การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะคลอด:กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาล, ภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะคลอด, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โดยจะพบในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีความรุนแรงมาก และมักจะทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตทั้งกับสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ในระยะคลอด โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของหญิงตั้งครรภ์โรคเดียวกัน 2 ราย ที่เข้ารักษาตัวในห้องคลอดโรงพยาบาลกันทรวิชัยระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2564 ถึง 28 มีนาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ เวชระเบียนผู้ป่วย และแบบประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการเขียนผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลทั่วไป แบบแผนสุขภาพ การรักษา ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและการพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายแรก เป็นหญิงตั้งครรภ์อายุ 40 ปี ครรภ์ที่สอง อายุครรภ์ 37+2 สัปดาห์ ความดันโลหิตสูงรุนแรง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอด มีอัตราการเต้นหัวใจทารกลดลงฉับพลัน ซึ่งมีภาวะความรุนแรงของโรคและความซับซ้อนของปัญหา จึงส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม รายที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 15 ปี ครรภ์แรก อายุครรภ์ 35+5 สัปดาห์ ความดันโลหิตสูงรุนแรง ได้รับยากันชัก แพทย์พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด ส่งต่อโรงพยาบาลมหาสารคามด้วยช่องทางด่วนเพื่อดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด
จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ทั้ง 2 ราย มีภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะคลอดเหมือนกัน มีความแตกต่างกันในเรื่อง ความรุนแรงของโรคและความซับซ้อนของปัญหา การให้การพยาบาลแบบองค์รวม ทำให้มารดาหลังคลอดทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลรักษาภาวะวิกฤตที่เหมาะสมในแต่ละราย ทำให้ฟื้นหายและจำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
References
กาญจนา ศรีสวัสดิ์. (2564). การพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิติพร กางการ. (2562). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดในระยะคลอด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, ปีที่16 (ฉบับที่2), 23-27.
เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. (2566). ครรภ์เป็นพิษและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2566, สืบค้นจาก https://w1.cmu.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/33344/
งานเวชระเบียนและสถิติ. สถิติผู้คลอดโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ประจำปี2563-2565. งานเวชระเบียนและสถิติ. โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม; 2565.
ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ และ เกสร สุวิทยะศิริ. (2559). การพยาบาลในระยะคลอด.(พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
นงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2565). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ใน ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. (บรรณาธิการ), การพยาบาลและการผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน. (หน้า 89 -123). เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานาจำกัด.
ปัทมาภรณ์ คงขุนทด. (2558). การพยาบาลผู้คลอดที่มีความผิดปกติของปัจจัยทางการคลอด. (พิมพ์ครั้งที่1). นครราชสีมา: บริษัท สมบูรณ์การพิมพ์ จำกัด.
ปิยะนุช ชูโต. (2562). การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีใน ระยะคลอดและหลังคลอด. (พิมพ์ครั้งที่1).เชียงใหม่: บริษัท สมาร์ทโค้ตติ้งแอนด์เซอร์วิส จำกัด.
ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. (2565). การพยาบาลและการผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน.(พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานาจำกัด.
พจนีย์ ขวัญเงิน ภาคภูมิ. (2562). การประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ในระยะคลอด. ใน ปิยะนุช ชูโต. (บรรณาธิการ), การยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีในระยะคลอดและหลังคลอด (พิมพ์ครั้งที่1), 149-162. เชียงใหม่: บริษัท สมาร์ทโค้ตติ้งแอนด์เซอร์วิส จำกัด.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2562). การพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภและระยะคลอด. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: บริษัท จามจุรีโปดักซ์จำกัด .
เมดไทย. (2565). คลอดก่อนกำหนด. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2566, สืบค้นจาก httbs://medthai.com/การคลอดก่อนกำหนด/
รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์ และ สุชยา ลือวรรณ. (2563). ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2566, สืบค้นจาก https://W1.rned.cmu.ac.th/obgyn/ecturestopics/topic-review/6655/
สินีนาฏ หงษ์ระนัย. (2565). ภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด:การพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: บริษัทแดเนกซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.