การศึกษาอาการแสดงทางคลินิกของทารกที่มารดาใช้เมทแอมเฟตามีนระหว่างกลุ่มทารกที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ
คำสำคัญ:
เมทแอมเฟตามีน , อาการถอนยาเมทแอมเฟตามีน , การสัมผัสก่อนคลอด , อาการทางคลินิกบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การใช้เมทแอมเฟตามีนในหญิงตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น การตรวจปัสสาวะของทารกพบทั้งผลบวกและลบต่อเมทแอมเฟตามีน แต่ยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่ชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างของอาการในทารกทั้งสองกลุ่ม
วัตถุประสงค์: ศึกษาอาการของทารกที่เกิดจากมารดาใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนระยะก่อนคลอด ในโรงพยาบาลหาดใหญ่
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยทบทวนเวชระเบียนทารกที่เกิดจากมารดาตรวจพบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะระยะก่อนคลอด ระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 ติดตามอาการในทารกที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ รวมถึงหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ multivariable logistics regression
ผลการศึกษา: ทารกที่เกิดจากมารดาตรวจพบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะจำนวน 319 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของทารก 277 กับ 42 คนตามลำดับ มัธยฐานของอายุมารดา 29 ปี ร้อยละ 25.4 มีการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์กรมอนามัย พบภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรงร้อยละ 16.9 ภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 7.2 มัธยฐานของน้ำหนักแรกเกิด 2,760 กรัม ในกลุ่มที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ พบภาวะน้ำหนักแรกเกิดน้อยร้อยละ 20.2 และ 38.1 ตามลำดับ ค่าคะแนน Apgar นาทีแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ร้อยละ 3.2 และ 11.9 ตามลำดับ ทารกที่ตรวจพบเมทแอมเฟตามีนมีโอกาสเกิดก่อนกำหนดน้อยกว่าทารกที่ตรวจไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ (adjusted odds ratio [aOR] 0.43; 95% confidence interval [CI], 0.21- 0.86) รวมถึงภาวะหายใจลำบาก (aOR 0.46; 95% CI 0.23–0.91) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (aOR 0.28; 95% CI 0.08–0.96) การได้รับการักษาที่หออภิบาลทารกวิกฤตหรือกึ่งวิกฤต (aOR 0.43; 95% CI 0.21–0.86) และภาวะตัวเหลือง (aOR 0.17; 95% CI 0.03–0.95) นอกจากนี้ยังมีโอกาสมากกว่าที่มีภาวะอุณหภูมิกายแรกรับสูงกว่า (aOR 1.8; 95% CI 1.04–3.11) ทารกที่ตรวจไม่พบเมทแอมเฟตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: จากการศึกษาพบว่าการตรวจพบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของทารกที่เกิดจากมารดาใช้เมทแอมเฟตามีนระยะก่อนคลอด ไม่สัมพันธ์กับอาการแสดงทางคลินิกของทารก จึงแนะนำให้สังเกตอาการทารกและส่งตรวจปัสสาวะเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและการรักษา เช่น ภาวะขาดยา อาการชัก เป็นต้น
Downloads
References
United Nations Office on Drugs and Crime. World Drug Report 2022: Special Points [Internet]. United Nations publication; 2022 [cited 2025 May 26]. Available from: https://www.unodc.org/res/wdr2022/MS/WDR22_Special_Points.pdf
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. ผลการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศปี 2564 [Internet].[กรุงเทพฯ]: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2564 [cited 2025 May 26]. Available from: https://www2.oncb.go.th/DocLib/ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ%20ปี%202564.pdf
Tavella RA, DE Abreu VOM, Muccillo-Baisch AL, DA Silva Júnior FMR. Prevalence of illicit drug use during pregnancy: A global perspective. Anais Acad Bras Cienc. 2020;92: Available from: https://doi.org/10.1590/0001-3765202020200302
Thaithumyanon P, Limpongsanuruk S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Impact of prenatal illicit drug expose on mother and infant. Chulalongkorn medical journal. 2004;48: 235-45.
