อัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูง ก่อนและหลังการใช้ KNH one-page care plan for PPHN ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • มุทิตา มีแสง กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด, อัตราการเสียชีวิต, ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านบุคคลากรการแพทย์ ยา ก๊าซ iNO และเครื่องมือในการรักษา โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชมีการจัดทำแนวทางการดูแลรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมขึ้น พบว่าอัตราการเสียชีวิตลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังคงพบการเสียชีวิตจากภาวะนี้อยู่ทุกปี ดังนั้นการรักษาภาวะนี้ถือว่ามีความท้าทายและมีโอกาสในการพัฒนาอยู่อีกมากในโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการดูแลรักษา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2564 จึงได้คิดค้นแนวทาง KNH (King Narai hospital) one-page care plan for PPHN  เป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้ เนื้อหากระชับอยู่ในหน้าเดียว ทำให้ทารกทุกรายได้รับการดูแลในแนวทางเดียวกัน พยาบาลมีจุดที่ต้องรายงานแพทย์ตรงกัน แพทย์มีจุดที่ต้องมาทำการดูแลรักษาตามขั้นตอนเดียวกัน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะ PPHN ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หลังใช้เครื่องมือ KNH one-page care plan for PPHN

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrospective studyในทารกแรกเกิดอายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะความดันเลือดปอดสูง ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2567 การประเมินผลสำเร็จของแนวทางการรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด โดยศึกษาถึงอัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของทารก ร่วมกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต และค่า OSI ที่เหมาะสมในการเริ่มให้ยาขยายหลอดเลือดปอดในโรงพยาบาลที่ไม่มีก๊าซ iNO

ผลการศึกษา: ทารกจำนวน 59 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทารกที่เกิดก่อนมีการใช้เครื่องมือ PPHN care plan 40 ราย และกลุ่มที่เกิดหลัง 19 ราย ข้อมูลพื้นฐานของทารกทั้งสองกลุ่ม และสาเหตุของภาวะความดันเลือดปอดสูงไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม โดยมีอัตราการเสียชีวิตของกลุ่มแรกร้อยละ 27.5 และกลุ่มหลังร้อยละ 0 (p value 0.011) ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มแรกนานกว่ากลุ่มหลังอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (10 วัน กับ 4 วัน, p value <0.001 และ 16.9 วัน กับ 9.7 วัน, p value <0.001) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตคือ ค่า OSI ที่สูงก่อนที่จะได้ยา pulmonary vasodilator และการได้รับยา norepinephrine ขนาดสูง ค่า OSI ที่เหมาะสมในการเริ่มให้ยาขยายหลอดเลือดปอดอยู่ที่ 8-11

สรุป: KNH one-page care plan for PPHN  ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Walsh-Sukys MC, Tyson JE, Wright LL, Bauer CR, Korones SB, Stevenson DK, et al. Persistent pulmonary hypertension of the newborn in the era before nitric oxide: Practice variation and outcomes. Pediatrics. 2000;105:14-20.

Bendapudi P, Rao GG, Greenough A. Diagnosis and management of persistent pulmonary hypertension of the newborn. Paediatr Respir Rev. 2015;16:157-61.

ขนิษฐา ผิวหอม. อัตราการเสียชีวิตและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูงในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36:181-90.

พิชญา ถนอมสิงห์. ผลการรักษาภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไปในโรงพยาบาลมาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. 2554;35:31-43.

มนัญญา อภิวัฒนพร. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29:30-7.

พรพิมล โรจนครินทร์. ผลการรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. 2564;60:294-305.

Bifano EM, Pfannenstiel A. Duration of hyperventilation and outcome in infants with persistent pulmonary hypertension. Pediatrics. 1988;81:657-61.

Rudolph AM, Yuan S. Response of the pulmonary vasculature to hypoxia and Hþ ion concentration changes. J Clin Invest. 1966;45:399-410.

