ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมติดตามเยี่ยมทางโมบายแอปพลิเคชันต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ศูนย์รังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา ศรีมงคล โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ศิริโสภา ภูสีน้ำ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย, อาการปวด, การดูแลแบบประคับประคอง, โมบายแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการติดตามเยี่ยมทางโมบายแอปพลิเคชัน ต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งระยะท้ายและได้รับการดูแลแบบประคับประคอง มีคะแนน Palliative Performance Scale (PPS) 40% ขึ้นไป มีอาการรบกวน คืออาการปวด และได้รับยา Opioid ตามแผนการรักษาจำนวน 44 ราย ในศูนย์รังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ทำการศึกษาตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ.2566 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2566  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการติดตามเยี่ยมทางโมบายแอปพลิเคชัน แบบบันทึกและประเมินความปวด แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อการใช้โปรแกรมการติดตามอาการปวดของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างที่เข้าโปรแกรม ได้รับคำแนะนำวิธีการสื่อสาร ผ่านVideo call และการส่งข้อความผ่าน LINE Official Account (LINE OA) นัดหมายเวลา Video call ติดตามอาการปวด 3 ครั้งหลังผู้ป่วยกลับบ้านติดต่อกัน 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ paired T-test เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังให้คำแนะนำ ในกลุ่มตัวอย่าง และสถิติ independent t-test ในการเปรียบเทียบคะแนนความปวดระหว่างกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม กำหนดให้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความปวดที่ลดลงหลังเข้าโปรแกรมอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05)  เปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม ค่าคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อการใช้โปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\ddot{x}= 4.29, SD 0.21) และ ( gif.latex?\ddot{x}= 4.23, SD 0.17)

ข้อเสนอแนะ สามารถนำโปรแกรมการติดตามเยี่ยมทางโมบายแอปพลิเคชันต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคอื่นๆ และอาการรบกวนด้านอื่นๆ

References

ทัชมาศ ไทยเล็ก,วันธณี วิรุฬห์พานิช, บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์ (2564).ผลของโมบายแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพ ช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันและการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปาก อักเสบในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(1), 37-53.

พรทิพย์ พรหมแทนสุด.(2561) ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความปวด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อมในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม. Thai Journal of Nursing, 67(4), 34-43.

พรรัตติกาล พลหาญ.(2562) ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูด โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด.วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 93-103

โรงพยาบาลขอนแก่น.(2566). รายงานทะเบียนผู้ป่วย Palliative care และสถิติผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับบริการ ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา https: //kkh.thaicarecloud.org สืบค้น 30 มกราคม 2566

ฤชุตา โมเหล็ก,ธัลยาธรณ์ ธนาภาโพธิวัฒน์,กาญดา กงชัยภูมิ,มาริษา สมบัติบูรณ์,เบญจมาศ ปรีชาคุณ. (2565). มอร์ฟีนเป็นยาเพื่อการการุณยฆาตจริงหรือ. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา https://he02.tci –thaijo.org/index.php/jcra/article/download/224953/163599/822946 สืบค้น 30 มกราคม 2566

สุวรรณา แก้วณรงค์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการติดตามเยี่ยมอาการทางโทรศัพท์ต่ออาการรบกวน ของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและความวิตกกังวลของผู้ดูแลโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี.ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.suratcancer.go.th/product_images/11-06.pdf สืบค้น 30 มกราคม 2566

Oldenmenger, W. H., Baan, M. A., & van der Rijt, C. C. (2018). Development and feasibility of a web application to monitor patients' cancer-related pain. Supportive Care.26(2), 635-642.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-04

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย