การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ห้องคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย

ผู้แต่ง

  • จรรยาพร วิเชียรชัย โรงพยาบาลกมลาไสย

คำสำคัญ:

: ตกเลือดหลังคลอด, ห้องคลอด, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ  2ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย  ดำเนินการเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่1 ระยะวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนพัฒนาแนวปฏิบัติ ระยะที่2 ระยะดำเนินการพัฒนาและสร้างแนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 ระยะการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริง ระยะที่4 ระยะประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ผู้ใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด จำนวน 7 คน 2) การนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริง จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การทบทวนเวชระเบียนมารดาตกเลือดในระยะ2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด การสนทนากลุ่ม แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ2ชั่วโมงแรกหลังคลอด และแบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวปฏิบัติ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลลัพธ์จากการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพห้องคลอด  และมารดาที่คลอดทางช่องคลอด ทดสอบหาความตรงและความเที่ยงของแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ได้ค่าความตรงและความเที่ยงของแนวปฏิบัติ  เท่ากับ 0.90 และ 0.88 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำแนวปฏิบัติไปปฏิบัติจริงกับมารดาที่คลอดทางช่องคลอด จำนวน 30 คน ไม่พบการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือด      ในระยะ2ชั่วโมงแรกหลังคลอดได้ทุกระยะ  ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด พบว่า พึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรกเท่ากัน คือ เนื้อหามีความครอบคลุมชัดเจนกว่าแนวปฏิบัติเดิม และมีประโยชน์ทางการพยาบาล (gif.latex?\overline{x}= 4.86  SD = 0.350 )                    ดังนั้นการพัฒนาแนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด จึงเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลห้องคลอดใช้ในการดูแลมารดาที่คลอดทางช่องคลอด ไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลห้องคลอดอย่างต่อเนื่องต่อไป

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน. ค้นเมื่อ15 มิถุนายน2566,จาก dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/index year2022.

กรรณิการ์ ทุ่นศิริ.(2556) .ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ ป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในเครือข่ายอนามัยแม่และเด็กจังหวัดศรีสะเกษ.

วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,31(4 ), 115-120.

เกษม เสรีพรเจริญกุล.(2558).คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. นนทบุรี : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ณฐนนท์ ศิริมาศ,ปิยรัตน์ โสมศรีแพง,สุพางค์พรรณ พาดกลาง และจีรพร จักษุจินดา.( 2557 ). การพัฒนาระบบกาดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดในโรงพยาบาล

สกลนคร.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2), 37-46.

ธีระ ทองสง.( 2564 ) . สูติศาสตร์. หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารก ภาควิชาสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :

ลักษมีรุ่งจำกัด

ปทุมมา กังวานตระกูล , อ้อยอิ่น อินยาศรี.( 2560) .การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ในห้องคลอดโรงพยาบาลอุดรธานี.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 33 ( 2 ),121-132.

พิมาน จบกลศึก และคณะ.(2553 ).การพัฒนารูปแบบการดูแลในระยะที่3 ของการคลอด ร่วมกับการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และ การประคบเย็น เพื่อป้องกัน และลดภาวะ

ตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก งานห้องคลอด. โรงพยาบาลโพธาราม.

ลัดดา ปุริมายะตา,นิภาพรรณ มณีโชติวงค์, และพัชรินทร์ เหล่าคนค้า.( 2559 ) .ผลของการใช้ถุงมือเย็นนวดมดลูกต่อการสูญเสียเลือด และระดับยอดมดลูกในระยะ 2ชั่วโมงแรกหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น,9(2),19-30.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์,สุชาดา วิภวกานต์ และอารี กิ่งเล็ก.( 2559). การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3),127-141.

วรรณา ดีมูล.(2557).การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะที่3 และระยะที่4 ของการคลอด โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุธิต คุณประดิษฐ์. (2553). การตกเลือดหลังคลอดสูติสาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

Bureau of Reproductive Health.(2019). Bureau of Reproductive Health. Annual report 2019.Nonthaburi : Ministry of Public Health.

Word Health organization. ( 2019). Trenda in maternal mortality 2000 -2017 : estimates by WHO, UNICEF , UNFPA, Word Bank group and the united Nation Population Division: Uterine massage to reduce blood loss after vaginal delivery. Health care for women International,1-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-24