การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม, ภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
มะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับหนึ่งในหญิงไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี ยาเคมีบำบัด และรักษาด้วยยาแบบพุ่งเป้า แต่ส่วนมากจะใช้หลายวิธีร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลดีกับผู้ป่วยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพยาธิสภาพและปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดและมีความดันโลหิตสูง 2) เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติการพยาบาล 3) เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิธีการศึกษานำแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง ของโอเร็มมาใช้ โดยเลือกศึกษาจากผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จำนวน 2 รายใน เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ค้นคว้าเอกสาร ตำรา และแฟ้มประวัติผู้ป่วย วิเคราะห์ปัญหา วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินผล สรุปผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 รายมีประเด็นปัญหาที่เหมือนและแตกต่าง คุณลักษณะทั่วไป และปัญหาทางการพยาบาลก่อนผ่าตัดประเด็นที่แตกต่างกันคือ ระยะผ่าตัด และหลังผ่าตัด รายที่ 1 ใช้ ระยะเวลาในการผ่าตัดนาน ปริมาณเลือดที่สูญเสียมากกว่า และพบภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะปอดข้างขวาแฟบระยะหลังผ่าตัด และมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ข้อเสนอแนะในการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังการผ่าตัดมีความสำคัญ ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างสามารถป้องกันได้ พยาบาลควรปรับใช้แผนการพยาบาลให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะรายและพัฒนาสื่อการสอน ให้ง่ายน่าสนใจ
References
กองบรรณาธิการ. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง.คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพฯ.
จิตนา กิ่งแก้ว. (2560). มะเร็งเต้านมกับการพยาบาลกับการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม. วารสารโรคมะเร็ง, 37(4): 163-170.
จิราภรณ์ มากดำ, สุรีพร ธนศิลป์ และนพมาศ พัดทอง. (2560). ผลของโปรแกรมบริหารข้อไหล่ร่วมกับบริหาร
กายจิตซี่กงต่อความสามรถในการเคลื่อนไหวข้อไหล่ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัด.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 27(1): 38-50.
ชาญวิทย์ ตันพิพัฒน์, ธนิต วัชรพุกก์. (2561). ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
โรงพยาบาลพล.(2565). สถิติผู้ป่วย. ปี2565. งานสารสนเทศ โรงพยาบาล (เอกสารอัดสำเนา)
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2563). ทะเบียนมะเร็งระดับประชากร. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ (อินเตอร์เน็ต). 2563. (เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2566). เข้าถึงได้จากhttp//tcb.nci.go.th/CWEEB/cwebBase.do? mode=initalApplication .
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2564). รายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล. (Hospital- based Cancer Registy).กรุงเทพฯ:กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
Jemal et. al. (2019). Global breast cancer statistics. Statistics of the breast, 2 (46): 732.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.