ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ธณิกานต์ ฉายอรุณ โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
  • พัชรินทร์ เยาว์ธานี โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ส่งผลให้สมรรถภาพปอดลดลง การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

เก็บรวบรวมข้อมูลที่โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกสมรรถภาพปอด แบบวัดความรุนแรงของอาการเหนื่อย และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยแบบประเมินพฤติกรรมฯ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.9 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.83

ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการเหนื่อยต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยระยะทางของการเดินทดสอบความทนต่อการออกกำลังกายภายในเวลา 6 นาที และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.014, p<0.001 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วและแรงใน 1 วินาทีสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการการจัดการตนเองช่วยพัฒนาสมรรถภาพปอด และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยได้ จึงควรมีการนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง

References

Boers E, Barrett M, Su JG, et al. Global burden of chronic obstructive pulmonary disease through 2050. JAMA Network Open. 2023 Dec 1;6(12):e2346598.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติโรคกรมการแพทย์. รายงานสถิติโรค ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวง; 2564.

หน่วยงานเวชระเบียน. รายงานสถิติผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ปี 2564 - 2566. เชียงราย: งานเวชระเบียน โรงพยาบาลเวียงแก่น; 2566.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2565.

Krompa A, Marino P. Diagnosis and management of pulmonary hypertension related to chronic respiratory disease. Breathe. 2022 Dec 1;18(4).

Csoma B, Vulpi MR, Dragonieri S, et al. Hypercapnia in COPD: causes, consequences, and therapy. J. Chronic Obstr. Pulm. Dis. 2022 Jun 2;11(11): 3180.

Neder JA, de Torres JP, O’Donnell DE. Recent advances in the physiological assessment of dyspneic patients with mild COPD. COPD: Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. 2021 Jul 1;18(3): 374-84.

Pham Thi Thanh Phuong, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรรถนะแห่งตน ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. J Nurs Sci. 2017;35 Suppl 1:47-55.

Hurst JR, Skolnik N, Hansen GJ, et al. Understanding the impact of chronic obstructive pulmonary disease exacerbations on patient health and quality of life. Eur. J. Intern. Med. 2020 Mar 1;73:1-6.

หนูกาญจน์ แฝงเมืองคุก, อิน วงษ์เคน, คณรัตน์ เคโฟเซซ์. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการบริการพยาบาลส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรายใหม่ คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลน้ำโสม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2567;9(2):98-108.

ปัทมาพร ชนะมาร. การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองของผูสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2561;19(1):61-72.

อุมาภรณ์ สอนปัญญา, พรอนันต์ โดมทอง, วรรณา ปิยะเศวตกุลม, พิเชษฐ เรืองสุขสุด, อนุชา ไทยวงษ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(2):114-126.

Creer, TL. . Self-management of chronic illness. In Handbook of self-regulation. Academic Press; 2000.

ธาดา วินทะไชย, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2561;30(2):124-135.

กมลทิพย์ ช้างทอง, รังสิยา นารินทร์, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่อความรู้และการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอดในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2566;29(2):28-44.

Li Y, Ji Z, Wang Y, Li X, Xie Y. Breathing exercises in the treatment of COPD: an overview of systematic reviews. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2022;17:3075-85.

Luley MC, Loleit T, Knopf E, Djukic M, Criée CP, Nau R. Training improves the handling of inhaler devices and reduces the severity of symptoms in geriatric patients suffering from chronic-obstructive pulmonary disease. BMC geriatrics. 2020 Dec;20:1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

1.
ฉายอรุณ ธ, เยาว์ธานี พ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 6 กุมภาพันธ์ 2025];1(3):11-23. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/2265