โรคติดเชื้อรา basidiobolomycosis ในอวัยวะภายในช่องท้องชนิดรุกรานในผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 9 ปี: รายงานผู้ป่วยและการทบทวนวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • สุธีรา ตะไลชั่ง กลุ่มงานกุมารเวชกรรม, โรงพยาบาลขอนแก่น
  • อุษณีย์ ศรีร่มโพธิ์ทอง โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ตระการ แซ่ลิ้ม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ปิยภารมย์ อินทรวิเชียร ภาควิชาพยาธิวิทยา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

invasive Basidiobolomycosis, Basidiobolomycosis, Pediatric

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคติดเชื้อรา basidiobolomycosis เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก สามารถเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ มักจะมีอาการแสดงทางการติดเชื้อที่ระบบผิวหนัง อาการแสดงที่พบได้น้อยมาก คือ การติดเชื้อในอวัยวะภายในช่องท้องชนิดรุกราน

วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานผู้ป่วย 1 ราย ที่มาด้วยก้อนที่บริเวณก้นข้างขวา จากนั้นตรวจพบการติดเชื้อราในอวัยวะภายในช่องท้องชนิดรุกราน

รายงานผู้ป่วย: ผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 9 ปี มาด้วยไข้และก้อนที่ก้นข้างขวา ต่อมาคลำพบก้อนที่ท้องด้านขวา  ร่วมกับปัสสาวะไม่ออก จากนั้นตรวจเพิ่มเติมพบก้อนที่อุ้งเชิงกรานขวา และก้อนกดเบียดท่อไตทำให้ไตบวมทั้งสองข้าง มีค่าการทำงานของไต (creatinine) เพิ่มสูงขึ้นร่วมกับปัสสาวะไม่ออก หลังจากได้รับการตรวจทางรังสีวิทยาเพิ่มเติม และส่งตรวจชิ้นเนื้อได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ basidiobolomycosis และได้รับการรักษาด้วย potaasium iodide และ co-trimoxazole เป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน ร่วมกับใส่สายสวนระบายปัสสาวะทางผิวหนังออกจากกรวยไตในระยะแรก หลังจากติดตามการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าก้อนยุบลงและไม่พบการกลับเป็นซ้ำของโรค ค่า creatinine กลับมาปกติ และสามารถปัสสาวะออกได้เอง

สรุป: ผู้ป่วยติดเชื้อรากลุ่ม basidiobolomycosis ในอวัยวะภายในช่องท้องชนิดรุกราน ซึ่งมีอาการแสดงที่มาด้วยก้อนในช่องท้องและกดเบียดอวัยวะข้างเคียงซึ่งเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย การวินิจฉัยในระยะแรกเป็นไปได้ยากเนื่องจากอาการแสดงที่ไม่จำเพาะ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ribes JA, Vanover-Sams CL, Baker DJ. Zygomycetes in human disease. Clin Microbiol Rev. 2000;13:236–301

Singh R, Xess I, Ramavat AS, Arora R. Basidiobolomycosis: A rare case report. Indian J Med Microbiol. 2008;26:265–7.

Zabolinejad N, Naseri A, Davoudi Y, Joudi M, Aelami MH. Colonic basidiobolomycosis in a child: A report of a culture-proven case. Int J Infect Dis IJID Off Publ Int Soc Infect Dis. 2014;22:41–3

Geramizadeh B, Heidari M, Shekarkhar G. Gastrointestinal basidiobolomycosis, a rare and under-diagnosed fungal infection in immunocompetent hosts: A review article. Iran J Med Sci. 2015;40:90–7.

Al-Shanafey S, AlRobean F, Bin Hussain I. Surgical management of gastrointestinal basidiobolomycosis in pediatric patients. J Pediatr Surg. 2012;47:949–51

Mishra P, Kshirsagar PR, Nilegaonkar SS, Singh SK. Statistical optimization of medium components for production of extracellular chitinase by Basidiobolus ranarum: A novel biocontrol agent against plant pathogenic fungi. J Basic Microbiol. 2012;52:539–48.

Wasim Yusuf N, Assaf HM, Rotowa NA. Invasive gastrointestinal Basidiobolus ranarum infection in an immunocompetent child. Pediatr Infect Dis J. 2003;22:281–2.

Jarie AA, Al-Mohsen I, Jumaah SA, Hazmi MA, Zamil FA, Zahrani MA, et al. Pediatric gastrointestinal basidiobolomycosis. Pediatr Infect Dis J. 2003;22:1007.

Hung TY, Taylor B, Lim A, Baird R, Francis JR, Lynar S. Skin and soft tissue infection caused by Basidiobolus spp. in Australia. ID Cases. 2020;20:e00731.

Anand M, Deshmukh SD, Pande DP, Naik S, Ghadage DP. Subcutaneous zygomycosis due to Basidiobolus ranarum: A case report from Maharastra, India. J Trop Med. 2010:950390.

Albaradi BA, Babiker AMI, Al-QahtaniHS. Successful treatment of gastrointestinal basidiobolomycosis with voriconazole without surgical intervention. J Trop Pediatr. 2014;60:476–9.

AL juaid A, Al-Rezqi A, Almansouri W, Maghrabi H, Satti M. Pediatric gastrointestinal basidiobolomycosis: Case report and review of literature. Saudi J Med Med Sci. 2017;5:167–71.

El-Shabrawi MH, Kamal NM, Kaerger K, Voigt K. Diagnosis of gastrointestinal basidiobolomycosis: A mini-review. Mycoses. 2014;57:138–43.

Brun LVC, Roux JJ, Sopoh GE, Aguiar J, Eddyani M, Meyers WM, et al. Subcutaneous granulomatous inflammation due to basidiobolomycosis: Case reports of 3 patients in Buruli Ulcer Endemic Areas in Benin. Case Rep Pathol. 2018:1351694.

Saka B, Gnassingbe W, Mahamadou G, Akakpo S, Teclessou J, Abilogun-Chokki A, et al. Basidiobolomycosis simulating a Mycobacterium ulcerans infection in a Togolese rural child. Case Rep Dermatol Med. 2017:6905783.

Al Jarie A, Al Azraki T, Al Mohsen I, Al Jumaah S, Almutawa A, Mohd Fahim Y, et al. Basidiobolomycosis: Case series. J Mycol Médicale. 2011;21:37–45.

Vikram HR, Smilack JD, Leighton JA, Crowell MD, De Petris G. Emergence of gastrointestinal basidiobolomycosis in the United States, with a review of worldwide cases. Clin Infect Dis. 2012;54:1685-91.

Geramizadeh B, Heidari M, shekarkhar G. Gastrointestinal basidiobolomycosis, a rare and under-diagnosed fungal infection in immunocompetent hosts: A review article. Iran J Med Sci. 2015;40:90–7.

Arora P, Sardana K, Bansal S, Garg VK, Rao S. Entomophthoromycosis (basidiobolomycosis) presenting with "saxophone" penis and responding to potassium iodide. Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2015;81:616-18.

วีรวรรณ สุจิตรา. โรคติดเชื้อ basidiobolus ชนิดแพร่กระจาย. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2540 (ตุลาคม-ธันวาคม 2540): 292-296.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28