อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน, อัตราการรอดชีพภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ, โรงพยาบาลอุดรธานีบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคมะเร็งในเด็กที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโอกาสหายขาดสูงจากการรักษามาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวสูง (hyperleukocytosis) อาจจะไม่แสดงอาการ หรือมีอาการผิดปกติเช่น ซึม ปัสสาวะออกน้อย เป็นต้น การมีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตในระยะแรก จากข้อมูลการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าโอกาสหายขาดจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีอาการเม็ดเลือดขาวสูง ในผู้ป่วยเด็กชนิด acute lymphoblastic leukemia คิดเป็นร้อยละ 64.5 จากการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าอัตราการรอดชีพในผู้ป่วยเด็กกลุ่ม acute lymphoblastic leukemia ที่มีภาวะ hyperleukocytosis เมื่อเทียบกับไม่มีภาวะ hyperleukocytosis คิดเป็นร้อยละ 37.2 ต่อ 67.8 (p value < 0.0001) ซึ่งจะเห็นว่าอัตราการรอดชีพจากงานวิจัยนี้ซึ่งเก็บข้อมูลในประเทศไทยต่ำกว่าข้อมูลที่เก็บในต่างประเทศ และโรงพยาบาลอุดรธานียังไม่เคยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมาก่อนจึงเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้
วัตถุประสงค์: อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานี
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study โดยรวบรวมข้อมูล ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ที่โรงพยาบาลอุดรธานี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2562 โดยใช้ฐานข้อมูลเวชระเบียน โรงพยาบาลอุดรธานี
ผลการศึกษา: งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็กทั้งสิ้น 22 ราย ผู้ป่วยมีอายุในขณะที่วินิจฉัยเฉลี่ย 6.3 ปี (0.3 – 14 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่เป็นชนิด B-ALL คิดเป็นร้อยละ 64 อาการและอาการแสดงที่พบมากที่สุดคืออาการตับม้ามโตโดยพบร้อยละ 95.5 รองลงมาคืออาการไข้และอาการเลือดออกผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 81.8 และ 54.5 ตามลำดับ ผลเลือดขณะวินิจฉัย พบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวเฉลี่ยคือ 210,000 cells/cu.mm. (±247,683.7) ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) 6.6 g/dL (±2.7) จำนวนเกล็ดเลือด 29,318 /cu.mm. (±17,038.8) ค่า lactate dehydrogenase 5,869 U/dL (±4,579.2) ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยในระยะเริ่มแรกของการรักษา คือ tumor lysis syndrome คิดเป็นร้อยละ 31.8 ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีพที่ 5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 68.2 โดยไม่พบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงอายุ เพศ จำนวนเม็ดเลือดขาว ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สรุป: จากผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ชนิดลิมฟอยด์มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็ก มีอัตราการรอดชีพที่ 5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 68.2 โดยไม่พบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงอายุ เพศ จำนวนเม็ดเลือดขาว ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
Downloads
References
Lanzkowsky P, Lipton JM, Fish JD. Lanzkowsky’s manual of pediatric hematology and oncology. 6th ed. London: Academic Press. 2016.
Monsereenusorn C, Techavichit P, Sathitsamitphong L, et al. Enhancing outcomes of childhood acute lymphoblastic leukemia in workplace diversity in Thailand: Multicenter study on behalf of the Thai Pediatric Oncology Group. Ann Hematol. 2024;12:5461-72.
Kittivisuit S, Jongthitinon N, Sripornsawan P, Songthawee N, Chavananon S, Limratchapong C, et al. Hyperleukocytosis in childhood acute leukemia: Early complications and survival outcomes. Cancers (Basel). 2023;15:3072.
Bunin NJ, Pui CH. Differing complication of hyperleukocytosis in children with acute lymphoblastic or acute nonlymphoblastic leukemia. J Clin Oncol. 2024;3:1590-5.
Eguiguren JM, Schell MJ, Crist WM, Kunkel K, Rivera GK. Complications and outcome in childhood acute lymphoblastic leukemia with hyperleukocytosis. Blood. 1992;79:871-5.
Abla O, Angelini P, Giuseppe G, Mohamed KF, Wendy L, Johann H, et al. Early complications of hyperleukocytosis and leukapheresis in childhood acute leukemias. J Pediatr Hematol Oncol. 2016;38:111–7.
Kong SG, Seo JH, Jun SE, Lee BK, Lim YT. Childhood acute lymphoblastic leukemia with hyperleukocytosis at presentation. Blood Res. 2014;49:29–35.
Park KM, Yang EJ, Lee JM, Hah JO, Park SK, Park ES, et al. Treatment outcome in pediatric acute lymphoblastic leukemia with hyperleukocytosis in the yeungnam region of Korea: A multicenter retrospective study. J Pediatr Hematol Oncol. 2020;42:275-80.
Haase R, Merkel N, Diwan O, Kramm CM. Leukapheresis and exchange transfusion in children with acute leukemia and hyperleukocytosis. A single center experience. Klin Padiatr. 2009;221:374-8.
Irken G, Ören H, Öniz, H, Çetingül N, Vergin C, Atabay B, et al. Hyperleukocytosis in childhood acute lymphoblastic leukemia: Complications and treatment outcome. Turk J Haematol. 2006;23:142-6.
Kulkarni KP, Marwaha RK, Trehan A, Bansal D. Survival outcome in childhood ALL: Experience from a tertiary care centre in North India. Pediatr Blood Cancer. 2009;53:168-73.
Magrath I, Shanta V, Advani S, Adde M, Arya LS, Banavali S, et al. Treatment of acute lymphoblastic leukaemia in countries with limited resources; lessons from use of a single protocol in India over a twenty year period. Eur J Cancer. 2005;41:1570-83.
Creutzig U, Ritter J, Riehm H, Langermann HJ, Henze G, Kabisch H, et al. Improved treatment results in childhood acute myelogenous leukemia: A report of the German cooperative study AML-BFM-78. Blood. 1985;65:298-304.
Sung L, Aplenc R, Alonzo TA, Gerbing RB, Gamis AS. Predictors and short-term outcomes of hyperleukocytosis in children with acute myeloid leukemia: A report from the Children’s Oncology Group. Haematologica. 2012;97:1770-3.
Inaba H, Fan Y, Pounds S, Geiger TL, Rubnitz JE, Ribeiro RC, et al. Clinical and biologic features and treatment outcome of children with newly diagnosed acute myeloid leukemia and hyperleukocytosis. Cancer. 2008;113:522-9.
Creutzig U, Zimmermann M, Reinhardt D, Dworzak M, Stary J, Lehrnbecher T. Early deaths and treatment-related mortality in children undergoing therapy for acute myeloid leukemia: Analysis of the multicenter clinical trials AML-BFM93 and AML-BFM 98. J Clin Oncol. 2004;22:4384-93.
Xu LH, Wang JW, Wang Y, Yang FY. Hyperleukocytosis predicts inferior clinical outcome in pediatric acute myeloid leukemia. Hematology. 2020;25:507-14.
Lowe EJ, Pui CH, Hancock ML, Geiger TL, Khan RB, Sandlund JT. Early complications in children with acute lymphoblastic leukemia presenting with hyperleukocytosis. Pediatr Blood Cancer. 2005;45:10-5.
Göçer M, Kurtoglu E. Effect of prophylactic leukapheresis on early mortality and overall survival in acute leukemia patients with hyperleukocytosis. Ther Apher Dial. 2021;25:697-703.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.