มหามงคล, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพ. บริษัท พี เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2561. หน้า 529–43.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลสุขภาพเด็กในGuideline in Child Health Supervision พ.ศ.2564. หน้า 21-31. http://www.thaipediatrics.org/?p=386.

Galland BC, Taylor BJ, Elder DE, Herbison P. Normal sleep patterns in infants and children: A systematic review of observational studies. Sleep Med Rev. 2012;16:213-22.

Bathory E, Tomopoulos S. Sleep regulation, physiology and development, sleep duration and patterns, and sleep hygiene in infants, toddlers, and preschool-age children. Curr Probl Pediatr Adolesc Health Care. 2017;47:29–42.

Mohammadi M, Ghalebaghi B, Bandi MFG. Sleep patterns and sleep problems among preschool and school-aged group children in a primary care setting. Iran J Ped. 2007;17:9.

Matsuoka M, Nagamitsu S, Iwasaki M. High incidence of sleep problems in children with developmental disorders: Results of a questionnaire survey in a Japanese elementary school. Brain and Development. 2014;36:35–44.

Anders TF, Iosif A-M, Schwichtenberg AJ, Tang K, Goodlin-Jones BL. Six-month sleep-wake organization and stability in preschool-age children with autism, developmental delay, and typical development. Behavioral Sleep Medicine. 2011;9:92–106.

Goodlin-Jones B, Schwichtenberg AJ. Iosif AM, Tang K, Liu J, Anders TF. Six-month persistence of sleep problems in young children with autism, developmental delay, and typical development. J AM Acad Child Adolesc Psychiatry. 2009;48:847–54.

Willoughby MT, Angold A, Egger HL. Parent-reported attention-deficit/hyperactivity disorder symptomatology and sleep problems in a preschool-age. J AM Acad Child Adolesc Psychiatry. 2008;47:1086–94.

Przybylski AK. Digital screen time and pediatric sleep: Evidence from a Preregistered Cohort Study. J Pediatrics. 2019;205:218-23.

หทัยภัทร วิทยศักดิ์พันธุ์, สุวรรรรณี พุทธิศร. ผลกระทบของการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วงก่อนนอนต่อปัญหาการนอนของผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีที่ 65 2563;4:317-30.

ณัฐปัณฑ์ เพียรธัญญกรรม, เสริมศรี สันตติ, เรณู พุกบุญมี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการนอนของเด็กวัยก่อนเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี จังหวัดนนทบุรี 2564;1:59-69.

Helm AF, Spencer RMC. Television use and its effects on sleep in early childhood. Sleep Health. 2019;5:241–7.

Hosiri T, Punyapas S, Sawangsri W. The prevalence and patterns of sleep problem in children with ADHD. J Med Assoc Thai. 2018;101;S34-40.

Chiraphadhanakul K, Jaimchariyatam N, Pruksananonda C, Chonchaiya W. Increased sleep disturbances in Thai children with attention-deficit hyperactivity disorder compared with typically developing children. Behav Sleep Med. 2015;14:677-686.

Merín L, Toledano-González A, Fernández-Aguilar L, Nieto M, Del Olmo N, Latorre JM. Evaluation of the association between excessive screen use, sleep patterns and behavioral and cognitive aspects in preschool population. A systematic review. Eur Child Adolesc Psychiatry. 2024 Apr 2. doi: 10.1007/s00787-024-02430-w.

Lee T, Kim J, Park KJ, Kim HW. Sleep difficulties and related behavioral problems in Korean preschool children. Sleep Med. 2021; 87:119-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28