การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมยวดี
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมยวดี ดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ 1) เตรียมการพัฒนา 2) ดำเนินการพัฒนา 3) ประเมินผล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2566 เลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง คือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกตีบหรืออุดตัน ตามคุณสมบัติ ที่กำหนดจำนวน 48 คน เครื่องมือในการวิจัย แบบบันทึกเวชระเบียน การสนทนากลุ่ม แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ ประกอบด้วย ประกอบด้วย (1) การประเมินปัญหาและความต้องการฟื้นฟูของผู้ป่วยและครอบครัว (2) การประเมินโดยใช้ Barthel ADL Index (Barthel Activity of Daily Living Index แรกรับ และจำหน่าย (3) การประเมิน Modified Rankin scale แรกรับ และจำหน่าย (4) การประเมินการกลืน (5) การประเมินภาวะแทรกซ้อน (6) การประเมินการรู้คิดอารมณ์และจิตใจ 2) ผู้ป่วยมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันดีขึ้น และระดับความพิการลดลง และมีการส่งข้อมูลผู้ป่วยเพื่อให้เยี่ยมบ้านได้อย่างมีระบบ
References
กมลพรรณ พ้องพงษ์ศรี.(2556). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน. วารสารกรมการแพทย์, 38(1),53- 58.
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี2559- 2561. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www thaincd.com/2016/mission/document sdetail.php?id=13684&tid=32&gid=1 -020.
กัลยา ปวงจันทร์ และศิริกาญจน์ จินาวิน .(2563). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลแพร่ .วารสารโรงพยาบาลแพร่, 28 (2), 1-17.
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สงขลานครินทร์เวชสาร , 23(2), 231-237.
นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2544) .โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke) . กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
นิภาพร บุตรสิงห์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน.วารสารสภาการพยาบาล,34(3),15-29.
ปัญจนา พรายอินทร์ และคณะ. (2565).การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพ.วารสารสภาการพยาบาล, 37(4), 72-94.
โรงพยาบาลเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด.(2564).รายงานผลดำเนินงานประจำปี 2564. โรงพยาบาลเมยวดี,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.
อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาล และการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก,15(3), 137-143.
Kemmis, S & McTaggart, R.(1988). The Action Research Planer. 3rd edition. Victoria : Deakin University.
World Stroke Organization [WSO]. About World Stroke Day [Online]. 2019 [cited 07 May 2020]; Available from: https://ncdalliance.org/news-events/ news/world strokeday 2019
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.