ทิพย์อุษา จันทร์ทองศรี. ผลกระทบจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีนของมารดาขณะตั้งครรภ์ต่อทารกในระยะแรกเกิด โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ[Internet]. Sakon Nakhon provincial public health office open access; 2566 [cited 2025 May 26]; Available from: https://skko.moph.go.th/dward/document_file/oa/research_file_name/20230717133205_976338236.pdf
นทสรวง ชาวปรางค์. ผลกระทบต่อทารกจากมารดาที่ใช้สารแอมเฟตามีนระหว่างการตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการถอนยาในทารก. Chiang Rai Journal. 2022;14:118-30.
Kemper AR, Newman TB, Slaughter JL, Maisels MJ, Watchko JF, Downs SM, et.al. Clinical Practice Guideline Revision: Management of Hyperbilirubinemia in the Newborn Infant 35 or More Weeks of Gestation. Pediatrics. 2022 Aug;150(3):e2022058859.
Oral R, Strang T. Neonatal illicit drug screening practices in Iowa: The impact of utilization of a structured screening protocol. J Perinatol. 2006;26:660-6.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เขตสุขภาพที่ 12.อนามัยแม่และเด็ก [Internet]. [cited 2025 May 26].Available from: https://hdc.moph.go.th/ska/public/standard-subcatalog/1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5
อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2021;18:105-11.
Gorman MC, Orme KS, Nguyen NT, Kent EJ, Caughey AB. Outcomes in pregnancies complicated by methamphetamine use. Am J Obstet Gynecol. 2014;211:429.e1-7.
Oei JL, Kingsbury A, Dhawan A, Burns L, Feller JM, Clews S, et al. Amphetamines, the pregnant woman and her children: A review. J Perinatol. 2012;32:737-47.
Wright TE, Schuetter R, Tellei J, Sauvage L. Methamphetamines and pregnancy outcomes. J Addict Med. 2015;9:111-7.
Smith L, Yonekura ML, Wallace T, Berman N, Kuo J, Berkowitz C. Effects of prenatal methamphetamine exposure on fetal growth and drug withdrawal symptoms in infants born at term. J Dev Behav Pediatr. 2003;24:17-23.
Harst L, Deckert S, Haarig F, Reichert J, Dinger J, Hellmund P, et al. Prenatal methamphetamine exposure: Effects on child development –a systematic review. Dtsch Arztebl Int. 2021;118:313-9.
Chomchai C, Na Manorom N, Watanarungsan P, Yossuck P, Chomchai S. Methamphetamine abuse during pregnancy and its health impact on neonates born at Siriraj hospital, Bangkok, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2004;35:228-31.
Sankaran D, Lakshminrusimha S, Manja V. Methamphetamine: Burden, mechanism and impact on pregnancy, the fetus, and newborn J Perinatol. 2022;42:293-9.
Doi M, Nakama N, Sumi T, Usui N, Shimada S. Prenatal methamphetamine exposure causes dysfunction in glucose metabolism and low birthweight. Front Endocrinol (Lausanne). 2022;13:1023984.
ชลธิรา ชุ่มมณี. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา. Journal of Environmental Health and Community Health. 2024;9:718-24.
สายชล ขุนหล้า. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน: กรณีศึกษา. Journal of Environmental Health and Community Health. 2023;8:670-6.
Krekels EHJ, Rower JE, Constance JE, Knibbe CAJ, Sherwin CMT. Hepatic drug metabolism in pediatric patients. In: Xie W. Drug metabolism in disease. Academic press; 2017.p. 181-206.
de la Torre R, Yubero-Lahoz S, Pardo-Lozano R, Farré M. MDMA, methamphetamine, and CYP2D6 pharmacogenetics: What is clinically relevant?. Front Genet. 2012;3:235.
Cruickshank CC, Dyer KR. A review of the clinical pharmacology of methamphetamine. Addiction. 2009;104:1085-99.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.