การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ไกรศร สุขุนา โรงพยาบาลบรบือ

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของโลก ที่คนเกิดน้อยลงและอายุยืนมากขึ้น ทำให้ประชากรทั่วโลกจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมและผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ผู้มีส่วนร่วมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 86 คน และกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 65 คน แบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วางแผน 2) ปฏิบัติ 3) สังเกตการณ์ และ4)สะท้อนผล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t- test

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตตำบลบรบือ  อำเภอบรบือ  จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย การจัดทำแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ การสรุปประเด็นในการพัฒนาตามประเด็นปัญหาและบริบทของพื้นที่ การวางแผนในการแก้ไขปัญหา การสร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ การอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลสูงอายุเขียนแผนการเยี่ยมและติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง การทบทวนการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทีมพี่เลี้ยงออกนิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินงานการถอดบทเรียนและการประเมินผลลัพธ์การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพบว่าหลังดำเนินงานแตกต่างจากก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการดำเนินการแตกต่างจากก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผลรูปแบบที่ได้จาการศึกษาครั้งนี้ คือ มีการวางแผนงานโครงการร่วมกันตามบริบทของพื้นที่ มีการทบทวนบทบาทหน้าที่ การสร้างเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ การอบรมพื้นความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ การติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลร่วมกัน

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

กฤตวรรณ สาหร่าย.(2562). รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรม . ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

เจียมจิต แสงสุวรรณ.(2559). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ทำงานในบริบทสังคมวัฒนธรรมอีสาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34, 41-48.

ชวลิต สวัสดิ์ผล และคณะ.(2562).การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,7 (พิเศษ) ,45-56.

ณัฐฑิฎา นะกุลรัมย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมโดยชุมชนบ้านอังกัญ ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัทรานิษฐ์ ก้อนคำ. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนัสศรา อัจฉริยะเมธากุล. (2562). การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562) สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 นครปฐม : พริ้นเทอรี.

โรงพยาบาลบรบือ. (2565). รายงานประจำปี. มหาสารคาม : โรงพยาบาลบรบือ.

วัฒนพงศ์ นิราราช. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านบุไทย ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิราภรณ์ โพธิศิริ และคณะ. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นนทบุรี : เอสเอสพละสมีเดีย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2561).รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2561. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรปริ้นติ้งพับลิสซิ่ง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563).รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2563. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรปริ้นติ้งพับลิสซิ่ง.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงมหานคร : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2565) รายงานประจำปี. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม.

สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย. (2560) รายงานประจำปี 2560 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : วิจัยระบบสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

อุทัยวรรณ โคกตาทอง. (2561) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข ,41(3),113-118.

McTaggart, Robin, and Stephen Kemmis, eds.(1988) The action research planner. Burwood : Deakin university.

United Nations . World Economic and Social Survey 2019, Development in an Aging World. New York: United Nations Publishing Section, 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย