ประสิทธิผลของการพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรคไม่ติดต่อระดับโรงพยาบาลกับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ ศรีอ่อนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
  • ภัทรียา นภาลัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งม่าน

คำสำคัญ:

คลินิกโรคไม่ติดต่อ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรคไม่ติดต่อกับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยประเมินจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลจำนวน 18 แห่งในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย วิธีการศึกษาโดยใช้การประเมินคุณภาพผ่านระบบ NCD Clinic Plus Online ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน 2567 ประเมินองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ทิศทางและนโยบาย (2) ระบบสารสนเทศ (3) การปรับระบบและกระบวนการบริการ (4) ระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง (5) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (6) การจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน และส่วนของผลการรักษา ได้แก่ ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์เป้าหมาย และร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์เป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ 67.41 และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 45.75 ปัจจัยด้านระบบสนับสนุนการเชื่อมโยงชุมชนมีความสัมพันธ์กับการควบคุมควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 ทั้งนี้ควรขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพโดยบูรณาการกับคณะพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ จัดกิจกรรมเรียนรู้และติดตามผล เพื่อเสริมความเข้มแข็งในการจัดการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

References

กองโรคไม่ติดต่อ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. 2566.

จุรีพร คงประเสริฐ พ.บ.. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรคไม่ติดต่อในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. พ.ค.-ม.ย. 2565;31(1).

HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย [อินเทอร์เน็ต]. 2566; [ประมาณ 1 น.]. จาก: https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์, แพทย์หญิงเนติมา คูนีย์, นางรัชนีบูลย์ อุดมชัยรัตน์, นางสาวพรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์, นางสุรีพร คนละเอียด, นายศุภลักษณ์ มิรัตนไพร, และคณะ. การทบทวนวรรณกรรม : สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. 2557.

กองโรคไม่ติดต่อ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. 2566.

วุฒิศักดิ์ รักเดช สบ, สม., ขวัญใจ จิตรภักดี พย.บ., วท.ม., กมลวรรณ คุ้มวงษ์ พย.บ., พย.ม.. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานพัฒนาคลินิก NCD Clinic Plus ในเขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ก.ย.-ต.ค. 2564;30(5).

นพพร ศรีผัด, นัฐพนธ์ เอกรักษ์รุ่งเรือง, เกษณี คำจันทร์, อำนาจ เมืองแก้ว. การประเมินคลินิก NCD คุณภาพ เขตสุขภาพที่ 1 ปี 2560-2562. 2563.

กองโรคไม่ติดต่อ, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. ถอดบทเรียนการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ของโรงพยาบาล Best Practice. 2563.

สุมนี วัชรสินธุ์ พ.บ.. การทดสอบรูปแบบการประเมิน NCD Clinic Plus เพื่อสนับสนุนการป้องกันและดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อของสถานบริการสาธารณสุขในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ก.ค.-ส.ค. 2561;27(4).

เกรียงกมล เหมือนกรุด, ศิริพักตร์ มัฆวาล, ปาจารีย์ อุดมสุข, วศินี โตสำราญ. ความสำเร็จในการแปลงนโยบายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสู่การปฏิบัติในสถานบริการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3: กรณีศึกษา NCD Clinic Plus ปี พ.ศ.2564. 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

1.
ศรีอ่อนทอง พ, นภาลัย ภ. ประสิทธิผลของการพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรคไม่ติดต่อระดับโรงพยาบาลกับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดเชียงราย. J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 6 กุมภาพันธ์ 2025];1(3):1-10. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1820