ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลแม่สรวย
คำสำคัญ:
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การติดตามการหดรัดตัวของมดลูกที่บ้าน, โปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ในการลดอัตราคลอดก่อนกำหนดด้วย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การสังเกตอาการการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ก่อนและหลังได้รับการสอน ประชากรที่จะศึกษา ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามคัดกรองปัจจัยเสี่ยง 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และ 3) แบบสอบถามการสังเกตอาการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 0.86, 0.95 และ 0.95 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดหาค่าด้วยสูตร KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ได้ค่าเท่ากับ 0.85 และ 0.92 และความเชื่อมั่นของการสังเกตระหว่างผู้ประเมิน 4 คนเท่ากับ 0.92
ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความรู้และการสังเกตอาการเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอด ก่อนกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเท่ากับ 11.23 (S.D. = 2.08) และหลังเข้าร่วมโปรแกรมเท่ากับ 13.23 (S.D. = 1.43) คะแนนการสังเกตอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเท่ากับ 7.50 (S.D. = 2.03) และหลังเข้าโปรแกรมเท่ากับ 9.37 (S.D. = 1.10) เมื่อเปรียบเทียบความรู้และการสังเกตอาการเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด พบว่าหลังเข้าโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value < 0.001)
โปรแกรมนี้ควรได้รับการขยายผลไปใช้ในสถานบริการสาธารณสุขอื่น ๆ และพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดอย่างยั่งยืน
References
Yaari M, Treyvaud K, Psych D, Lee KI, Doyle LW, Aderson PJ. Preterm birth and maternal mental Health: Longitudinal trajectories and predictors. NLM 2019; 44: 736-747
World Health Organization. Preterm birth.(ออนไลน์). Available: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth
Ismal AQT, Boyle EM, pillay T. Clinical outcomes for babies born between 27-31 weeks of gestation: Should they be regarded ad a single cohort, Journal of Neonatal Nursing 2023; 29: 27-32
The American college of obstetricians and gynecologists. Preterm labor and birth (internet).2023 (cited 2033 July 1). Available from: https://www.acog.org/womens-health/faqs/preterm-labor-and-birth
กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก [อินเทอร์เน็ต]. 2565. เข้าถึงได้จาก: http://hdcservice.moph.go.th/hdc%20reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=ecdbfc8b4725386c34623ce99f0f4b8d [เข้าถึงเมื่อ 3 ม.ค. 2566].
Labor room unit of Maesuai Hospital. The labor room unit’s quality of care summary of budget year 2020-2022.Chiangrai: Nursing department of Maesuai Hospital; 2020-2023
กองนโยบายและแผน. นโยบายและยุทธศาสตร์การเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560
ศศิกา กาละ. การพยาบาลสตรีที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2(อินเตอร์เน็ต).2562 (เข้าถึงเมื่อ 3 ม.ค.2567);33:62-87. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/H9j84
สุพัตรา ปิ่นแก้ว, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, วิบูลย์ เรืองชัยนิยม. ผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557; 22:58-71.
พรทิพย์ เรืองฤทธิ์, สินีนาฎ หงส์ระนัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2565; 4:44-54.
ศีตรา มยูชโชติ, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. ผลของการใช้สื่อแอปพลิเคชันบนมือถือต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.วารสารแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรัมย์. 2564; 36:35-44
จริยา วรรณโชติ. การพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. ปีที่ 22. (ฉบับที่ 1) กันยายน 2553-กุมภาพันธ์ 2554
อัสมะ จารู. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การผดุงครรภ์).สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.
ศูนย์อนามัยที่ 11. แบบทดสอบความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.(ออนไลน์). Available form: https://hpc11.go.th/web60/ cluster_child60/wpcontent/uploads/2016/11/6FlowChart_Preturm2554.doc
วีรดา สุวะมาตย์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพหญิงจั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่อการรับรู้พฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด Available from:https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20231227122054.pdf
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.(2553). ระเบียบวิธีการวิจัย ทางการพยาบาลศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
Cohen.J.(1988) Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences(2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates.
อรุณ จิรวัฒน์กุล.(2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สวาง เทียกมูล. ผลของโปรแกรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ. Available from: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20240131124121.pdf
น้ำผึ้ง นันทวงศ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโรงพยาบาลชัยภูมิ.ชัยภูมิเวชสาร.2565;42(2):69-81
กัญยา ทูลธรรม, สุภาพร สุภาทวีวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราความสำเร็จในการยังยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2566(2);76-88
Orem, D.E.(1995), Nursing: concepts of practices (5th ed.). St.Louis: Moaby Year Book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว