ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้ความรู้, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดซ้ำก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความรู้ของเรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร ก่อนและหลังใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่าน้ำตาลมากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2 ครั้งใน 6 เดือน ที่ขึ้นทะเบียนที่งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูล เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2568 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของโรคเบาหวาน มีคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ข้อเสนอแนะควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดีอย่างยั่งยืน และขยายผลไปยังผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ
References
ธนพร แก้วเนตร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2566; 3(1), 55-67.
พวงเพชร เหล่าประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของโรงพยาบาลพุนพินและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลเครือข่าย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2565; 37(1), 29-45.
พูนทรัพย์ สมกล้า สร้อยสุดา ครองปัญญา และวริดา นามเชียงใต้. (2567). ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2567; 21(1), 188-202.
วนิดา ศรีริภาพ. พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. Journal of Sciences and Pedagogy. 2564; ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2564. 57-68.
วรางคณา บุตรศรี รัตนา บุญพา และชาญณรงค์ สิงห์บรรณ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(1), 13-25.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2566. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ; 2566.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. หลักทั่วไปในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวาน; 2558. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567]. เข้าถึงได้จาก http://nutrition. anamai. moph. go.th/images/files
สุทัสสี รังวารี. ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566; 8(4), 152-161.
เสาวรัตน์ เฮงยศมาก. ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลสามโคก. โรงพยาบาลสามโคก; 2567. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://ptepho. moph. go.th /2023/Fileupload/ejournal/ptepho1106858349.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว