ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วย STEMI แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ วงศ์ลังกา โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI, ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI โดยศึกษาในรูปแบบกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลาที่เป็นการศึกษาแบบแผนการวิจัยที่ให้สิ่งทดลองสลับกับงดให้สิ่งทดลองที่ต้องใช้ระยะเวลาเท่ากันทั้งสองกลุ่มในการศึกษา

          ขอบเขตของงานวิจัยศึกษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 พยาบาลวิชาชีพและเวชกิจฉุกเฉินที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย STEMI จำนวน 19 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK อายุ 45 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กับกลุ่มทดลอง โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วัดผลก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI ระยะเวลา 12 เดือน (1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566) และหลังใช้แนวปฏิบัติระยะเวลา 12 เดือน (1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ Chi-square สถิติ Paired samples t-test และใช้สถิติ independent samples t-test

            ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย STEMI หลังให้ความรู้ไม่แตกต่างกับก่อนให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -1.26, p = 0.225) และพบว่าระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t=-3.96,  p<0.001) และกลุ่มทดลองมีอัตราการรอดชีวิตมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p= 0.042) ดั้งนั้นผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วย STEMI ทำให้ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK  ได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสนอแนะควรดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบแบบไปข้างหน้าทั้งสองกลุ่ม และใช้ระยะเวลาการศึกษาที่นานขึ้น เพื่อให้ผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

คำสำคัญ: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI, ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (ST-elevation myocardial infarction:STEMI) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.

สุวดี เขียวสะอาด, ทองเปลว ชมจันทร์, สัญญา โพธิ์งาม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง. ว.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558;23:63-75.

สุรเดช ดวงทิพย์, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด. รายงานการศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉินและการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/415819_20220624103625.pdf

ฤดีกร อื้อเศรษฐศักดิ์. ปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการใช้ Streptokinase ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดพลันชนิด ST Segment Elevation Myocardial Infarction ที่วินิจฉัยและเริ่มใช้ยาที่โรงพยาบาลชุมชน. ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35:373-80.

ไคลศรี บาดาล, ศิวิไลซ์ ศรีวิเศษ. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับยา Streptokinase ขณะส่งต่อโรงพยาบาลเครือข่ายจังหวัดหนองคาย [อินเทอร์เน็ต]. หนองคาย: โรงพยาบาลหนองคาย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/255911291454407523_X5bOmAEBrXGvHoHk.pdf

สุเพียร โภคทิพย์, นวลน้อย โหตระไวศยะ, นาฎอนงค์ เสนาพรหม, แจ่มจันทร์ พวงจันทร์, หนึ่งฤทัย อินมณี, อัญชลี สุธรรมวงษ์. การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการบริหารยาละลายลิ่มเลือดชนิด Streptokinaseในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI: โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางเขตสุขภาพที่ 10. ว.วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2560;1:1-19.

World Health Organization. The silent killers that threaten Thailand’s future [internet]. Geneva: WHO; 2022 [cited 20 October2023]. Available from: https://www.who.int/thailand/

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับผู้มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2561 และหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_mp06.pdf

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566. โครงการประชุมสรุปผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2566; 19 ตุลาคม 2566; โรงพยาบาลฝาง.

พรทิพย์ อัคนิจ, ประมวลรัตน์ พจนา. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร.ว.โรงพยาบาลสกลนคร 2561;21:99-112. 12. ไพโรจน์ เครือกาญจนา, สันต์ หัตถีรัตน์, ปรีชา

ศิริทองถาวร, สมชาย กาญจนสุต, ทิพา ชาคร,

ณธิดา สุเมธโชติเมธา, และคณะ. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://training.dms.moph.go.th/rtdc/article/2 13. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

อนุศร การะเกษ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (ST-Elevated Myocardia Infraction ) โดยใช้แนวคิดการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมเป็นสักขีพยานในการช่วยฟื้น

คืนชีพ(family-Witnessed Resuscitation, FWR):กรณีศึกษาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. ว.วิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2566;2:50-63.

Lester PM. Visual communication: images with messages. 6th ed. California: Cengage Learning; 2013.

Donabedian A. The definition of quality and approaches to ITS assessment. Ann Arbor: Health Administration Press; 1980.

Krejcie R, Morgan D. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30:607-10.

นฤมล ศิลวิศาล, วาสินี วิเศษฤทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงานการอบรมเฉพาะทางความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลตติยภูมิ. ว.พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562;30:46-59.

วันเพ็ญ แสงเพ็ชรส่อง, ทัชวรรณ ผาสุก, ธนิดา ฉิมวงษ์. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระยะวิกฤต ในโรงพยาบาลระยอง. ว.กองการพยาบาล 2555;39:32–45.

พัชราพร พวงทอง, สิรินาถ มีเจริญ, อัญธาดา อุดมมงคล, ทิพย์วรรณ แก้วมณี. ประสิทธิผลของ “STEMI Consultation Template” เพื่อลดระยะเวลา Door-to-needle time ของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน. HSCR 2563; 35:1-9.

พรเพ็ญ ทุนเทพย์. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรงพยาบาลสุรินทร์. ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2554;26:247-61.

นรเทพ อัศวพัชระ. ผลลัพธ์ทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในเครือข่ายจังหวัดระนองโดยการใช้เส้นทางด่วน. ว.วิชาการแพทย์ เขต 11 2556;27:53-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-02