ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการจ่ายยาแบบหนึ่งหน่วยที่หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Apiwat na lamphun Ministry of Public Health, Mae Sai Hospital

คำสำคัญ:

ระบบการจ่ายแบบหนึ่งหน่วย หอผู้ป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการจ่ายยาแบบหนึ่งหน่วยโดยมีรูปแบบของการวิจัยเชิงบรรยายซึ่งจะเก็บข้อมูลไปข้างหน้าในผู้ป่วยทุกรายที่ได้เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2565 – 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 รวมระยะเวลา 1 ปี โดยใช้แบบฟอร์มที่สร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต และได้รับการจ่ายยาแบบระบบหนึ่งหน่วยมีจำนวน 394 ราย แบ่งเป็นเพศชายและหญิงร้อยละ 51.27 และ 48.73 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี พบสูงถึงร้อยละ 40.86 โดยร้อยละ 30.46 มีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค ซึ่งส่วนใหญ่นอนรักษาตัวด้วยภาวะโรคติดเชื้อร้อยละ 36.80 และมีจำนวนวันนอนเฉลี่ย 5.97 วัน การติดตามผลลัพธ์ระบบจ่ายยาแบบหนึ่งหน่วยด้านความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาพบว่าร้อยละ 98.73 เภสัชกรปฏิบัติตามแนวทางได้ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนแพทย์ปฏิบัติตามแนวทางในขั้นตอนแรกรับ ย้ายหอผู้ป่วย และจำหน่ายได้ร้อยละ 96.95, 97.21 และ 95.43 ตามลำดับ มีการประสานรายการยาเดิมทั้งหมด 1,182 ครั้ง พบความแตกต่างของรายการยาเดิมร้อยละ 28.09 โดยเกิดจากความตั้งใจในขั้นตอนแรกรับร้อยละ 41.37 ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาพบทั้งหมด 38 ครั้ง ซึ่งพบในขั้นตอนการจัดยามากที่สุดจำนวน 21 ครั้ง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาได้ 15 ปัญหา เมื่อจัดระดับคลาดเคลื่อนทางยาพบว่าอยู่ในระดับรุนแรงน้อย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยร้อยละ 60.53 ด้านค่าใช้จ่ายของฉลากและซองใส่ยามีมูลค่า 7,778.90 บาท อุบัติการณ์ยาคืนพบจำนวน 1,619 รายการ คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 77,333.34 บาท โดยที่ไม่สามารถระบุเหตุผลของยาคืนได้พบมากที่สุดจำนวน 532 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 32.86 ซึ่งถือว่าเป็นยาที่ไม่ได้บริหารยาให้กับผู้ป่วย ส่วนในด้านความคิดเห็นของบุคลากรกลุ่มงานเภสัชกรรม และหอผู้ป่วยวิกฤตพบว่า ร้อยละ 77.14 คิดว่าระบบนี้จะเพิ่มจำนวนรอบในการส่งมอบยาส่งผลทำให้เกิดภาระงานมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 71.43 คิดว่าระบบนี้เพิ่มภาระงาน หรือขั้นตอนของกลุ่มงานเภสัชกรรม แต่เป็นการลดภาระงานของกลุ่มงานการพยาบาล รวมถึงระบบนี้สามารถลดปัญหายาหมดอายุและยาเสื่อมสภาพบนหอผู้ป่วยได้ร้อยละ 68.57

References

ปรารถนา กิมพร. การพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. การพัฒนาระบบการกระจายยาในโรงพยาบาลตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2565.

มนฤดี เรืองอ่อน, มูนา มะลูลีม, พรศรี อิงเจริญสุนทร, วารุณี วัฒนเสาวลักษณ์. โครงการพัฒนาระบบการกระจายยาผู้ป่วยในแบบ Daily dose (ระยะที่ 1). สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข: กรุงเทพฯ; 2563.

ธิดา นิงสานนท์ (บรรณาธิการ) และคณะ. กรอบงานพื้นฐานระบบยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จัดพิมพ์โดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2563.

วรณัน วิทยาพิภพสกุล, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. การทบทวนตัวชี้วัดของระบบยานานาชาติ และในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2564;15(1):23-35.

ศศิธร ลีลาสิริวิลาศ. ความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาเปรียบเทียบระหว่างระบบการกระจายยาแบบหนึ่งหน่วยการใช้และแบบหนึ่งวันการใช้ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร มหาบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.

ฟารีดะห์ มูหาหมัด. การเปรียบเทียบระบบการกระจายยาแบบหนึ่งหน่วยขนาดใช้กับระบบการกระจายยาแบบดั้งเดิมในโรงพยาบาลปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร มหาบัณฑิต (เภสัชกรรมคลินิก)]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.

อัปสรลาวัณย์ ตั้งสกุล. การประเมินประสิทธิภาพระบบการประสานรายการยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลด่านช้าง. วารสารองค์การเภสัชกรรม. 2564;47(4):15-27.

น้องเล็ก คุณวราดิศัย, บุญญารักษ์ บุญทวี. ผลการพัฒนาระบบตรวจสอบความสอดคล้องรายการยาในระบบบริการผู้ป่วยใน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2555;22(1):9-21.

สายันต์ มาตบุรมย์. อุบัติการณ์การส่งคืนยาจากหอผู้ป่วย หลังการพัฒนาระบบกระจ่ายยาแบบหนึ่งหน่วยใช้ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2558.

Powell N, Franklin BD, Jacklin A, Wilcock M. Omitted doses as an unintended consequence of a hospital Restricted antibacterial system: a retrospective observational study. J Antimicrob Chemother. 2015;70(12):3379-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30