ปัจจัยเสี่ยงและผลการรักษาระยะสั้น โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลหาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • ทิพาพร ทองมาก กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ณัจวาย์ ยุทธสมภพ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองในเด็ก , ผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในเด็ก

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคหลอดเลือดสมองในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กตามมา สามารถแบ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองในเด็กได้เป็นสองกลุ่มดังนี้ หลอดเลือดแดงตีบ และหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งแต่ละกลุ่มโรคมีปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในเด็กในโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยใช้ Modified Rankin Scale (MRS) ประเมินเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลและติดตามอาการที่ 3 เดือน

วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุมากกว่า 28 วันถึง 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 ที่เข้ารับการรักษาและติดตามอาการที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน อาการและอาการแสดง ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษาเมื่อจำหน่ายจากโรงพยาบาลและ 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด 50 คน เป็นเพศชายร้อยละ 56 พบกลุ่มหลอดเลือดแดงตีบร้อยละ 60 กลุ่มหลอดเลือดแตก ร้อยละ 32 และกลุ่มโพรงเส้นเลือดดำในสมองอุดตัน ร้อยละ 8  โดยอาการนำของผู้ป่วยหลอดเลือดแดงตีบพบบ่อยคือ อาการอ่อนแรง ขณะที่หลอดเลือดแตกคือระดับความรู้สึกตัวลดลงและอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงพบว่ากลุ่มหลอดเลือดแดงตีบ พบโรคหัวใจ การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองและไม่ทราบสาเหตุ เป็นปัจจัยที่พบบ่อย ส่วนภาวะเกล็ดเลือดต่ำและการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในกลุ่มหลอดเลือดแตก และการติดเชื้อเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบในกลุ่มโพรงเส้นเลือดดำในสมองอุดตัน นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคหลอดเลือดสมองสูงถึงร้อยละ 28 และผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีปัญหาความพิการตามมา

สรุป: หลอดเลือดแดงตีบเป็นกลุ่มที่พบบ่อยในโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยเด็ก และพบว่าปัจจัยเสี่ยงของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบอัตราการเสียชีวิตที่สูงและความพิการตามมาของผู้ป่วยเด็กโรคหลอดเลือดสมอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

Tsze DS, Valente JH. Pediatric stroke: A review. Emerg Med Int. 2011;2011:734506.

Lehman LL, Khoury JC, Taylor JM, Yeramaneni S, Sucharew H, Alwell K, et al. Pediatric stroke rates over 17 years: Report from a population-based study. J Child Neurol. 2018;33:463–67.

Ferriero DM, Fullerton HJ, Bernard TJ, Billinghurst L, Daniels SR, DeBaun MR, et.al. American heart association stroke council and council on cardiovascular and stroke nursing. management of stroke in neonates and children: A scientific statement from the American heart association/American stroke association. Stroke. 2019;50:51-96.

Dlamini N, Kirkham FJ. Stroke and cerebrovascular disorders. Curr Opin Pediatr. 2009;21:751-61.

Numis AL, Fox CK. Arterial ischemic stroke in children: risk factors and etiologies. Curr Neurol Neurosci Rep. 2014;14:422.

ภิรดี สุวรรณภักดี, ชาครินทร์ ณ บางช้าง, ชาญชัย ไตรวารี. Childhood stroke classification and role of anticoagulant. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2010;63:163-72.

Visudhiphan P, Chiemchanya S, Wattanasirichaigoon D. Strokes in Thai children: Etiology and outcome. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1996;27:801-5.

Auvichayapat N, Tassniyom S, Hantragool S, Auvichayapat P. The etiology and outcome of cerebrovascular diseases in Northeastern Thai children. J Med Assoc Thai. 2007;90:2058-62.

Samerton P, Paibool W, Komviliaisak P, Wongmas P. Childhood arterial ischemic stroke in a teritiary care center, Northeastern Thailand. Thai Journal of Pediatrics. 2020;59:299-304.

Ganesan V, Hogan A, Shack N, Gordon A, Isaacs E, Kirkham FJ. Outcome after ischemic stroke in childhood. Dev Med Child Neurol. 2000;42:455-61.

Kornfeld S, Studer M, Winkelbeiner S, Regényi M, Boltshauser E, Steinlin M; Swiss neuropediatric stroke group. quality of life after paediatric ischemic stroke. Dev Med Child Neurol. 2017;59:45-51.

Gumer LB, Del Vecchio M, Aronoff S. Strokes in children: A systematic review. Pediatr Emerg Care. 2014;30:660-4.

Vyas S, Vaswani RK. A study of risk factors and clinical outcome of stroke in children. Int J Contemp Pediatr. 2019;6:1439-44.

Fatema K, Rahman M. Risk factors, clinical characteristics, and outcomes of recurrent pediatric stroke: A study from Bangladesh. J Pediatr Neurosci. 2022;17:46-53.

Pangprasertkul S, Borisoot W, Buawangpong W, Sirikul W, Wiwattanadittakul N, Katanyuwong K, et al. Comparison of arterial ischemic and hemorrhagic pediatric stroke in etiology, risk factors, clinical manifestations, and prognosis. Pediatr Emerg Care. 2022;38:1569-73.

K-L Chiang, C-Y Cheng, Epidemiology, risk factors and characteristics of pediatric stroke: A nationwide population-based study. QJM. 2018;111:445-54.

Lo W, Stephens J, Fernandez S. Pediatric stroke in the United States and the impact of risk factors. J Child Neurol. 2009;24:194-203.

Boulouis G, Blauwblomme T, François Hak J, Benichi S, Kirton A, Meyer P, et.al. Nontraumatic pediatric intracerebral hemorrhage. Stroke. 2019;50:3654-61.

Wang X-H, Zhang L-M, Chai Y-M, Wang J, Yu L-F, Zhou S-Z. Clinical characteristics and outcomes of pediatric cerebral venous sinus thrombosis: An analysis of 30 cases in China. Front Pediatr. 2019; 7:364.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

ทองมาก ท., & ยุทธสมภพ ณ. (2025). ปัจจัยเสี่ยงและผลการรักษาระยะสั้น โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(2), 83–94. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2830