ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างปี 2566-2567

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส บัวลอย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า, ปัจจัยเสี่ยง, อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างปี 2566-2567 เป็นการศึกษาแบบ Case – control study วิเคราะห์ข้อมูลระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากวันที่ 1 มกราคม 2567 – 20 กุมภาพันธ์ 2567  ผลการศึกษา พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างที่เลี้ยงสุนัข/แมว จำนวน 60 คน ส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80 (48/60)  ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ร้อยละ 73.33 (44/60) เลี้ยงสุนัข/แมว จำนวน 1 ตัว ร้อยละ 60 (36/60)  มีการป้องกันสัตว์ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยการนำสุนัข/แมวทุกตัวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 85 (51/60) นำสุนัข/แมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี 81.67 (49/60) และข้อมูลพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เคยถูกสุนัข/แมว กัด-ข่วน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 96.67(58/60) ไปพบแพทย์เมื่อถูกสุนัข/แมว กัด-ข่วน ร้อยละ 55.00 (33/60) พฤติกรรมเสี่ยง
การถูกสุนัข/แมว กัด-ข่วน ด้วยการเข้าไปในบ้าน/ บริเวณบ้านที่สัตว์อยู่ ร้อยละ 73.33(44/60) การได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้รับความรู้ ร้อยละ 60.00(36/60)   และจากวิเคราะห์
หาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าพบว่า กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการพบสัตว์ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า 4.33 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุน้อยกว่า 45 ปี (OR= 4.33, 95%CI= 1.16-13.62) และกลุ่มที่มีความรู้ น้อยกว่า 8 คะแนน มีโอกาสเสี่ยงต่อการพบสัตว์ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า 3.28 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีคะแนนมากกว่า 8 ขึ้นไป (OR= 3.28, 95%CI= 0.95-11.75) ดังนั้นเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เห็นควรให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมพัฒนา สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าให้กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในพื้นที่ เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินการหรือถ่ายทอดข้อมูลเรื่อง โรคพิษสุนัขบ้าให้กับประชาชนในชุมชนได้ เพื่อให้มีความรู้ในการป้องกันความเสี่ยง มีมาตรฐานต่อการดูแลตนเอง เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติตนภายใต้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการสร้างและประเมินพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จันทกานต์ วลัยเสถียร และเบญจมาศ อุนรัตน์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแกนนำชุมชนในพื้นที่อ าเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 27(1), 86-95.

นภดล จันทร์เอี่ยม ณัฐณีย์ มีมนต์ และภัทรียา กิจเจริญ. (2565). ปัจจัยกำหนดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้าในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่ประจำถิ่นของโรคพิษสุนัขบ้า.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(3), 426-436.

ราตรี ยืนยั่ง และนิติพัฒน์ ขุมหิรัญ. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าซ้ำซ้อนในสุนัขพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2560 และ 2561.https://region4.dld.go.th/webnew/images/ stories/vichakarn/64/64_3_1.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. https://wesr.doe.moph.go.th/wesr_new/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย