รายงานผู้ป่วยเด็กแพ้อาหารที่ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดแบบรับประทานผ่านระบบการแพทย์ทางไกล
คำสำคัญ:
ภาวะแพ้อาหาร, ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบรับประทาน, ระบบการแพทย์ทางไกล, โรคโควิด19บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภาวะแพ้อาหารเป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่ออาหารที่รับประทาน รักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดแบบรับประทาน (oral Immunotherapy) ในคนที่ไม่หายจากอาการแพ้เมื่อถึงช่วงอายุที่ควรจะหาย โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่แพ้ เข้าไปทีละน้อยเท่าที่ผู้ป่วยทนได้ และไม่เกิดอาการ ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะต้องมาเพิ่มปริมาณอาหารที่โรงพยาบาลทุกครั้ง เนื่องจากต้องสังเกตอาการแพ้และวัดสัญญาณชีพอย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร แต่จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกเลื่อนนัดหมายออกไป ดังนั้นทางโรงพยาบาลรามาธิบดีจึงมีแนวคิดที่จะนำระบบการแพทย์ทางไกล (telemedicine) มาประยุกต์ใช้กับการรักษาผู้ป่วยแพ้อาหาร
วัตถุประสงค์: รายงานผู้ป่วย 2 ราย ที่ได้รักษาภาวะแพ้อาหาร ด้วยวิธีการรับประทานอาหารที่แพ้ โดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล
รายงานผู้ป่วย: ผู้ป่วยเด็กหญิงไทย อายุ 5 ปี วินิจฉัยแพ้อาหารชนิดรุนแรงจากแป้งสาลี (wheat anaphylaxis) และ ผู้ป่วยเด็กชายไทย อายุ 5 ปี วินิจฉัยแพ้โปรตีนนมวัว (cow milk protein allergy) ได้รับการรักษาภาวะแพ้อาหารด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดแบบรับประทาน จากนั้นเกิดการระบาดของโรคโควิด19 จึงไม่สามารถนัดผู้ป่วยมาเพิ่มปริมาณอาหารที่โรงพยาบาลได้ จึงได้มีการนำระบบการแพทย์ทางไกล มาประยุกต์ใช้กับการรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเพิ่มปริมาณอาหาร (up dosing) ไปจนถึง maintenance dose ได้
สรุปผล: การนำระบบการแพทย์ทางไกล (telemedicine) มาประยุกต์ใช้กับการรักษาผู้ป่วยแพ้อาหาร ช่วยให้การรักษาสามารถดำเนินต่อไปได้ อีกทั้งระบบการแพทย์ทางไกลยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยในเรื่องของการเดินทาง ประหยัดเวลาในการรอตรวจ ลดโอกาสที่ผู้ป่วยต้องออกจากบ้าน และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยได้อีกด้วย
Downloads
References
Osborne NJ, Koplin JJ, Martin PE, Gurrin LC, Lowe AJ, Matheson MC, et al. Prevalence of challenge-proven IgE-mediated food allergy using population-based sampling and predetermined challenge criteria in infants. J Allergy Clin Immunol 2011;127:668-76.
Liu AH, Jaramillo R, Sicherer SH, Wood RA, Bock SA, A Burks AW, et al. National prevalence and risk factors for food allergy and relationship to asthma: results from the National Health and Nutrition Examination Survey 2005-2006. J Allergy Clin Immunol. 2010; 126:798-806.
Sripramong C, Visitsunthorn K, Srisuwatchari W, Pacharn P, Jirapongsananuruk O, Visitsunthorn N. Food sensitization and food allergy in allergic Thai patients from a tertiary care center in Thailand. Asian Pac J Allergy Immunol. 2022;40:147-54.
Peters RL, Koplin JJ, Gurrin LC, Dharmage SC, Wake M, Ponsonby AL, et al. The prevalence of food allergy and other allergic diseases in early childhood in a population-based study: HealthNuts age 4-year follow-up. J Allergy Clin Immunol. 2017;140: 145-53.
Sampson HA, Aceves S, Bock SA, James J, Jones S, Lang D, et al. Food allergy: a practice parameter update-2014. J Allergy Clin Immunol. 2014;134:1016–25.e43.
Nowak-Wegrzyn A, Assa’ad AH, Bahna SL, Bock SA, Sicherer SH, Teuber SS. Work Group report: Oral food challenge testing. J Allergy Clin Immunol 2009;123:365-83.
Bird JA, Leonard S, Groetch M, Assa'ad A, Cianferoni A, Clark A, et al. Conducting an Oral food challenge: an update to the 2009 adverse reactions to Foods Committee work group report. J Allergy Clin Immunol Pract. 2020;8:75e90.e17.
Takahashi M, Taniuchi S, Soejima K, Hatano Y, Yamanouchi S, Kaneko K. Two-weeks-sustained unresponsiveness by oral immunotherapy using microwave heated cow’s milk for children with cow’s milk allergy. Allergy Asthma Clin Immunol. 2016;12:44.
del Río PR, Díaz-Perales A, Sanchez-García S, Escudero C, do Santos P, Catarino M, et al. Oral immunotherapy in children with IgE-mediated wheat allergy: Outcome and molecular changes. J Investig Allergol Clin Immunol. 2014; 24:240-8.
Shaker MS, Oppenheimer J, Grayson M, Stukus D, Hartog N, Hsieh EWY, et al. COVID-19: pandemic contingency planning for the allergy and immunology clinic. J Allergy Clin Immunol Prac. 2020;8:1477–88.e5.
Portnoy J, Waller M, Elliott T. Telemedicine in the Era of COVID-19. J Allergy Clin Immunol Prac. 2020;8:1489–91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.