การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2565

ผู้แต่ง

  • คงศักดิ์ ชัยชนะ โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
  • ณรงค์ฤทธิ์ คงหมั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

โรควัณโรคปอดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย อำเภอแม่ลาว ในปีงบประมาณ 2565 มีอัตราการรายงานผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ 89.74 ต่อแสนประชากร (เป้าหมายอัตราอุบัติการณ์วัณโรคในปี พ.ศ. 2565 คือ 138 ต่อประชากรแสนคน) ผู้ทำการศึกษาสนใจในการประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคของโรงพยาบาลแม่ลาว จากรายงานผู้ป่วยวัณโรคระดับชาติ (โปรแกรม NTIP online)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะเชิงปริมาณ(Quantitative study) และเชิงคุณภาพ(Qualitative study) ของระบบเฝ้าระวังรายงานผู้ป่วยวัณโรคและใช้พัฒนาระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาลแม่ลาว วิธีการศึกษาเป็นแบบภาคตัดขวาง โดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ลาว ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2565 นำข้อมูลมาวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงปริมาณ รวมทั้งสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ราย เพื่อประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบผู้ป่วยเข้านิยาม จำนวน 110 ราย รายงานเข้าโปรแกรม NTIP online จำนวน 86 ราย พบมีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 78.18 ค่าพยากรณ์บวก (positive predictive value) เท่ากับร้อยละ 100  ด้านคุณภาพข้อมูลมีความถูกต้อง เฉลี่ยร้อยละ 94.18 ความครบถ้วน เท่ากับร้อยละ 100 ความทันเวลานับจากวันที่วินิจฉัย จนถึงวันที่รายงาน/ขึ้นทะเบียน เข้าระบบรายงานโปรแกรม NTIP online ไม่เกิน 7 วัน เท่ากับร้อยละ 88.37 ส่วนความเป็นตัวแทนข้อมูลทั้งสองแหล่งมีความใกล้เคียงสามารถใช้เป็นตัวแทนได้ คุณลักษณะเชิงคุณภาพได้แก่ ความยากง่าย ความยอมรับ ความยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง จากการสัมภาษณ์พบว่าทุกระดับให้ความสำคัญและเห็นว่ารายงาน NTIP online มีประโยชน์กับหน่วยงาน ยกเว้นความยืดหยุ่นยังไม่สามารถเพิ่มหรือลดข้อมูลตามความต้องการผู้ใช้งานได้

References

เอกสารอ้างอิง

Bagcchi S. WHO’s global tuberculosis report 2022. Lancet Microbe [Internet]. 2023;4(1):e20. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/S2666-5247(22)00359-7

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย [Internet]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/statustb.html

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย 2563. กรุงเทพฯ: แคนนา กราฟฟิก; 2563.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. ใน: คํานวณ อึ้งชูศักดิ์, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์,ชุลีพร จิระพงษา, บรรณาธิการ. พื้นฐานระบาดวิทยา (Basics of Epidemiology). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แคนนา กราฟฟิก; 2562. หน้า 142-77.

โชติ ภาวศุทธิกุล, ชนิญญา พัฒนศักดิ์ภิญโญ, กาญจนา ทรัพย์สิน. การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 ปีที่ 18 2564; 3: 248-260.

ปยะณัฐ บุญประดิษฐ, อราม เกตุมณี. การประเมินระบบเฝาระวังวัณโรคปอดโรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ปงบประมาณ พ.ศ. 2556. รายงานการเฝาระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห ปที่ 46 ฉบับพิเศษ : มีนาคม 2558

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30