ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Satja Boonmakeing -

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

       ในปี 2565 ที่อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงรายพบผู้ป่วยเบาหวานใหม่จำนวน 37 คน (29.37%) และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงใหม่จำนวน 74 คน (14.65%) โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

       การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 36 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมสุขศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลหาความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Paired Sample T-Test และ Independent Sample T-Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่แตกต่างกันกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลองกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่แตกต่างกันกับก่อนการทดลอง หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะในการวิจัยสามารถนำกลวิธีของโปรแกรมสุขศึกษาไปประยุกต์ใช้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอื่น ๆ หรือประชาชนทั่วไปได้

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus.: สืบค้น 9 มิถุนายน 2566, จาก http://ncdclinicplus.ddc.moph.go.th/pages/public/files/view.php?id=1673855257

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส.:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวาน จังหวัดเชียงรายและอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566, จาก https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ (2561). โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

กฤษฎากร เจริญสุข (2564). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม 2564, หน้า 72-90.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ปี 2565. สืบค้น 9 มิถุนายน 2566, จาก http://www.hed.go.th/linkHed/450

อำนวย เนียมหมื่นไวย์ (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2, หน้า 78-92.

เอื้อจิต สุขพูล วท.ม. และคณะ (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2563, หน้า 419-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30