ผลของการประคบเย็นต่อการลดปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอดในผู้คลอดครรภ์แรก โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ความปวด, การประคบเย็น, ระยะเจ็บครรภ์คลอด, ผู้คลอดครรภ์แรกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ความเย็นต่อการลดปวดและ ลดระยะเวลาในการเจ็บครรภ์คลอดในผู้คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่อยู่ในระยะเจ็บครรภ์คลอด ณ งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2566 – มกราคม 2567 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คืออายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และระยะรอคลอด ไม่ได้รับยาเร่งคลอด และไม่ได้รับยาบรรเทาปวด จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับการประคบเย็นบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง และหลังส่วนล่าง โดยใช้ถุงประคบเย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส ประคบนาน 20 นาที พัก 40 นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เริ่มทำการทดลองเมื่อปากมดลูกเปิด 4 เซนติเมตร จนปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร ประเมินความเจ็บปวดโดยใช้แบบบันทึกความเจ็บปวดแบบ Numeric Pain Rating Scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความปวดเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีระยะเวลาในระยะเจ็บครรภ์คลอดสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการประคบเย็นบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง และหลังส่วนล่าง สามารถบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยลดระยะเวลาของผู้คลอดในระยะเจ็บครรภ์คลอดให้สั้นลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการบรรเทาความเจ็บปวดแบบไม่ใช้ยา โดยใช้ความเย็นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดปวดในระยะคลอดได้
References
แพรวพรรณ แสงทองรุ่งเจริญ และศรีสุดา งามขำ. การจัดการความปวดในระยะคลอดบนพื้นฐานทฤษฎี
เชื่อมโยงระบบประสาท.วารสารสมาคมแห่งประเทศ. 2562;25:3-9
พัชรินทร์ เงินทอง. การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2. เอกสารวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์
วิทยาลัยเชียงราย รหัสรายวิชา 59302.ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566; 3-6
อุมาสวรรค์ ชูหา,กชพร ทิพย์มาตร์,เครือหยก แย้มศรี,วรรณี สิริสุนทร,ราตรี ช่วยสุข และพิมพ์รดา ทานะผล.มูลเหตุผลของการใช้ความเย็นต่อความปวด ระยะเวลาระยะปากมดลูกเปิดเร็วของมารดาครรภ์แรก.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. 2560;1036-1041.
ธัญญารัตน์ กุลณีจิตต์เมธี. ความปวดและการจัดการความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด.เอกสารวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. 2560; 6:160-162.
วิลาวัณย์ ทรงยศ,วรพรรณ คงเนียม,เบญจวรรณ ภาคอารีย์ และจิราภรณ์ ปราบดิน.ผลของเข็มขัดประคบเย็นต่อการลดความปวดในผู้คลอดครรภ์แรกที่ได้รับยาเร่งคลอด.วารสารวิชาการการแพทย์เขต. 2560; 31:192-196.
ปาริชาติ ชูประดิษฐ์ และวีรวรรณ ภาษาประเทศ. ผลของการประคบเย็นต่อความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญ ความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของมารดาครรภ์แรก. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. 2548.
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลแม่สรวย. รายงานสถิติประจำปี 2566.งานเวชระเบียน โรงพยาบาลแม่สรวย 2566:6-7.
กาญจนา สีสัมฤทธิ์. Pain Management.วิชาการโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. [อินเทอร์เน็ต].2566.
[เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2566]; 11-13. เข้าถึงได้จาก: https://murse pmk.ac.th;stories;data_academic.
วิลาวัณย์ ทรงยศ,วรพรรณ คงเนียม,เบญจวรรณ ภาคอารีย์ และจิราภรณ์ ปราบดิน.ผลของเข็มขัดประคบเย็นต่อการลดความปวดในผู้คลอดครรภ์แรกที่ได้รับยาเร่งคลอด.วารสารวิชาการการแพทย์เขต. 2560; 31:192-196.
กติกา นวพันธุ์. การคลอดยาก. ในประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์,กุศล รัศมีเจริญ และตรีภพ เลิศบรรณุพงษ์
(บรรณาธิการ). ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพ. พี เอ ลีฟวิ่ง จำกัด. 2560 : 325-339
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว