การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อน: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ณิรชา ชินรัตน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบกรณีศึกษาในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อน

รูปแบบและวิธีวิจัย: เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วย 2  ราย ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อน เข้ารับการรักษาในหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2564-2565 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ เวชระเบียนผู้ป่วย และแบบประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน วิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการเขียนผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลทั่วไป  แบบแผนสุขภาพการรักษา  ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและการพยาบาล

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 เข้ารับการรักษาจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดก่อนการตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนจากน้ำท่วมปอดได้รับการดูแลโดยให้ยาลดความดันโลหิต ยาป้องกันการชัก ยาขับปัสสาวะและให้ยากระตุ้นปอดทารกสิ้นสุดการตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอด กรณีศึกษารายที่ 2 มีประวัติชักเกร็งที่บ้านได้รับการดูแลรักษาโดยให้ยากันชักเพื่อป้องกันการชักซ้ำ สิ้นสุดการตั้งครรภ์โดยการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอดและคลอดทางช่องคลอด

สรุปผลการศึกษา: ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงส่งผลคุกคามต่อชีวิตของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินอาการเตือนที่สำคัญให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีสามารถบริหารยา เฝ้าระวังและติดตามอาการ และอาการแสดงทุกช่วงระยะที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์ สามารถให้การช่วยเหลือได้รวดเร็ว รวมทั้งมีการวางแผนการจำหน่ายและการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ามารับการรักษาดูแลได้ทันเวลา ซึ่งจะสามารถลดอุบัติการณ์มารดาและทารกเสียชีวิตได้

References

กลุ่มการพยาบาล. (2565). สถิติงานห้องคลอดโรงพยาบาลมหาสารคาม (2563-2565).

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2563). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2563. กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์. (2559) การพยาบาลมารดาและทารกเล่ม 2. โครงการผลิตตำราหลักคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา : โรงพิมพ์ พีโอดีไซน์ หาดใหญ่.

นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวีเบาทรวง. (2561). การพยาบาลและการผดุงครรภ์ : สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะพยาบาลศาสตร์.

พรศิริ พันธสี. (2560). กระบวนการพยาบาล แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์อักษร.

ภัทรวรรณ หลิ่มศิริ. (2561). โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก ใน: วิทยา ถิฐาพันธ์, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราประกอบภาพ: ภาวะวิกฤติทางสูติกรรม.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

เยาวเรศสมทรัพย์. (2558). การผดุงครรภ์เล่ม 1.หาดใหญ่ เบสท์ เซลส์แอนด์ เซอร์วิส.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์. (21 สิงหาคม 2558). แนวทางการปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่องการดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ.

https://externinternguide.files.wordpress.com/2018/03/og6-preeclampsia-eclampsiaexin.pdf

Cuningham,F. G., LevenoK. J., BloomS. L., SpongC. Y., DasheJ.S.&HoffmanB.L.,(2014). Williams Obstetrics (24thed).New York: McGraw-Hill.

World Health Organization. (2020). Maternal mortality. http://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/maternal-mortality

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01