ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เปรียบเทียบภาระการดูแลโดยรวม ภาระการดูแลเชิงอัตนัย และภาระการดูแลเชิงปรนัย
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มที่มีอาการหลงเหลือ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลฝาง ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ระยะเวลา 3 สัปดาห์ และแบบวัดภาระการดูแล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติ Paired samples T test
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนภาระการดูแลโดยรวม ภาระการดูแลเชิงอัตนัย และภาระการดูแลเชิงปรนัย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนภาระการดูแลโดยรวมอยู่ในระดับมาก x̄ =85.35 หลังการทดลองพบคะแนนภาระการดูแลโดยรวมในระดับน้อย x̄ =47.40 อีกทั้งก่อนการทดลองพบคะแนนภาระการดูแลเชิงอัตนัยอยู่ในระดับมาก x̄ =40.85 หลังการทดลองพบคะแนนภาระเชิงอัตนัยอยู่ในระดับน้อย x̄ =26.50 ส่วนคะแนนภาระการดูแลเชิงปรนัยก่อนการทดลองพบว่าอยู่ในระดับมาก x̄ =44.50 และหลังการทดลองคะแนนภาระการดูแลเชิงปรนัยอยู่ในระดับน้อยที่สุด x̄ =20.90 สรุปได้ว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท สามารถลดภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแล ไปศึกษาวิจัยกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มอื่นเพิ่มเติม
References
พิชามญชุ์ อินทะพุฒ. การดูแลญาติผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท: ความท้าทายสำหรับพยาบาลจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 2.เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2564.
มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ. การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท:Nursing Care for Persons with Schizophrenia.เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.
ยาใจ สิทธิมงคล, พวงเพชร เกสรสมุทร, นพพร ว่องสิริมาศ, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง. การพยาบาลจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. นครปฐม: ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
สุนทรีภรณ์ ทองไสย. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล. 2558; 42(3): 159-168.
พิเชฐ อุดมรัตน์, สรยุทธ วาสิกนานนท์. ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 2552.
มันฑนา กิตติพีรชล, ปัทมา ศิริเวช, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, วีร์ เมฆวิลัย, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ ฉบับแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, อนงค์นุช ศาโศรก, ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์, ชุรีภรณ์ เสียงลํ้า, วีร์ เมฆวิลัย, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สมภพ เรืองตระกูล. ตาราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
Montgomery R-I, Gonyea J-G, Hooyman N-P. Caregiving and the experience of subjective and objective burden. Family Relations. 1985; 34: 19-26.
Phitsanu W, Charernboon T. Depression and caregiver burden among caregivers of patients with schizophrenia at Thammasat University Hospital. J Psychiatr Assoc Thailand. 2019; 64(4): 317–336.
Gibson C-H.The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing. 1995; 21(6): 1201-1210.
สรินดา น้อยสุข, พิมพ์พิมล เรืองฤทธิ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารกองการพยาบาล. 2564; 48(2): 30-41.
โรงพยาบาลฝาง. แบบประเมินตนเองของหน่วยงาน. ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. 2566.
วันเพ็ญ เชษฐรตานนท์. ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2556; 3(2): 148-155.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) [Internet]. 2562 [Cited 2023 November 9].Availablefrom:https://so04.tcithaijo.org/index.php/svittj/article/download/181958/136948/
นพรัตน์ ไชยชำนิ, จินตนา ยูนิพันธุ์. ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ดูแลแบบองค์รวมต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว