การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง แบบมีส่วนร่วม ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยระยะกลาง, แบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง ตำบลโคกพระ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางแบบมีส่วนร่วม ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลาวิจัย 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ป่วยระยะกลาง 8 คน 2) สหวิชาชีพสาธารณสุข 26 คน ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร นักวิชาการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด
ผลการศึกษา: การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำฐานข้อมูลและแอพพลิเคชั่นในการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่การกำหนดบทบาทหน้าที่การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางของทีมสหวิชาชีพที่ชัดเจน อบรมให้ความรู้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและทีมสหวิชาชีพตามแนวคิด 3 หมอ ติดตามเยี่ยมตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนติดตามเยี่ยมทุกสัปดาห์ ประสานการช่วยเหลือผ่านแอพพลิเคชั่นทางไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ คืนข้อมูลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาปัญหาและแนวทางการดำเนินงานแต่ละวงรอบ จนได้รูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางแบบมีส่วนร่วม ตำบลโคกพระ ผลของการพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางแบบมีส่วนร่วม ภายหลังการนำใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบผู้ป่วยระยะกลางมีภาวะไม่พึ่งพาเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 50.00 เป็นร้อยละ 87.50
สรุปผลการศึกษา : การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางแบบมีส่วนร่วม ได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้ได้รูปแบบที่มีประสิทธิผล เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
References
กองการพยาบาล สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี: บริษัทสานักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.
กองการพยาบาล สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบระยะกลางและผู้ดูแล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์.
กองบริหารการสาธารณสุข สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate Care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จากัด.
ดารุณี โนนทิง. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง (Intermediate care) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(1), 244-251.
ถกลวรรณ บุญเต็ม และคณะ. (2565). ผลของกระบวนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารโรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(3), 519-529.
นภัสภรณ์ เชิงสะอาด. (2562). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(1), 89-98.
ปรีชา พึ่งเจริญและ อุไรวรรณ โชคปัญญาพงษ์. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการฟื้นฟูสุขภาพ ผู้ป่วยระยะกลางในชุมชนของจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 502-511.
โรงพยาบาลกันทรวิชัย. รายงานการดำเนินงานโรงพยาบาลกันทรวิชัย ประจำปี 2565. มหาสารคาม; 2565.
วิราภรณ์ ณรงค์ราชและมะลิวรรณ อังคณิตย์. (2566). ศึกษารูปแบบประสิทธิผลของการพัฒนาระบบบริการแบบไร้รอยต่อในการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางเครือข่ายจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 38(1), 45-56.
ศาสตรา เข็มบุบผา. (2565). การพัฒนาระบบเชื่อมโยงการให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางสู่การดูแลระยะยาว อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 9(16), 939-956.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.
Kemmis, S. & McTaggart. (1988).Participatory Action Research : Communicative Action and Public Sphere. In DENZIN, Norman K. and Lincoln, Yvona S., (eds.) The SAGE Handbook of Qualitative Research. 3rd ed. London : SAGE Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.