การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การดูแล, วัณโรคบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดมหาสารคาม เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผลการปฏิบัติ ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565 ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข รวม 68 คน โดยเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า
- จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า ในแต่ละหน่วยงานขาดการประสานในการทำงานและไม่ต่อเนื่อง การคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ไม่ครอบคลุม บุคลากรขาดประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย แนวปฏิบัติการดำเนินงานไม่ชัดเจน ขาดการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรค ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ขาดแคลนงบประมาณ การติดตามดูแลผู้ป่วยไม่ต่อเนื่อง
- การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแล 2) การสร้างแนวทางและแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย 3) ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วย และผู้สัมผัสโรค 4) การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย 5) รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัณโรคอย่างต่อเนื่อง 6) การจัดห้องแยกตรวจเฉพาะโรค 7) มีการสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค 8) การติดตามประเมินผลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
- การประเมินผล พบว่า ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดมหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นมามีความชัดเจนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จากการประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพการดูแลรักษาวัณโรค (QTB ) ผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ 90 และความพึงพอใจผู้ป่วยวัณโรค ต่อการดูแลรักษา มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, SD = 0.41)
References
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, พรทิพย์ ศิริภานุมาศ.(2560) .แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564.กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์.
ไพฑูรย์ อุ่นบ้าน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) ของโรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 12(1), 23-33.
วัฒนา สว่างศรี.(2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16 (3), 116-129.
สยาม อรุณศรีมรกต,ยงยุทธ วัชรดุลย์. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต.วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7.
สุภาภรณ์ มิตรภานนท์ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3 (3),164-174.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.(2563).รายงานสถานการณ์การป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ พ.ศ. 2561-2562. มหาสารคาม : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
Kemmis S, McTaggart R, editors. (1988).The action research planner. Victoria : DeakiniUniversityiPress.
MacNeil A, Glaziou P,Sismanidis C,Maloney S,Floyd K. (2017). Global epidemiology of tuberculosis and progress toward achieving global targets. Morbidity and Mortality Weekly Report, 68(11), 263-6.
World Health Organization. (2010). Monitoring the building blocks of health systems : a handbook of Indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO Document Production Services.
World Health Organization. (2015). Global tuberculosis report 2015.Geneva, Switzerland :WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.