ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไข้ชักซ้ำและเป็นโรคลมชักในผู้ป่วยเด็กที่มีไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • สุรีย์พร ตั้งสกุลวัฒนา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ภาวะชักจากไข้, ภาวะชักจากไข้แบบธรรมดา , ภาวะชักจากไข้แบบซับซ้อน , โรคลมชัก , การตรวจวัด-คลื่นไฟฟ้าสมอง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะไข้ชักเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีโอกาสเกิดไข้ชักซ้ำและเกิดโรคลมชักภายหลัง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไข้ชักซ้ำและเป็นโรคลมชักหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง วิเคราะห์ข้อมูลในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้ชักครั้งแรกที่เข้านอนรับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังผ่านโปรแกรมสารสนเทศและจากเวชระเบียนผู้ป่วย

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยไข้ชักครั้งแรกที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 248 ราย เป็นเพศชาย 141 ราย (ร้อยละ 56.9) อายุน้อยกว่า 18 เดือน 164 ราย (ร้อยละ 66.1) เกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรก 79 ราย (ร้อยละ 31.9) โดยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในการเกิดไข้ชักครั้งแรก ชนิดของไข้ชักแบบ complex febrile seizure พบ 113 ราย (ร้อยละ 45.6) พบประวัติครอบครัวที่มีไข้ชัก 37 ราย (ร้อยละ 14.9) ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคลมชัก 5 ราย (ร้อยละ 2) และกลายเป็นโรคลมชัก 5 ราย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรก ได้แก่ เพศชาย ชนิดของไข้ชักแบบ complex febrile seizure  ประวัติครอบครัวที่มีไข้ชัก

สรุป:  ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไข้ชักซ้ำคือเพศชาย complex febrile seizure  และประวัติครอบครัวที่มีไข้ชัก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Steering Committee. Febrile Seizures: Clinical practice guideline for the long-term management of the child with simple febrile seizures. Pediatrics. 2008; 121:1281-6.

Shinnar S, Glauser TA. Febrile Seizures. J Child Neurol. 2002;17:44-52.

Nelson KB, Ellenberg JH. Predictors of epilepsy in children who have experienced febrile seizure. N Engl J Med. 1976;295:1029-33.

Berg AT, Shinnar S, Hauser WA, Leventhal JM. Predictors of recurrent febrile seizures: A metaanalytic review. J Pediatr. 1990;116:329-37.

Fisher R, Acevedo C, Arzimanoglou A, et al. A practical clinical definition of epilepsy. Epilepsia. 2014 ;55: 475-82.

คณิตา อิสระภักดีรัตน์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 3. 2565; 19:156-67.

Ngamjarus C. Sample size calculation for health science research. 1 st ed. Khon kaen, Thailand: KhonKaen University Printing House; 2021.

Capovilla G, Mastrangelo M, Romeo A, Vigevano F. Recommendations for the management of "febrile seizures": Ad Hoc Task Force of LICE Guidelines Commission. Epilepsia. 2009;50:2-6.

Kumar N, Midha T, Rao YK. Risk Factors of Recurrence of Febrile Seizures in children in a Tertiary care Hospital in Kanpur: A one year follow up study. Ann Indian Acad Neurol. 2019;22:31-6.

Berg AT, Shinnar S, Hauser WA, Alemany M, Shapiro ED, Salomon ME, Crain EF. A prospective study of recurrent febrile seizures. N Eng J Med. 1992;327:1122-7.

สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13:119-228.

Tosun A, Koturoglu G, Serdaroglu G, Polat M, Kurugol Z, Gokben S, et al. Ratios of nine risk factors in children with recurrent febrile seizures. Pediatr Neurol. 2010;43:177-82.

Canpolat M, Per H, Gumus H, Elmali F, Kumandas S. Investigating the prevalence of febrile convulsion in Kayseri, Turkey: An assessment of the risk factors for recurrence of febrile convulsion and for development of epilepsy. Seizure. 2018;55:36-47.

Renda R, Yüksel D, Gürer YK. Evaluation of patients with febrile seizure: Risk factors, recurrence, treatment and prognosis. Pediatr Emerg Care. 2020;36:173-7.

Maksikharin A, Prommalikit O. Recurrent rates and risk factors of febrile seizures in the subsequent illness following the first febrile seizures in Thai children. J Med Assoc Thai. 2019;102:62-6.

Indriani A, Risan N, Nurhayati T. Five years study of recurrent febrile seizure risk factors. AMJ. 2017;4:282-5.

Alinaghi K, Reza S, Ramazan F. The first febrile seizure; predisposing factors and recurrence rate. Iran J child Neurol. 2021;15:69-76.

Jeong JH, Lee JH, Kim K, Jo YH, Rhee JE, Kwak YH, et al. Rate of and risk factors for recurrence in patients with febrile seizures. Pediatr Emerg Care. 2014;30:540-5.

Civan AB, Ekici A, Havali C, Kilic N, Bostanci M. Evaluation of the risk factors for recurrence and the development of epilepsy in patients with febrile seizure. Arg Neuropsiquiatr. 2022;80:779-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28