ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นภานุช บุญสิริมงคล โรงพยาบาลป่าแดด จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, พฤติกรรมสุขภาพ, การรับรู้ความสามารถตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Paired t-test

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56 ปี หลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. (M = 3.32, SD = 0.23) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M = 2.39, SD = 0.29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) นอกจากนี้ ระดับพฤติกรรมสุขภาพในแต่ละด้านของหลัก 3อ.2ส. หลังการทดลองก็สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

            ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. มีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จึงควรส่งเสริมให้นำโปรแกรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มประชากรอื่น เช่น ผู้สูงอายุ และเด็กที่มีภาวะอ้วน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างยั่งยืน

References

World Health Organization. Diabetes fact sheet. [Internet]. 2020 [cited 2024 June 1]. Available from https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/ diabetes.

กองโรคไม่ติดต่อ.รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ.[อินเตอร์เน็ต].นนทบุรี [ม.ป.พ.] 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย.2567] เข้าถึงได้จากwww.thaincd.com/2016/ mission/documents.detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

The International Diabetes Federation IDF. Diabetes. [Internet].2021 [cited2024 June 1]. Available from: https://idf.org/aboutdiabetes /what-is-diabetes/.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากรในปีงบประมาณ [อินเตอร์เน็ต].นนทบุรี [ม.ป.พ.] 2565 [เข้าถึงเมือ 1 มิ.ย. 2567].เข้าถึงได้จาก https://cri. hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=eeeab22e386d32e7f5f5ecefebce0001

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. 2566.

กรมควบคุมโรค.รายงานสถานการณ์โรค NCDs [อินเตอร์เน็ต].นนทบุรี [ม.ป.พ.] 2555 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2567].เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th /uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Report/Annual%20Report/2555.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการจัดการความรู้.พิมพ์ครั้งที่1.นนทบุรี: กองสุขศึกษา.2560.

Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.1997.

Cobb, S. Social support as a moderator of life stress. Psychological Medicine 1976; 38(5):300-314.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.1988.

Best, J.W. Research in Education. (3rd ed.) Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.1977

นัทชญา ตั่นหุ้ย เเละคณะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพพฤติกรรมการป้องกันระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการวิจัยการพยาบาลเเละสาธารณสุข 2566; 3(2):96-111.

ขนิษฐา สระทองพร้อม และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรม

ส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านหนองรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 3(1):38-50.

Taggart, J et al., A systematic review of interventions in primary care to improve health literacy for chronic disease behavioral risk factors. BMC Family Practice, 13, 49.2012.

ประภาศรี ภูมิถาวรและคณะ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความฉลาด ทางสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2560; 42(2):169-178.

เพชรรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่.ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2561; 8(1):45-58.

นัฏฐพร พรหมบุตร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานของ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลสระคูอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2566; 4(3):168-180.

เพชราภรณ์ คําเอี่ยมรัตน์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ตำบลทุม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(3):4-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

1.
บุญสิริมงคล น. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานตำบลป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2025 [อ้างถึง 20 พฤษภาคม 2025];2(1):36-50. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1685