Wung JT, James LS, Kilchevsky E, James E. Management of infants with severe respiratory failure and persistence of the fetal circulation, without hyperventilation. Pediatrics. 1985;76:488-94.

Davidson D, Barefield ES, Kattwinkel J, Dudell G, Damask M, Straube R, et al. The I-NO/PPHN study group. inhaled nitric oxide for the early treatment of persistent pulmonary hypertension of the term newborn: A randomized, double-masked, placebo-controlled, dose-response, multicenter study. Pediatrics. 1998;101:325-34.

Clark RH, Kueser TJ, Walker MW, Southgate WM, Huckaby JL, Perez JA, et al. Clinical inhaled nitric oxide research group. low-dose nitric oxide therapy for persistent pulmonary hypertension of the newborn. N Engl J Med. 2000;342:469-74.

Nakwan N. The practical challenges of diagnosis and treatment options in persistent pulmonary hypertension of the newborn: A developing country's perspective. Am J Perinatal. 2018;35:1366-75.

Muniraman HK, Song AY, Ramanathan R, Fletcher KL, Kibe R, Ding L, et al. Evaluation of oxygen saturation index compared with oxygenation index in neonates with hypoxemic respiratory failure. JAMA Network Open. 2019;2:e191179.

Rawat M, Chandrasekharan PK, Williams A, Gugino S, Koenigsknecht C, Swartz D, et al. Oxygen saturation index and severity of hypoxic respiratory failure. Neonatology. 2015;107:161-6.

Konduri GG, Sokol GM, Van Meurs KP, Singer J, Ambalavanan N, Lee T, et al. Impact of early surfactant and inhaled nitric oxide therapies on outcomes in term/late preterm neonates with moderate hypoxic respiratory failure. J Perinatol. 2013;33:944-9.

Nakwan N, Jain S, Kumar K, Hosono S, Hammoud M, Elsayed YY, et al. An Asian multicenter retrospective study on persistent pulmonary hypertension of the newborn: Incidence, etiology, diagnosis, treatment outcome. J Matern Fetal Neonatal Med. 2018;34:1-6.

Cheung PY, Barrington KJ. The effects of dopamine and epinephrine on hemodynamics and oxygen metabolism in hypoxic anesthetized piglets. Crit Care. 2001;5:158-66.

Nakwana N, Wannarob J, Nakwanc N. Intravenous iloprost may be an effective first-line treatment for persistent pulmonary hypertension of the newborn in limited-resource situations. Asian Biomedicine. 2013;7:873-80.

Janjindamai W, Thatrimontrichai A, Maneenil G, Chanvitan P, Dissaneevats S. Effectiveness and safety of intravenous iloprost for severe persistent pulmonary hypertension of the newborn. Indian Pediatr. 2013;50:934-8.

Baquero H, Soliz A, Neira F, Venegas ME, Sola A. Oral sildenafil in infants with persistent pulmonary hypertension of the newborn: A pilot randomized blinded study. Pediatrics. 2006;117:1077-83.

Vargas-Origel A, Gómez-Rodríguez G, Aldana-Valenzuela C, Vela-Huerta MM, Alarcón-Santos SB, Amador-Licona N. The use of sildenafil in persistent pulmonary hypertension of the newborn. Am J Perinatol. 2010;27:225-30.

Perez M, Lakshminrusimha S, Wedgwood S, Czech L, Gugino SY, Russell JA, et al. Hydrocortisone normalizes oxygenation and cGMP regulation in lambs with persistent pulmonary hypertension of the newborn. Am J Physiol Lung Cell Mol Physiol. 2011;302:595-603.

มุทิตา มีแสง. อัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูงก่อนและหลังจัดทำแนวทางการดูแลรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. 2563;12:71-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

มีแสง ม. (2025). อัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูง ก่อนและหลังการใช้ KNH one-page care plan for PPHN ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(2), 62–82. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2698