ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการและระดับสติปัญญาในเด็กนักเรียนไทย

ผู้แต่ง

  • สุนิสา สถลนันท์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • กานต์ณัชชา สร้อยเพชร สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ทิพรดี คงสุวรรณ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ใจรัก ลอยสงเคราะห์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • นฤมล ธนเจริญวัชร สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

height-for-age, weight-for-height, ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง, ผู้ปกครอง, non-verbal intelligence quotient (non-verbal IQ)

บทคัดย่อ

บทนำ:  ปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิตสังคมและกายภาพ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะเตี้ย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับระดับสติปัญญาในเด็กนักเรียน

วิธีการศึกษา: วิจัยแบบตัดขวาง (cross-sectional study) ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (อายุ 6-10ปี) จำนวน 1,899 คน จากจังหวัดน่าน สุโขทัย สุรินทร์ อุดรธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ตราด จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และนนทบุรี ทั้งหมดรวม 10 จังหวัด โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เจาะเลือดตรวจค่าฮีโมโกลบิน และทดสอบสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบ Standard Progressive Matrices (SPM Parallel Version) ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2565  

ผลการศึกษา: เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 1,899 คน เป็นชาย 973 คน อายุเฉลี่ย 7.3 ปี เตี้ยร้อยละ 5.3 ผอมร้อยละ 1.4 น้ำนักเกินหรือเริ่มอ้วน ร้อยละ 8.7 อ้วนร้อยละ 7.3 ภาวะโลหิตจางร้อยละ 12.1  คะแนนสติปัญญา (IQ) เฉลี่ยเท่ากับ 101.8  และคะแนนสติปัญญา (IQ) เฉลี่ยแปรตามส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงและค่าฮีโมโกลบินไม่แปรตามกับคะแนนสติปัญญา

สรุป: คะแนนสติปัญญา (IQ) เฉลี่ยแปรตามส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่แปรตามค่าฮีโมโกลบินและน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง

Downloads

Download data is not yet available.

References

นิตยา คชภักดี. พัฒนาการเด็ก. ใน: ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ชาคริยา ธีรเนตร, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงษ์, พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์. พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บียอน เอนเทอร์ไพรซ์จำกัด; 2554. หน้า 1-25.

Chavasit V, kasemsup V, Tontisirin K. Thailand conquered under-nutrition very successfully but has not slowed obesity. Obesity Reviews. 2013;14:96-105.

Rojroongwasinkul N, Kijboonchoo K, Wimonpeerapattana W, Purttiponthanee S, Yamborisut U, Boonpraderm A, et al. Ilse Khouw. SEANUT: The nutritional status and dietary intakes of 0.5-12-year-old Thai children. British Journal of Nutrition. 2013;110:36-44.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เชื่อมั่นเด็กไทยไอคิวดี อีคิวเด่น “ การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ. 2559”. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข: 2559

World Health Organization. Methods of assessing iron status. Iron deficiency anemia assessment, prevention, and control. A guide for program managers. WHO/NHD/01.3; 2001. p.33-45.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต ของเด็กอายุ 6-19 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2 .สมุทรปราการ. บริษัท ทีเอส อินเตอร์พรินท์ จำกัด; 2564.

ปราณี ชาญณรงค์. พัฒนาการเด็กวัยเรียน.ใน: วิชัย เอกพลากร,บรรณาธิการ. รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 สุขภาพเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์: 2552. หน้า 164-178.

สุนิสา สถลนันท์, สายพิณ โชติวิเชียร, จันทร์อาภา สุขทัพภ์, วนิดา ชนันทยุทธวงศ์, นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล. สถานการณ์ภาวะโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง ระดับสติปัญญาในเด็กไทยวัยเรียน. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2559;39:62-75.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ. ภาวะโภชนาการเด็ก. ใน: วิชัย เอกพลากร.บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 สุขภาพเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1.ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์: 2552.หน้า 103-125.

Sandjaja, Poh BK, Rojroonwasinkul N, Le Nyugen BK, Budiman B, Ng LO.et al. Relationship between anthropometric indicator and cognitive performance in Southeast Asian school-age children. British Journal of Nutrition. 2013;110:57-64.

World health organization. Training Course on Child Growth Assessment WHO Child Growth Standards. Geneva. WHO, 2008.

Walker SP, Wachs TD, Garder JM, Lozoff B, Wasserman GA, Pollitt E, et al. Child development; risk factors for adverse outcome in developing countries. Lancet. 2007;369:145-57.

นิชรา เรืองดารกานนท์. ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการของเด็ก. ใน: ทิพวรรรณ หรรษคุณาชัย, รวิรรณ รุ่งไพรวัลย์, ชาคริยา ธีรเนตร, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัฆ์, บรรณาธิการ. พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ; บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2554. 26-43.

วนิดา ชนินยุทวงศ์. สถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยระดับชั้นประถมศึกษาที่ 1. พ.ศ.2557. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2557.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี. โภชนาการช่วงแรกของชีวิตกับสติปัญญา (Effect of early nutrition on cognitive function). การประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th Thailand Congress of Nutrition); 6-8 ตุลาคม 2557; กรุงเทพฯ: ช่อระกาการพิมพ์; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28