ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ เยาว์ธานี โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
  • นฤมล ลือชา โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , พฤติกรรมสุขภาพ , โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 242 ราย ใช้วิธีการเปิดซองสุ่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมจำนวน 121 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม จำนวน 121 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ แบบบันทึกการรับประทานอาหาร แบบบันทึกกิจกรรมทางกาย แบบบันทึกค่าความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน และโปรแกรมการให้สุขศึกษาเก็บข้อมูลก่อนและหลังการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบค่าทีแบบจับคู่ (Paired sample t-test) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมในกลุ่มเดียวกัน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent sample t-test) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับโปรแกรม

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม และสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีคะแนนเฉลี่ยระดับความดันโลหิต (Systolic) และคะแนนเฉลี่ยระดับความดันโลหิต (Diastolic) ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)  มีระดับความดันโลหิต (Systolic) ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) มีระดับความดันโลหิต (Diastolic) ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม (p=0.130) และมีการควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003)

            สรุปโปรแกรมการให้สุขศึกษานี้ ช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น และระดับความดันโลหิตลดลง สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

References

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com2/document/file/

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society). Thai Guidelines on The

Treatment of Hypertension. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. เชียงใหม่: ทริคธิงค์; 2562.

รายงานสรุปผลการดำเนินงานคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี พ.ศ. 2565. โรงพยาบาลเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย.

World Health Organization (WHO) [Internet]. A aglobal brief on hypertension Silent killer, global public health crisis; 2013. [cited 2023 July 1]. Available from http://www.who.int/cardiovascular _diseases/publications/global_brief_hypertention/en/

Nutbeam, D. Heath Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International [Internet]. 2000 [cited 2023 July 1];15(8). Available from https://academic.oup.com/heapro/article-abstract/15/3/259/551108?redirectedFrom=fulltext

ชัยณรงค์ บุรัตน์, อรชร สุดตา, สวัสดิ์ งามเถื่อน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง บ้านไร่ขี ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัด อำนาจเจริญ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://www.amno.moph.go.th/amno_new/file/1p16.pdf

สุภาพ พุทธปัญโญ, นิจฉรา ทูลธรรม, นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2559;9(4):42-59.

Wongputtakham S, Boonchuang P, Panya P. Effects of Self-management on Health Behaviors and Blood Pressure Among Hypertensive Patients. Nursing Journal. 2009; 36(3): 125-136. (in Thai)

Park YH, Chang H, Kim J, Kwak JS. Patient-tailored self‐management intervention for older adults with hypertension in a nursing home. Journal clinical nursing. 2013; 22: 710-722.

Taggart, J., Williams, A., Dennis, S., Newall, A., Shortus, T., Zwar, N., et al. A systematic review of interventions in primary care to improve health literacy for chronic disease behavioral risk factors [Internet]. 2012 [cited 2023 Oct 25]. Available from

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22656188/

อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(1):253-264.

Bosworth HB, Powers BJ, Olsen MK, McCant F, Grubber J, Smith V, et al. Home blood pressure management and improved blood pressure control: results from a randomized controlled trial. Archives of internal medicine. 2011; 171(13): 1173-1180.

ประภาศรี ภูมิถาวร, นงพิมล นิมิตอานันท์, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2560;42(2):169-178.

Prasartkaew N, Terathongkum S, Maneesriwongkul W. The Effect of a Home Visit and Telephone Follow-up Program on Health Beliefs and Blood Pressure in Persons with Uncontrolled Hypertension. Journal of Public Health. 2012; 42(3): 19-31. (in Thai)

นงลักษณ์ แก้วทอง. ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ. 2557;30(1):45-56.

Figar S, Galarza C, Petrlik E, Hornstein L, Rodríguez Loria G, Waisman G, et al. Effect of Education on Blood Pressure Control in Elderly Persons: A Randomized Controlled Trial. American Journal of Hematology. 2006; 19(7): 737-43.

นรเศรษฐ์ พูนสุวรรณ, สุมัทนา กลางคาร, โกเมนทร์ ทิวทอง.ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและการจัดการพฤติกรรมสุขภาพของตนเองต่อความเสี่ยงการเกิดความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคาจังหวัดบุรีรัมย์.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2558;18(2):70-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

1.
เยาว์ธานี พ, ลือชา น. ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2025 [อ้างถึง 20 พฤษภาคม 2025];2(1):51-64. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/2720