ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดก่อนวัยเรียน ต่อพฤติกรรมการดูแลและการกำเริบของโรค
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเด็กโรคหืด, ความรู้โรคหืด, สมรรถนะผู้ดูแลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดก่อนวัยเรียนต่อพฤติกรรมการดูแลและการกำเริบของโรค
วิธีการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) แบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่าง 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ก่อนและหลังการทดลอง ได้รับการประเมินเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้ดูแลเด็ก ทั้งด้านการรับรู้ด้านความรู้โรคหืด การรับรู้ด้านพฤติกรรมและการกำเริบของโรคหืด ซึ่งทดลองโดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดก่อนวัยเรียนต่อพฤติกรรมการดูแลและการกำเริบของโรค คือ 1) การให้ความรู้แก่บิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็ก 2) การใช้สื่อประกอบการฝึกเทคนิคการดูแลเด็กโรคหืด เช่น สมุดประจำตัวหนูน้อยโรคหืดฉบับการ์ตูน แผ่นพับ วีดีโอ แอพพลิเคชั่นคิวอาร์โค้ด 3) การกำกับติดตามและนัดมารับบริการต่อเนื่องระยะเวลา 1 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถนะของผู้ดูแลเด็กโรคหืดด้านการรับรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลและการกำเริบของโรค ใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา: ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดก่อนวัยเรียนต่อพฤติกรรมการดูแลและการกำเริบของโรค พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลการพัฒนาสมรรถนะด้านการรับรู้ของผู้ดูแลเด็กโรคหืด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และสมรรถนะด้านการรับรู้ด้านการปฏิบัติการ พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่งผลให้เด็กโรคหืดที่อยู่ในการดูแลของผู้ดูแลหลักที่ผ่านการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดก่อนวัยเรียนต่อพฤติกรรมการดูแลและการกำเริบของโรค สามารถควบคุมอาการหืดกำเริบได้เพิ่มขึ้น ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล
สรุปผลการศึกษา: โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดก่อนวัยเรียนต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลและการกำเริบของโรค ส่งผลดีต่อผู้ป่วยเด็กโรคหืดก่อนวัยเรียน
References
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานโรคหอบหืดในเด็ก พ.ศ. 2565. กระทรวงสาธารณสุข.
วิชัย เอกพลากร. 2566.การสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ศิริพร บุญช่วย. (2564). สมรรถนะของผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดในพื้นที่ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 39(1), 45–60.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
แสงเดือน ลิ้มทองกุล, สุภาพรรณ พิทยานรเศรษฐ, & รุ่งนภา อภิรักษ์ธรรม. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็กโรคหืดในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 36(2), 22-34.
Arcoleo, K., Zayas, L. E., Hawthorne, A., & Begay, R. (2015). Illness representations and cultural practices play a role in low-income Mexican mothers’ care for children with asthma. Journal of Asthma, 52(7), 699–706.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Prentice-Hall.Chan, D. S., & DeMarco, R. F. (2020). Using multimedia educational tools to improve asthma knowledge in caregivers of children with asthma. Journal of Pediatric Health Care,34(2), 135-142.
Global Initiative for Asthma (GINA). (2023). Global Strategy for Asthma Management and Prevention. https://ginasthma.org
Kamps, A. W. A., Brand, P. L. P., & Kimpen, J. L. L. (2003). Parent perception of symptoms and therapy during childhood asthma exacerbations: The Room for Improvement. Patient Education and Counseling, 51(1), 95–100.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Martinez, F. D., Wright, A. L., Taussig, L. M., Holberg, C. J., Halonen, M., & Morgan, W. J. (1995). Asthma and wheezing in the first six years of life. The New England Journal of Medicine, 332(3), 133–138.
Ramirez, A., Sanchez, J., & Delgado, S. (2019). Caregiver training reduces emergency room visits in preschool children with asthma. Pediatric Pulmonology, 54(3), 345-351.
World Health Organization. (2022). Asthma. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/asthma
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.