การพยาบาลผู้คลอดที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีภาวะตกเลือดหลังคลอด : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, หญิงตั้งครรภ์, เบาหวานขณะตั้งครรภ์บทคัดย่อ
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เป็นผลจากฮอร์โมนที่สร้างจากรก มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนอินซูลินซึ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานได้เร็วจะส่งผลดีต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เพื่อให้การรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งได้แก่ การรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ การดูแลเรื่องโภชนาการ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การออกกำลังกาย การป้องกันการติดเชื้อ การนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การสังเกตอาการน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง และการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ทันที ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี อีกทั้งยังลดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เบื้องต้นของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมถึงแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ ซึ่งพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทในการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพ วินิจฉัยทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ เฝ้าระวังและติดตามการพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์คลอดได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในทุกระยะของการคลอด
กรณีศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ อายุ 37 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่สอง ฝากครรภ์ที่ รพ.อุทัยธานี ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิด A2 ได้รับการรักษาโดยใช้ยาฉีดอินซูลินขณะตั้งครรภ์ มีอาการเจ็บครรภ์คลอดและมารับบริการที่ห้องคลอด รพ.อุทัยธานี หลังรับไว้ใน รพ.มีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ การคลอดก้าวหน้าดี คลอดปกติทางช่องคลอดได้ แต่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ตรวจพบสาเหตุจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีและมีการฉีกขาดของปากมดลูก หลังให้การแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดและเย็บซ่อมแซมปากมดลูกเรียบร้อยแล้ว ผู้คลอดมีอาการปลอดภัย ไม่เกิดภาวะช็อคจากการตกเลือด เสียเลือดรวม 850 ซีซี ระยะเวลานอน รพ. รวม 3 วัน
References
ชญาดา เนตรกระจ่าง. (2560). แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะเบาหวานของหญิง ตั้งครรภ์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(2), 168-177.
นวลพรรณ เอี่ยมตระกูล. (2556). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ที่มีต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ การกำกับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลิดสิน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 5(1),129-138.
ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล และนลัท สมภักดี.(2560). โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์.ในประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์,กุศล รัศมีเจริญ และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ (บรรณาธิการ), ตำราสูติศาสตร์ (หน้า 152-165). พี เอ ลีฟ วิ่ง.
พัทธนันท์ ศรีม่วง. (2555). อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนบำบัด (หน้า 151-188). กรุงเทพฯ : เอ็ม แอนด์ เอ็มเลเซอร์ พริ้นต์.
วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ และโสเพ็ญ ชูนวล. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 39-50.
วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มลิวัลย์ บุตรดำ, ทัศณีย์ หนูนารถ และเบญจวรรณ ละหุการ. (2562). ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ;บทบาทพยาบาลกับการดูแล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราช
ชนนีสุรินทร์, 9(2), 100-113.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [สบท.]. (2566). เบาหวานในหญิงมีครรภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566, 217-225.
American Diabetes Association. (2019). Standards of medical care in diabetes 2019. Diabetes Care 2019, 49(Suppl.1), s165-172.
Buchanan, T.A. & Xiang, A.H. (2005). Gestational diabetes mellitus. Journal of Clinical Investigation, 115(3), s485-491.
Cunningham, FG. (2014). Williams Obstetrics 24th edition McGraw-Hill Education. Diabetes Mellitus: Medica, 1125-1150.
Guariguata, L., Linnenkamp, U., Beagley, J., Whiting, D.R., & Cho N.H. (2014). Global estimates of the prevalence of hyperglycaemia in pregnancy. Diabetes Research and Clinical Practice, 103(2), 176-185.
International Diabetes Federation. (2017). Care & prevent gestational diabetes [internet]. [cited 2023 Jun 30]. Available from : https://www.idf.org/ouractivities/careprevention/gdm.html.
Lockwood, C.J., Moore, T., Copel, J., &Silver, R.M. (2013). Diabetes in pregnancy. in Dugoff, L. & Louis, J.(Eds.), Creasy and Resnik’s Maternal-fetal medicine: principles and practice (9th ed.). Elsevier Health Sciences.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.